Page 40 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 40
11-30 ประวัติศาสตรไ์ ทย
การควบคุมสินค้าเข้าและสินค้าออก ช่วงพ.ศ. 2496 ดุลการค้าของประเทศเริ่มขาดดุล รัฐบาล
จึงเข้าควบคุมสินค้าเข้า อาทิ ห้ามการส่ังสินค้าหลายประเภทที่ไม่จ�ำเป็นเข้ามา แม้สินค้าบางประเภทท่ี
อนุญาตให้น�ำเข้าก็ต้องขออนุญาตน�ำเข้าเพ่ือให้น�ำเข้าในปริมาณที่จ�ำเป็น ส�ำหรับสินค้าส่งออก ช่วงแรก
รัฐบาลเข้าดูแลการส่งออกเพื่อควบคุมเงินตราต่างประเทศ แต่ต่อมาเมื่อสถานการณ์ทางการเงินดีขึ้น ได้
เปิดโอกาสให้มกี ารสง่ ออกอยา่ งเสรี ยกเว้น สนิ ค้าขา้ ว ท่ียังคงมกี ารผูกขาดโดยสำ� นกั งานข้าว57
จากมาตรการตา่ งๆ ขา้ งตน้ ผลกั ดนั ใหร้ ฐั มบี ทบาทในฐานะผปู้ ระกอบการและอยใู่ นฐานะผคู้ วบคมุ
ระบบเศรษฐกจิ ตลอดจนสง่ ผลใหเ้ กดิ การประสานผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกจิ
3. การส่งเสริมรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การ
ของรฐั พ.ศ. 2496” พระราชบญั ญตั ฉิ บบั นไ้ี ดว้ างระเบยี บการตา่ งๆ เกย่ี วกบั การจดั ตงั้ กจิ การทเี่ ปน็ องคก์ าร
ของรัฐบาล โดยความในมาตรา 3 ระบุว่า “เมื่อรัฐบาลเห็นเป็นการสมควรจะจัดต้ังองค์การเพ่ือด�ำเนิน
กิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์หรือเพ่ือประโยชน์ในการเศรษฐกิจ หรือช่วยเหลือในการครองชีพ หรือ
อ�ำนวยบริการแก่ประชาชน โดยใช้เงินทุนจากงบประมาณแผ่นดินก็ให้กระท�ำได้ โดยตราเป็นพระราช-
กฤษฎีกา”58 เท่ากับเป็นเปิดโอกาสให้มีการจัดต้ังรัฐวิสาหกิจโดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา ท�ำให้มีการจัดตั้ง
รฐั วิสาหกจิ ขน้ึ เปน็ จ�ำนวนมาก จนไดร้ ับขนานนามวา่ เป็นยุคทองของรัฐวสิ าหกจิ ไทย
รัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นครอบคลุมกิจการหลายด้านของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองสาธารณูปโภค
สาธารณปู การ การเงนิ การธนาคาร เกษตรกรรม พาณิชยกรรม ตลอดจนเร่ืองความมั่นคงประเทศ เชน่
องคก์ ารรับสง่ สินคา้ และพัสดุภณั ฑ์ (ร.ส.พ.) องค์การอตุ สาหกรรมป่าไม้ องค์การสวนยาง องคก์ ารนำ้� มัน
เชอ้ื เพลงิ องคก์ ารแบตเตอร่ี องคก์ ารแกว้ องคก์ ารคลงั สนิ คา้ บรษิ ทั ไมอ้ ดั ไทย บรษิ ทั ไทยโทรทศั น์ บรษิ ทั
เดนิ อากาศไทย เปน็ ต้น ในบางอตุ สาหกรรมรฐั วิสาหกิจเป็นผู้ประกอบการทีใ่ หญ่ทีส่ ดุ เช่น โรงงานไม้อดั
โรงกลนั่ นำ�้ มนั โรงงานกระดาษ แตใ่ นบางอตุ สาหกรรมเปน็ เพยี งโรงงานขนาดเลก็ ไมม่ ผี ลตอ่ เศรษฐกจิ ของ
ประเทศและไม่ใช่คู่แข่งส�ำคัญของเอกชน ปรากฏว่าช่วงเวลาดังกล่าวมีรัฐวิสาหกิจเกิดขึ้นถึง 141 แห่ง
กระจายอย่ใู นสังกดั ของกระทรวงตา่ งๆ
ชว่ งเวลาดงั กลา่ ว “รฐั วสิ าหกจิ ” กลายเปน็ กลไกสำ� คญั ในการขบั เคลอ่ื นเศรษฐกจิ ของประเทศ ถงึ
แมว้ า่ จดุ มงุ่ หมายในการจดั ตงั้ รฐั วสิ าหกจิ นน้ั จะตอ้ งการใหผ้ ลประโยชนท์ งั้ หลายตกเปน็ ของรฐั รฐั จะเปน็
ผดู้ แู ลปกปอ้ งผลประโยชนท์ ง้ั หมดใหแ้ กป่ ระชาชน ดงั นนั้ รฐั จงึ ตอ้ งเขา้ มาเปน็ ผปู้ ระกอบการทางเศรษฐกจิ
หรือธุรกจิ ท่สี ำ� คัญๆ เอง ในขณะที่เอกชนจะสามารถประกอบกจิ กรรมอื่นทร่ี ัฐอนญุ าตใหไ้ ด5้ 9
57 เรืองวิทย์ ล่ิมปนาท. เรื่องเดยี วกัน. น. 193-195.
58 ราชกจิ จานุเบกษา. (2496). พระราชบัญญตั ิวา่ ด้วยการจัดต้งั องคก์ ารของรัฐบาล พ.ศ. 2496. ใน ราชกิจจานเุ บกษา.
เลม่ 70 ตอน 14 (17 กุมภาพันธ์ 2496) ถงึ จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/ PDF/ 2496/A/014/268.PDF
สบื ค้นเม่ือ 7 กมุ ภาพันธ์ 2560.
59 เร่อื งเดียวกนั .