Page 38 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 38

11-28 ประวัตศิ าสตร์ไทย

เรื่องท่ี 11.2.2
การด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจ

       ช่วงทศวรรษ 2490-พ.ศ. 2500 รัฐบาลคณะรัฐประหารด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจในรูปแบบ
“ทุนนิยมโดยรัฐ” กล่าวคือ รัฐยังคงเป็นผู้ควบคุมและมีบทบาทส�ำคัญในระบบเศรษฐกิจ รัฐมีฐานะเป็น
ผปู้ ระกอบการในทางเศรษฐกจิ ในรปู แบบของ “รฐั วสิ าหกจิ ” หรอื ในสมยั นนั้ เรยี กวา่ รฐั พาณชิ ย์ ในภาพรวม
ของการด�ำเนินนโยบายและลกั ษณะทางเศรษฐกจิ ในชว่ งเวลาดงั กล่าว มีดังตอ่ ไปน้ี

       1. 	การด�ำเนินนโยบายด้านการเงิน วตั ถุประสงคส์ ำ� คญั ของนโยบายการเงนิ ในระยะนั้น คอื การ
รกั ษาฐานะของเงนิ บาทในระดบั ระหวา่ งประเทศ ตอ้ งการใหเ้ งนิ บาทมฐี านะมน่ั คงในระดบั ระหวา่ งประเทศ
เพอ่ื ปกป้องกันการแทรกแซงของตา่ งชาติ รฐั ก�ำหนด “มาตรการในการจัดการระบบแลกเปล่ียนเงินตรา
ระหว่างประเทศ” และเขา้ มาจดั การระบบแลกเปลี่ยนเงนิ ตราระหวา่ งประเทศ53

       รัฐเข้ามามีบทบาทในการควบคุมการเงินของประเทศ โดยอาศัยการควบคุมเงินตราต่างประเทศ
ตาม “พระราชบัญญตั คิ วบคมุ การแลกเปลยี่ นเงิน พ.ศ. 2485” ซ่งึ ดำ� เนินการมาตั้งแตร่ ฐั บาลพลเรอื นใน
ชว่ งหลงั สงคราม โดยรฐั มอบหมายใหธ้ นาคารแหง่ ประเทศไทยเปน็ ผคู้ วบคมุ เงนิ ตราตา่ งประเทศ กลา่ วคอื
จะควบคุมทั้งการได้มาและน�ำเงินตราต่างประเทศนั้นไปใช้จ่าย โดยผู้ส่งออกสินค้าจะต้องขายเงินตรา
ต่างประเทศท่ีได้จากการส่งออกสินค้านั้นให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราที่ทางราชการก�ำหนด
พรอ้ มกันนน้ั ผ้ทู เ่ี ป็นผูส้ ั่งสนิ คา้ เขา้ จากตา่ งประเทศท่ตี อ้ งการเงนิ ตราตา่ งประเทศในการซอื้ สนิ ค้า ก็จะตอ้ ง
ซอื้ เงนิ ตราตา่ งประเทศจากทางราชการ54

       หลังเดือนมกราคม 2490 รัฐบาลได้ใช้มาตรการใหม่ กล่าวคือ ผู้ส่งออกต้องส่งรายได้ที่เป็นเงิน
ตราต่างประเทศท้ังหมดหรอื บางส่วนจากการส่งสินค้าออก 4 ประเภทส�ำคญั ๆ คอื ขา้ ว ยางพารา ดบี กุ
และไม้สัก ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราแลกเปล่ียนทางการ จ�ำนวนส่งมอบส�ำหรับข้าวคือ
ร้อยละ 100 และร้อยละ 50 ส�ำหรับสินค้าอ่ืนๆ (หลังจากนั้น จ�ำนวนส่งมอบส�ำหรับยางพาราลดลงเป็น
ร้อยละ 20 และส�ำหรับดีบุกเหลือร้อยละ 40 ส่วนไม้สักให้ยกเลิก) ผลของมาตรการดังกล่าวท�ำให้เกิด
“ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา” ในประเทศ ข้อบังคบั บางอยา่ งได้เปล่ยี นแปลงเปน็ ระยะๆ แตห่ ลัก
ใหญย่ งั คงเดมิ นบั ตงั้ แต่ พ.ศ. 2490-2495 จากระบบดงั กลา่ วทำ� ใหร้ ฐั บาลสามารถสะสมทนุ สำ� รองเงนิ ตรา
ตา่ งประเทศ ควบคมุ องคป์ ระกอบของสนิ คา้ เขา้ และมกี �ำไรจากการซอ้ื เงนิ ตราตา่ งประเทศในอตั ราทางการ
และขายในอตั ราเสร5ี 5

         53 เจมส์ ซี อนิ แกรม. เรอ่ื งเดียวกัน. น. 252.	
         54 เรอื งวทิ ย์ ลมิ่ ปนาท. (2537). บทบาทของรฐั ในระบบทนุ นยิ มของไทย (พ.ศ. 2475-2500). วทิ ยานพิ นธอ์ กั ษรศาสตร-
มหาบณั ฑติ (สาขาวชิ าประวตั ิศาสตร)์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . น. 192.	
         55 เจมส์ ซี อินแกรม. (2552). เร่อื งเดยี วกัน. น. 245-247.
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43