Page 25 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 25
เศรษฐกจิ ไทยสมัยรชั กาลที่ 7–พ.ศ. 2519 11-15
การจัดสรรงบประมาณรายได้รายจ่ายให้เพียงพอต่อการบริหารประเทศ ด�ำเนินการโดยควบคุม
งบประมาณรายได้รายจ่ายให้อยู่ในก�ำลังของรายได้ มาตรการส�ำคัญในการจัดงบประมาณให้รายจ่ายอยู่
ภายในกรอบรายได้ คอื การตดั ทอนงบประมาณรายจา่ ย ซงึ่ จากงบประมาณรายจา่ ยระหวา่ ง พ.ศ. 2457-
2468 พบว่า รายจ่ายท่ีเพิ่มมากข้ึนคือ เงินเดือน ดังน้ัน จึงตัดงบประมาณที่เป็นเงินเดือนและรายจ่าย
นอกจากน้ี ยังมกี ารปรับปรงุ การบรหิ ารราชการใหม่ โดยยุบและรวมกระทรวงทร่ี วมกันไดเ้ พ่อื ลดรายจ่าย
เช่น รวมกระทรวงคมนาคมและกระทรวงพาณชิ ย์ เรียกวา่ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม รวมกระทรวง
มุรธาธรและกรมราชเลขาธิการ เรยี กว่า กรมราชเลขาธิการ แตค่ งมีฐานะเสมอกระทรวงเดิม26 เปน็ ตน้
ใน พ.ศ. 2474 เมื่อรฐั บาลต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่�ำอยา่ งหนกั อนั เป็นผลกระทบจาก
เศรษฐกิจตกต�่ำท่ัวโลก ในการต้ังงบประมาณของกระทรวงต่างๆ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติใช้วิธีการ
ตัดทอนรายจ่ายให้อยู่ในกรอบของรายได้ นโยบายที่ใช้คือการประหยัดอย่างเคร่งครัด ตัดงบประมาณ
รายจา่ ยทฟี่ มุ่ เฟอื ย จะใชเ้ ฉพาะรายจา่ ยทก่ี อ่ ใหเ้ กดิ ผลทางเศรษฐกจิ เชน่ การเกษตรกรรมและการคมนาคม
สำ� หรบั วธิ กี ารแกไ้ ขงบประมาณขาดดลุ ทำ� ไดโ้ ดยการตดั ทอนงบประมาณรายจา่ ย การกยู้ มื และการใชเ้ งนิ
คงคลัง แม้ใช้วิธีการดังกล่าวงบประมาณรายจ่ายก็ยังสูงกว่ารายได้ ดังน้ัน จึงเสนอให้ใช้วิธีตัดเงินเดือน
ข้าราชการถ้าจ�ำเป็น วิธีการตัดเงินเดือนครั้งนี้แตกต่างจากคร้ังก่อนที่ปลดข้าราชการบางคน เพราะมี
ข้าราชการมากเกินความต้องการ แต่คราวน้ีใช้วิธีการลดเงินเดือนข้าราชการช่ัวคราว และพระราชทาน
พระบรมราชานุญาตใหล้ ดเงินพระคลังข้างที่ 1 ลา้ นบาทเป็นการชัว่ คราวเหมอื นกัน27
รัฐยังมีมาตรการเพ่ิมรายได้โดยการต้ังภาษีประเภทใหม่และการเพ่ิมอัตราภาษีเก่า กล่าวคือ
มีการปรับปรงุ การจดั เกบ็ ภาษีอากรใหม่ เชน่ ภาษีฝ่ิน ภาษีรัชชูปการ และการเพ่มิ การเกบ็ ภาษีอากรใหม่
เช่น การมหรสพ โรงแรม ภัตตาคาร และรถยนต์ ในการดำ� เนินการทั้ง 2 อย่าง รัฐบาลด�ำเนินการอย่าง
ระมัดระวังไม่ให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อน ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถด�ำเนินการได้อย่าง
เต็มที่ เพราะผลของสนธสิ ญั ญาเบาวรงิ ทท่ี ำ� ให้ไม่สามารถเก็บภาษีขาเขา้ ไดเ้ กินกวา่ ร้อยละ 328 อย่างไร-
ก็ตาม แมจ้ ะมปี ัญหาด้านงบประมาณ แต่ปรากฏโครงการพฒั นาเศรษฐกิจต่างๆ เช่น การขยายเสน้ ทาง
รถไฟสายอีสาน การสร้างทางหลวงแผ่นดิน การสร้างถนนในจังหวัดธนบุรี การสร้างท่าเรือคลองเตย
การพัฒนาระบบชลประทานในภูมิภาค และการจัดให้มีการส�ำรวจเศรษฐกิจชนบทสยาม29 เพ่ือส่งเสริม
ความม่ันคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
26 พลงั จติ โกศลั วฒั น.์ (2556). “พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั : พระผทู้ รงพฒั นาระบบขา้ ราชการพลเรอื นในระบบ
ประชาธิปไตย.” ใน ปยิ นาถ บนุ นาค และคณะ. 9 แผน่ ดนิ ของการปฏริ ูประบบราชการ. กรงุ เทพฯ: จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . น.
187-188.
27 ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลท่ี 7 ค.1/31 วางระเบียบฐานะการเงินของแผ่นดิน, ส�ำเนารายงาน
เสนาบดีท่ี 24/2473 วนั ท่ี 17 พฤศจกิ ายน 2473. อ้างถงึ ใน พลงั จิต โกศลั วฒั น.์ เร่ืองเดยี วกนั . น. 190-191.
28 ปิยนาถ บนุ นาถ. เรื่องเดียวกัน. น. 111-112.
29 ดูรายละเอยี ดเพิ่มเติม ใน พอพนั ธ์ อยุ ยานนท.์ เร่อื งเดยี วกนั . น. 97-127.