Page 29 - วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต
P. 29
เอกภพและระบบสุรยิ ะ 6-19
เรื่องท่ี 6.1.3
เนบิวลาและดาวฤกษ์
เนบิวลากับดาวฤกษ์เป็นของคู่กัน เหมือนไก่คู่กับไข่ เพราะเนบิวลากลายเป็นดาวฤกษ์ และ
ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่จะจบชีวิตลงด้วยการระเบิด ท�ำให้ส่วนนอกของดาวกลายเป็นเนบิวลาใหม่ เนบิวลา
ดง้ั เดมิ รวมกบั เนบิวลาใหม่ กอ่ กำ� เนดิ เป็นดาวฤกษร์ ุ่นใหม่ วนเวียนเป็นวัฏจกั ร
1. เนบิวลา
เนบิวลาเป็นภาษาละติน แปลว่าส่ิงฝ้าๆ มัวๆ ในที่น้ีหมายถึงก๊าซและฝุ่นท่ีอยู่ในที่ว่างระหว่าง
ดาวฤกษ์ เนบวิ ลามขี นาดใหญ่มาก อยเู่ ป็นกลมุ่ ก้อนด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น เนบวิ ลาท่ีเปน็ ตน้ กำ� เนิดระบบ
สรุ ิยะมเี ส้นผา่ นศนู ยก์ ลางประมาณ 3 ปีแสง โดยเหตทุ ่ไี ฮโดรเจนและฮเี ลยี มมมี ากท่ีสดุ ในเอกภพ ดงั นนั้
ก๊าซส่วนใหญ่ในเนบิวลาจึงเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม บริเวณที่ไฮโดรเจนอยู่เป็นอะตอมหรือโมเลกุล
เรยี กวา่ บรเิ วณเอชหนงึ่ (H I) สว่ นบรเิ วณทไ่ี ฮโดรเจนอยใู่ นลกั ษณะทเ่ี ปน็ โปรตอนเรยี กวา่ บรเิ วณเอชสอง
(H II) นอกจากน้ันเปน็ กา๊ ซอ่ืนๆ ในปริมาณทีน่ อ้ ยลง
เนบิวลารุ่นแรกๆ เม่ือเริ่มเกิดกาแล็กซีประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียม เมื่อเกิดดาวฤกษ์
ขนาดใหญม่ วลมากภายในกาแลก็ ซีแล้ว จงึ เกิดเนบวิ ลารนุ่ หลงั ซง่ึ จะมธี าตุต่างๆ ที่มอี ะตอมขนาดใหญข่ น้ึ
เข้าไปร่วมอยู่ในเนบิวลา กลายเป็นแหล่งก�ำเนิดของดาวฤกษ์รุ่นใหม่ เนบิวลาจึงเป็นองค์ประกอบส�ำคัญ
ของกาแล็กซีเช่นเดียวกับดาวฤกษ์ โดยเนบิวลาจะยุบตัวลงเป็นดาวฤกษ์ และดาวฤกษ์ขนาดใหญ่จะจบ
ชีวติ ลงดว้ ยการระเบิดทเี่ รียกว่าซเู ปอร์โนวา (Supernova) ซึ่งสาดกระจายเนือ้ สารสว่ นหนง่ึ ออกส่อู วกาศ
กลายเป็นเนบิวลารุ่นใหม่ ดาวฤกษ์ขนาดดวงอาทิตย์เม่ือจบชีวิตลงจะเหลือบรรยากาศเป็นเนบิวลา
ดาวเคราะห์และแก่นกลายเป็นดาวเคราะห์
เนบิวลามหี ลากสีและสวยงาม รูปรา่ งต่างๆ กนั มี 2 ประเภท คือ ประเภทสว่างและประเภทมดื
เนบิวลาสว่างจากการเรืองแสงหรือสะท้อนแสงจากดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ ส่วนเนบิวลามืดเป็นฝุ่นที่บังแสง
ดาวฤกษ์ทอี่ ยูเ่ บื้องหลงั เอาไว้
ตวั อยา่ งของเนบวิ ลาสวา่ งจากการเรอื งแสง ไดแ้ ก่ เนบวิ ลาสวา่ งใหญ่ (Great Nebula in Orion)
ในกลมุ่ ดาวนายพราน เนบวิ ลาดอกกหุ ลาบ (Rosette) ในกลมุ่ ดาวยนู คิ อรน์ (Unicorn) เนบวิ ลาสามแฉก
(Trifid) ในกลมุ่ ดาวคนยงิ ธนู เนบวิ ลาวงแหวน (Ring) ซง่ึ เป็นเนบิวลาดาวเคราะหอ์ ยูใ่ นกลุ่มดาวพณิ