Page 26 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 26
11-16 ประวัติศาสตรไ์ ทย
สภาพเศรษฐกจิ และการดำ� เนนิ นโยบายเศรษฐกจิ ชว่ งแรกของคณะราษฎร (พ.ศ. 2475-2481)
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ท่ีไม่ประสบผลส�ำเร็จนักและเป็นปัจจัย
หนึ่งท่ีน�ำไปสู่การเปล่ียนแปลงใน พ.ศ. 2475 เม่ือคณะราษฎรได้กระท�ำการเปล่ียนแปลงการปกครอง
จากระบอบสมบรู ณาญาสทิ ธริ าชยม์ าเปน็ ระบอบประชาธปิ ไตยโดยมพี ระมหากษตั รยิ อ์ ยภู่ ายใตร้ ฐั ธรรมนญู
การมรี ะบบเศรษฐกจิ ใหมใ่ หส้ อดคลอ้ งกบั อดุ มการณใ์ หมท่ างการเมอื งเปน็ สง่ิ จ�ำเปน็ เพอื่ แกไ้ ขสภาพปญั หา
ทางเศรษฐกิจและน�ำพาใหป้ ระเทศเจริญรงุ่ เรอื ง
“ประกาศคณะราษฎร” ที่ถือกันว่าเป็นแนวนโยบายของคณะราษฎรน้ัน หรือที่รู้จักกันในนาม
“หลกั 6 ประการ” เนอื้ หาทเี่ กยี่ วกบั เศรษฐกจิ ระบไุ วว้ า่ “...จะตอ้ งบำ� รงุ ความสขุ สมบรู ณข์ องราษฎรในทาง
เศรษฐกจิ โดยรฐั บาลใหมจ่ ะหางานใหร้ าษฎรทกุ คนทำ� จะวางโครงการเศรษฐกจิ แหง่ ชาตไิ มป่ ลอ่ ยใหร้ าษฎร
อดยาก...” 30จากหลกั การของคณะราษฎรไดแ้ สดงเจตจำ� นงทางเศรษฐกจิ และเพอ่ื ใหเ้ ปน็ ไปตามหลกั ขอ้ น้ี
รฐั บาลไดม้ อบหมายใหห้ ลวงประดษิ ฐม์ นธู รรม (ปรดี ี พนมยงค)์ เปน็ ผรู้ า่ งโครงการเศรษฐกจิ และมคี ณะ-
กรรมการชดุ หนง่ึ เป็นผู้พจิ ารณา
เมื่อน�ำ “เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม” เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพ่ือ
พิจารณา มีการโต้แย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างหลวงประดิษฐ์มนูธรรมกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซ่ึง
ปฏิเสธหลักการของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมอย่างส้ินเชิง โดยต้องการด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามแนว
นโยบายของรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเม่ือมีการพิจารณาเค้าโครงเศรฐกิจของหลวงประดิษฐ์-
มนธู รรมอกี ครงั้ นายกรฐั มนตรไี ดส้ ง่ บนั ทกึ พระบรมราชวนิ จิ ฉยั ใหห้ ลวงประดษิ ฐม์ นธู รรมอา่ น โดยมใี จความ
ตอนหนึง่ ว่า ถา้ จะประกาศเอาอยา่ งโครงการของหลวงประดิษฐฯ์ แลว้ ก็ขออย่าได้ประกาศในนามพระองค์
ขณะเดียวกัน หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ตอบโต้ว่าไม่เห็นด้วยกับนโยบายทางเศรษฐกิจตามแนวทาง
เสรนี ยิ มของนายกรฐั มนตรี โดยอธบิ ายเพมิ่ เตมิ วา่ เคา้ โครงการเศรษฐกจิ ฯ จะชว่ ยแกไ้ ขและปอ้ งกนั ปญั หา
เศรษฐกจิ ทจ่ี ะเกิดข้นึ ในอนาคต ไม่ปลอ่ ยให้เปน็ ไปตามยถากรรมอย่างเกา่ 31
ผลการประชุมคณะรัฐมนตรเี มื่อวนั ท่ี 28 มีนาคม 247532 ปรากฏว่าเค้าโครงเศรษฐกจิ ถูกยบั ยัง้
ด้วยคะแนนเสียง 11 ต่อ 3 ไมอ่ อกเสยี ง 5 คะแนน ถึงแมว้ า่ ฝา่ ยพระยามโนปกรณน์ ิตธิ าดาจะคุมเสยี ง
ขา้ งมากภายในคณะรฐั มนตรี แตก่ ารผลกั ดนั ใหเ้ รอื่ งดงั กลา่ วเขา้ สทู่ ป่ี ระชมุ สภาผแู้ ทนราษฎรตอ่ ไปนน้ั คณะ
รัฐบาลจะถูกบังคับโดยสภาผู้แทนราษฎรให้ด�ำเนินการตามโครงการเศรษฐกิจดังกล่าวได้ รัฐบาลจึง
ตัดสินใจปิดสภาผู้แทนราษฎร และประนามหลวงประดิษฐ์มนูธรรมว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และบังคับให้
เดนิ ทางออกนอกประเทศ33 จนกระทงั่ การรฐั ประหารในเดอื นเมษายน พ.ศ. 2476 กระทำ� การสำ� เรจ็ และ
30 “ประกาศคณะราษฎรฉบบั ท่ี 1.” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศริ .ิ (2544). ประวตั กิ ารเมืองไทย 2475-2500 (พมิ พค์ ร้งั ที่ 3).
กรงุ เทพฯ: มลู นิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. น. 74.
31 แผนกเกบ็ และหอ้ งสมดุ กองกลาง ส�ำนักเลขาธิการรฐั มนตรี, บันทึกรายงานการประชมุ คณะรฐั มนตรี ณ ศาลาลูกขนุ
ในวันท่ี 28 มีนาคม พ.ศ. 2476. อ้างใน ชวลิต วายุภักตร์. (2527). การปฏิรูปเศรษฐกิจในประเทศไทย พ.ศ. 2475-2485. ใน
ฉัตรทพิ ย์ นาถสภุ า และ สมภพ มานะรงั สรรค์ ใน ประวตั ิศาสตร์เศรษฐกิจไทย จนถงึ พ.ศ. 2484. น. 596-597.
32 นับตามปฏทิ นิ แบบเก่า-เดอื นมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี
33 นครนิ ทร์ เมฆไตรรัตน์. (2532). เรือ่ งเดียวกัน. น. 94.