Page 23 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 23

เศรษฐกิจไทยสมัยรัชกาลท่ี 7–พ.ศ. 2519 11-13
       ระบบเศรษฐกิจแบบชาตินิยมของหลวงวิจติ รวาทการยึดหลักว่า “ชาตเิ ปน็ จดุ หมาย สหกรณ์เปน็
วิธีการ” กล่าวคือ ต้องการให้ชนชั้นกลางขนาดย่อยรวมตัวกันในการผลิตและการค้าในรูปสหกรณ์
การรวมตัวต่างฝ่ายยังเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและหากการรวมเป็นสหกรณ์ไม่เหมาะสมก็ให้ผู้ประกอบ
กิจการรวมตัวกันในรูปสมาคมอาชีพ เหตุที่ให้รวมตัวกันก็เพราะหากปล่อยให้ต่างคนต่างท�ำ  รัฐจะเข้ามา
ชว่ ยเหลือไม่ไดส้ ะดวก อย่างไรก็ตาม สหกรณ์ตามแนวคิดของหลวงวจิ ติ รวาทการ มลี กั ษณะเปน็ องค์การ
นายทุนน้อยภายใต้การน�ำของรัฐ ซ่ึงต่างกับสหกรณ์ตามแนวคิดของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ที่มีลักษณะ
เป็นองค์กรของรัฐ นอกจากน้ี สหกรณ์ของหลวงวิจิตรวาทการท่ีต้องจัดตามแนวนโยบายของชาตินั้น
แตกต่างจากปรัชญาพื้นฐานของการสหกรณ์ เพราะโดยทั่วไปสหกรณ์จะเป็นองค์กรที่สมาชิกร่วมกันโดย
สมัครใจและเป็นอิสระจากรฐั 21
       อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของหลวงวิจิตรวาทการน�ำไปสู่การด�ำเนินนโยบายท่ีเก่ียวข้องกับแนวคิด
ชาตินิยมทางเศรษฐกจิ อาทิ ม่งุ ส่งเสริมให้คนไทยทำ� การค้าย่อยบ้าง มกี ารสงวนอาชีพช่างบางชนิดไวก้ บั
คนไทย มีการสงวนอาณาเขตบางแห่งในประเทศไว้เฉพาะให้คนไทยท�ำการค้า และมีการต้ังสหกรณ์ข้ึน
มากแหง่ แตไ่ มม่ ผี ลตอ่ ววิ ฒั นาการของทนุ พาณชิ ยท์ น่ี ายทนุ สว่ นใหญย่ งั คงเปน็ ชาวตา่ งชาติ22 หลวงวจิ ติ ร
วาทการ ได้กล่าวไว้ “อันที่จริงเร่ืองสหกรณ์ก็ท�ำกันอยู่ทั่วไปไม่เฉพาะในลัทธิชาตินิยม แต่มีสิ่งแปลก
ประหลาดอยอู่ ยา่ งหนงึ่ วา่ ไม่มีระบบใดจะด�ำเนินการเรอ่ื งสหกรณ์ไดเ้ ปน็ ผลสำ� เรจ็ เทา่ ระบบชาตนิ ยิ ม” ซง่ึ
มีผู้วิเคราะห์ว่า อันที่จริงสหกรณ์ที่หลวงวิจิตรวาทการกล่าวถึงปรากฏของมาในรูปแบบท่ีตรงกับการจัด
องค์การเศรษฐกิจตามลัทธิบรรษัทนิยม (Corporatism) ที่รัฐมีบทบาทน�ำและอุดหนุนการจัดต้ังสหกรณ์
หรือสมาคมอาชีพขึ้นมาเพ่ือที่จะขจัดการต่อสู้ระหว่างชนช้ันมากกว่าที่จะปรับโครงสร้างการเป็นเจ้าของ
ปจั จยั การผลติ ดงั นนั้ ระบบเศรษฐกจิ ชาตนิ ยิ มของหลวงวจิ ติ รวาทการ กค็ อื ระบบทนุ นยิ มโดยรฐั 23 นนั่ เอง

กิจกรรม 11.1.1
       แนวความคิดทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและแนวความคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจมีความ

แตกตา่ งจากแนวคิดทางเศรษฐกิจเสรนี ยิ มเกีย่ วกับบทบาทของรฐั ในประเด็นใด
แนวตอบกิจกรรม 11.1.1

       แนวคิดแบบเสรีนิยม มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ ใน
ขณะท่ีแนวคิดแบบสังคมนิยม และแนวคิดแบบชาตินิยม มองว่ารัฐควรเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจ
และรัฐสามารถเป็นผปู้ ระกอบการทางเศรษฐกจิ ได้

         21 ฉตั รทิพย์ นาถสภุ า. เร่อื งเดยี วกัน. น. 558-559.	
         22 เร่ืองเดยี วกนั . น. 559-560.	
         23 เรอื่ งเดียวกัน.
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28