Page 27 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 27
เศรษฐกิจไทยสมัยรัชกาลท่ี 7–พ.ศ. 2519 11-17
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรมจึงเดินทางกลับมา
ด�ำรงต�ำแหน่งในคณะรัฐบาลเม่ือเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 อย่างไรก็ตาม ไม่มีการรื้อฟื้นเค้าโครงการ
เศรษฐกิจฯ ข้นึ มาอกี
เมอ่ื รฐั บาลสมยั พนั เอกพระยาพหลพลพยหุ เสนา (พ.ศ. 2476-2481) เขา้ มามบี ทบาทในการดำ� เนนิ
นโยบายเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะขจัดอิทธิพลทางเศรษฐกิจของต่างชาติและสนับสนุนผู้ประกอบการไทย
จะชว่ ยให้พัฒนาระบบการผลิตของชาตใิ ห้เจริญกา้ วหน้าทัดเทยี มกับนานาประเทศ ซึง่ ยงั คงเจตจำ� นงตาม
หลักที่หนึ่งในหลักหกประการของคณะราษฎรท่ีระบุว่า “จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น
เอกราชในการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกจิ ฯลฯ ของประเทศไวใ้ หม้ ัน่ คง”
ชว่ งแรกรฐั บาลดำ� เนนิ นโยบายอยา่ งคอ่ ยเปน็ คอ่ ยไปในรปู ของการวางกำ� หนดกฎเกณฑ์ การสรา้ ง
กฎหมายเพ่ือใช้บังคับ เช่น การยกเลิกสนธิสัญญาไม่เสมอภาคที่เจรจาส�ำเร็จในสมัยคณะราษฎร การ
พยายามลดอิทธิพลการผูกขาดทางเศรษฐกิจของนายทุนชาติตะวันตกในกิจการอุตสาหกรรม เช่น
โรงงานยาสูบ อุตสาหกรรมเช้ือเพลิง โดยการลดจ�ำนวนปีของการให้สัมปทาน และเข้าซ้ือกิจการมาเป็น
ของรัฐ เช่น การซื้อกิจการของบริษัทบริติช-อเมริกันยาสูบจ�ำกัด นอกจากนี้ มีการจัดตั้งหอการค้าไทย
(วนั ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476) ตั้งกองอตุ สาหกรรมในกรมพาณชิ ย์ เม่อื พ.ศ. 2479 และใน พ.ศ. 2480
ได้รับการยกฐานะเป็นกองอิสระรฐั พาณชิ ย์ มีอ�ำนาจส่งเสริมอุตสาหกรรม34 ในขณะเดียวกัน คณะราษฎร
ไดต้ ระหนกั ถงึ ความยากจนในชนบทและความเปน็ เอกราชทางเศรษฐกจิ ซง่ึ ตกอยใู่ นมอื ชาวตา่ งชาติ ดงั นน้ั
จึงมนี โยบายทค่ี วบคมุ ชาวตา่ งชาติโดยเฉพาะชาวจนี มาเป็นระยะๆ ดงั น3ี้ 5
1) พระราชบญั ญัติการธนาคารและการประกนั ภัย (พ.ศ. 2475)
2) พระราชบัญญตั ิห้ามเรยี กดอกเบ้ยี เกนิ อตั รา (พ.ศ. 2475)
3) พระราชบัญญตั วิ า่ ดว้ ยการยักยอกทรัพย์ของกสิกร (พ.ศ. 2475)
4) พระราชบัญญตั คิ วบคมุ การจดั สตั วน์ ำ้� ในสยาม (พ.ศ. 2477)
5) พระราชบัญญัตกิ ารค้าก�ำไรเกนิ ควร (พ.ศ. 2480)
จะเหน็ ได้วา่ พระราชบญั ญตั ติ ่างๆ ทเ่ี ร่ิมออกมาต้งั แต่ พ.ศ. 2475 เร่มิ วางรากฐานทางเศรษฐกจิ
ภายใต้นโยบายชาตินิยมท่ีไม่เข้มงวดนัก นโยบายในการขจัดอิทธิพลและพยายามท�ำลายฐานอ�ำนาจทาง
เศรษฐกจิ ของชาวจนี เริ่มขนึ้ อยา่ งจริงจงั ภายใตร้ ฐั บาลสมัยท่จี อมพล ป. พบิ ลู สงคราม
34 สิริลักษณ์ ศักดิ์เกรียงไกร. (2538). “การเข้าสู่ระบบทุนนิยม” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์ไทย
(หน่วยที่ 9-15 พิมพค์ รัง้ ที่ 5). กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช. น. 613-614.
35 พรรณี บัวเล็ก. (2543). วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ของไทย พ.ศ. 2475-2516 (พิมพ์ครั้งท่ี 2). กรุงเทพฯ:
ศยาม. น. 45-56.