Page 42 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 42
11-32 ประวตั ศิ าสตรไ์ ทย
เรื่องที่ 11.2.3
ผลจากการด�ำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยภายหลังสงครามค่อยๆ ฟื้นตัวจากการด�ำเนินนโยบายของรัฐบาล ทั้งการด�ำเนิน
นโยบายดา้ นการเงิน การเนน้ บทบาทของรัฐในการจัดการพาณชิ ย์ และการสง่ เสริมรฐั วิสาหกิจ อกี ทัง้ การ
กระตุ้นโดยสงครามเกาหลี (พ.ศ. 2493-2496) สงครามเกาหลีมีส่วนท�ำให้เกิดการขยายตัวทางการค้า
ของไทย เหตเุ พราะภาวะสงครามทำ� ใหเ้ กดิ ความตอ้ งการสนิ คา้ ออกตา่ งๆ ตงั้ แตส่ นิ คา้ ยทุ ธปจั จยั เชน่ ขา้ ว
ยาง และดบี กุ ซงึ่ สนิ คา้ เหลา่ นเ้ี ปน็ สนิ คา้ สง่ ออกทส่ี ำ� คญั ของไทย ตลอดจนความตอ้ งการผลผลติ ทางเกษตร
อื่นๆ ก่อให้เกิดความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจและการค้าต่างประเทศ (ท่ีเรียกกันว่า Korean Boom) และ
ผลจากสถานการ์ดงั กล่าวกระตนุ้ เศรษฐกิจของไทย ซง่ึ จะเห็นได้จาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมของไทยเพ่มิ ขึ้น
ทุกปีและถึงแม้ว่า สงครามเกาหลีจะสงบลงแล้ว แต่สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยยังขยายตัวอย่าง-
ต่อเน่ือง โดยมีข้าว ยางพารา ดีบุก และไม้สัก เป็นสินค้าออกที่ส�ำคัญของประเทศไทย โดยผลจาก
การดำ� เนินนโยบายทางการเศรษฐกิจยังกอ่ ให้เกิดสิ่งต่างๆ ดังนี้
การปรับตัวภายในภาคการเกษตร
ชว่ งทศวรรษท่ี 2490 จนถงึ พ.ศ. 2500 เศรษฐกจิ ของไทยยงั คงเปน็ เศรษฐกจิ ทพี่ งึ่ พาการเกษตร
อตั ราการเจรญิ เตบิ โตเศรษฐกจิ ไมส่ งู นกั และตอ้ งเผชญิ กบั ความไมแ่ นน่ อนของราคาสนิ คา้ เกษตรในตลาดโลก
อัตราการเจริญเติบโตในช่วงปี พ.ศ. 2493-2503 อยู่ประมาณร้อยละ 4.5 รายได้เฉล่ียต่อหัวเพ่ิมขึ้น
รอ้ ยละ 85 อยใู่ นภาคเกษตร ซง่ึ ขา้ วยงั คงเปน็ สนิ คา้ เกษตรทส่ี ำ� คญั ทส่ี ดุ และเปน็ สนิ คา้ ออกหลกั ของประเทศ
ผลผลิตทางเกษตรที่มีความส�ำคัญรองจากข้าว คือ ยางพารา ส่วนผลผลิตอ่ืนๆ ได้แก่ ข้าวโพด
มันสำ� ปะหลงั และปอ ไดเ้ ริม่ ขยายตวั เพ่ิมมากขน้ึ ในชว่ งปลายทศวรรษท่ี 2490 รวมทัง้ แรด่ บี กุ ยังคงเป็น
แหลง่ ทม่ี าของรายไดท้ ส่ี ำ� คญั (แตม่ แี นวโนม้ ลดลงเนอื่ งจากมคี แู่ ขง่ จากโลหะประเภทอน่ื ) การทภ่ี าครฐั เพม่ิ
การลงทนุ ในดา้ นคมนาคมขนสง่ มกี ารกอ่ สรา้ งทางหลวงสายตา่ งๆ โดยเฉพาะทางหลวงสายมติ รภาพ (จาก
สระบุรี-นครราชสีมา) ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา มีการก่อสร้างเข่ือนท้ังเพื่อการชลประทาน
และไฟฟา้ พลงั นำ�้ และการลงทนุ พลงั งานไฟฟา้ รวมทง้ั การลงทนุ ในภาคการบรกิ ารมากขนึ้ ในดา้ นการศกึ ษา
ภาคอุตสาหกรรมเกิดการขยายตวั แต่กย็ งั มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 3 ของภาคการเกษตร60
อยา่ งไรกต็ าม การทเ่ี ศรษฐกจิ ฟน้ื ตวั อยา่ งตอ่ เนอ่ื งดว้ ยแรงกระตนุ้ ของการคา้ ขา้ วและการปลกู ขา้ ว
ยังคงมีบทบาทส�ำคัญท่ีสุดของการผลิตในภาคการเกษตรนั้น แต่กลับพบว่าเริ่มเกิดการปรับตัวและเกิด
ผลผลติ ทางการเกษตรชนดิ อน่ื ๆ สว่ นหนงึ่ เปน็ ผลมาจากการดำ� เนนิ นโยบายเศรษฐกจิ ของรฐั ในชว่ งน้ี อาทิ
นโยบายอตั ราแลกเปลย่ี นหลายอตั รา กำ� หนดใหผ้ สู้ ง่ ออกขา้ วตอ้ งขายเงนิ ตราตา่ งประเทศในอตั ราแลกเปลยี่ น
60 สุจิต บุญบงการ. (2550). “บทบาทภาคเอกชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองไทย.” ใน เอกสารการสอน
ชดุ วิชาเศรษฐกจิ กับการเมืองไทย (หน่วยท่ี 8-15 ฉบบั ปรับปรงุ ครั้งท่ี 1 พ.ศ. 2549 พิมพค์ รั้งที่ 2). นนทบรุ :ี มหาวทิ ยาลยั สุโขทัย-
ธรรมาธิราช. น. 10-31.