Page 36 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 36
11-26 ประวตั ศิ าสตรไ์ ทย
4) ไทยจะต้องมอบข้าวสารจำ� นวนทเี่ หลือสะสมอยใู่ นประเทศ ซึง่ เหลือจากความต้องการบรโิ ภค
ในประเทศแล้ว ให้กับองค์การพิเศษที่อังกฤษจะก�ำหนด โดยไม่คิดมูลค่า ท้ังนี้ไม่เกิน 1.5 ล้านตัน ส่วน
ขา้ วที่เหลอื จากการส่งมอบจะตอ้ งขายให้องคก์ ารพเิ ศษ46
จากความตกลงสมบรู ณแ์ บบฯ ขา้ งตน้ ไดก้ อ่ ใหป้ ญั หาภาระดา้ นงบประมาณแกร่ ฐั บาลไทย เพราะ
ขณะนน้ั รฐั บาลตอ้ งรบั ภาระในการเลย้ี งดทู หารสหประชาชาติ การบรู ณะฟน้ื ฟปู ระเทศทเ่ี สยี หายจากสงคราม
เช่น การซ่อมสร้างสะพานและโรงไฟฟ้าท่ีถูกระเบิดจากฝ่ายสัมพันธมิตร ตลอดจนการหาเคร่ืองอุปโภค
บรโิ ภคใหเ้ พยี งพอสำ� หรบั ประชาชน ยงั ตอ้ งจดั หาเงนิ มาซอื้ ขา้ วจากตลาดภายในประเทศเพอื่ สง่ มอบ รวมทงั้
ตอ้ งจดั หาเงนิ มาชดใชค้ า่ เสยี หายคนื ใหแ้ กอ่ งั กฤษตามขอ้ ตกลงดงั กลา่ ว นอกจากน้ี การหา้ มขดุ คอคอดกระ
ยังสะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ทา่ ทขี ององั กฤษทป่ี กปอ้ งผลประโยชนข์ องตนในการเดนิ เรอื และการขนสง่ ผา่ นมลายา
และสงิ คโปร4์ 7
การส่งมอบข้าวให้แกอ่ งั กฤษเปน็ คา่ ทดแทนความเสียหาย จ�ำนวน 1.5 ลา้ นตัน (ราคาประมาณ
2,520 ล้านบาท) เป็นไปอย่างยากล�ำบาก แม้ว่าจะประมาณกันว่ามีข้าวเหลือค้างอยู่ในประเทศ แต่ช่วง
หลังสงครามราคาขา้ วในต่างประเทศราคาสงู มากจากภาวะขาดแคลนข้าวในอาณานิคม พ่อค้าจึงไม่อยาก
ขายขา้ วใหร้ ฐั บาล มกี ารลกั ลอบสง่ ขา้ วจำ� นวนมากออกไปยงั ตลาดทส่ี งิ คโปรแ์ ละปนี งั ทำ� ใหก้ ารสง่ มอบขา้ ว
ลา่ ชา้ และอาณานคิ มขององั กฤษขาดแคลนขา้ วอยา่ งรนุ แรง นำ� ไปสกู่ ารแกไ้ ขสญั ญาใหมใ่ นเดอื นพฤษภาคม
พ.ศ. 2489 ว่าอังกฤษจะซ้อื ข้าวจากไทยจำ� นวน 1.2 ลา้ นตันแทนโดยมีกำ� หนดสง่ มอบภายใน 12 เดอื น48
ซึง่ การส่งมอบข้าวดงั กล่าวยงั สง่ ผลกระทบให้เกิดปัญหาการขาดแคลนขา้ วภายในประเทศ
นอกจากน้ี ในการทจี่ ะยกเลกิ ความตกลงสมบรู ณแ์ บบฯ ไทยยงั ได้จา่ ยเงินจำ� นวน 1.5 ล้านปอนด์
ใหแ้ กอ่ งั กฤษเพอ่ื ซอื้ ทางรถไฟสายมรณะ (เดอื นตลุ าคม พ.ศ. 2489) อกี ทง้ั ยงั ตอ้ งจา่ ยเงนิ กอ้ นเปน็ จำ� นวน
5,224,220 ปอนด์แก่อังกฤษและอินเดีย เพ่ือชดใช้ความเสียหายต่างๆ ของทั้งสองประเทศระหว่างท�ำ
สงครามกบั ไทย49 นับเป็นการเพ่มิ ภาระด้านการเงนิ และการคลังของประเทศ
ขณะเดียวกัน จากสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศภายหลังสงครามโลกครั้งท่ี 2 ภายใต้
“สงครามเย็น” เกิดการแข่งขันกันระหว่างกลุ่มประเทศทุนนิยมกับสังคมนิยมท้ังด้านเศรษฐกิจ การเมือง
และความม่ันคงทางการทหาร สว่ นของภูมภิ าคเอเชยี เมอื่ เกิดสงครามเกาหลี ใน พ.ศ. 249350 ผลกั ดนั ให้
สหรัฐอเมริกาเริ่มมีบทบาทในประเทศไทยโดยเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางด้านความม่ันคงและทาง
เศรษฐกิจ ขณะท่ไี ทยมฐี านะเปน็ พันธมิตรท่ดี ำ� เนนิ นโยบายตอ่ ตา้ นลัทธคิ อมมวิ นิสต์
46 นภพร เรืองสกุล. (2538). “การขยายตัวทางเศรษฐกิจต้ังแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน.” ใน เอกสาร
การสอนชดุ วิชาประวัตศิ าสตรไ์ ทย นนทบุรี: มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช. น. 629.
47 เรือ่ งเดยี วกัน.
48 เรื่องเดียวกัน.
49 ปิยนาถ บนุ นาค. เรอื่ งเดยี วกัน. น. 207.
50 สงครามเกาหลี ถือได้ว่าเป็นการปะทะกันโดยตรงระหว่างจีนและรัสเซียกับสหรัฐอเมริกา หลังจากสงครามเกาหลี
มหาอ�ำนาจท้ังสองฝ่ายไม่ได้เผชิญหน้ากันโดยตรงด้วยก�ำลังอาวุธ แต่เริ่มแปรเปล่ียนเป็น “สงครามเย็น” (Cold War) กล่าวคือ
แตล่ ะฝ่ายพยายามแสวงหาพันธมติ รและแข่งขนั กันเพือ่ ชงิ ความเป็นใหญ่ทง้ั ทางดา้ นเศรษฐกิจ เทคโนโลยี ก�ำลังอาวธุ เปน็ ต้น