Page 77 - วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต
P. 77

เอกภพและระบบสุรยิ ะ 6-67
       2.1	 ฤดูกาล เม่อื พจิ ารณาดูโลกในเดอื นต่างๆ โดยเฉพาะโลก ณ 4 ตำ� แหนง่ ดงั กล่าว จะเห็นวา่
ความเอียงของแกนโลกท�ำให้โลกเบนขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนมิถุนายน และเบนออกใน
เดือนธนั วาคม
       ในวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะในเวลาเท่ียงวันของผู้ท่ีอยู่บนละติจูด 23.4
องศาเหนือ นั่นคือแสงอาทิตย์จะส่องตรงหรือต้ังฉากกับผิวโลกบริเวณนั้น ท�ำให้ได้รับความร้อนมากกว่า
ในเดอื นอื่นซ่งึ แสงจะสอ่ งมาเฉียงกวา่ ดังนน้ั เดือนมิถุนายน จึงเปน็ ฤดรู ้อนของซกี โลกเหนือ
       สว่ นเดือนธันวาคม ข้วั โลกเหนอื เบนออกจากดวงอาทิตย์ แสงอาทิตย์ในเวลาเท่ยี งวันของผ้ทู อ่ี ยู่
บนละติจูด 23.4 องศาเหนอื จะเฉียง ล�ำแสงอาทติ ย์ปรมิ าณเท่ากนั ตกกระทบผิวโลกเปน็ บริเวณกวา้ งกว่า
ความร้อนต่อหน่วยพื้นท่ีจะน้อยกว่า อุณหภูมิของผิวโลกบริเวณน้ันจึงตํ่ากว่าเดือนอ่ืน เดือนธันวาคมจึง
เปน็ ฤดหู นาวของประเทศในซีกโลกเหนือ
       สำ� หรบั เดอื นมีนาคมและเดือนกนั ยายน โลกหนั ด้านขา้ งเขา้ หาดวงอาทติ ย์ แสงอาทติ ย์ทต่ี ้งั ฉาก
กบั ผวิ โลกในเวลาเทย่ี งวันจะเป็นบรเิ วณเส้นศนู ย์สตู ร ดังน้ันบรเิ วณละตจิ ดู 23.4 องศาเหนือจึงไดร้ ับแสง
เฉียง เม่ือเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายนจะเห็นว่าเดือนกันยายนได้รับแสงเฉียงมากกว่า ฉะนั้นเดือน
กนั ยายนจงึ มีอากาศเย็นกว่าเดือนมิถนุ ายน นัน่ คอื เดอื นกนั ยายนเปน็ ฤดใู บไม้ร่วงของซีกโลกเหนือ
       เมอ่ื เปรยี บเทยี บเดอื นธนั วาคมกบั เดอื นมนี าคม จะพบวา่ แสงอาทติ ยท์ สี่ อ่ งกระทบซกี โลกเหนอื ใน
เดือนมีนาคมเฉียงน้อยกวา่ ในเดอื นธันวาคม ทำ� ใหอ้ ากาศเดือนมีนาคมสงู กวา่ เดือนธันวาคม นั่นคอื เดือน
มนี าคมเข้าสฤู่ ดใู บไมผ้ ลิหลงั ฤดูหนาวในเดอื นธันวาคม
       ฤดูกาลจึงเกิดจากแกนโลกเอียงและโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ไม่ข้ึนอยู่กับระยะห่างของโลกจาก
ดวงอาทติ ย์ หากสบื คน้ ดรู ะยะหา่ งของโลกจากดวงอาทติ ยใ์ นเดอื นตา่ งๆ จะพบวา่ ฤดหู นาวในซกี โลกเหนอื
อยูใ่ นชว่ งทโี่ ลกอยใู่ กลด้ วงอาทิตย์ท่สี ุด ซึ่งใกลก้ วา่ ระยะไกลที่สุดในเดือนกรกฎาคมถงึ 5 ล้านกโิ ลเมตร
       2.2 	เส้นทางข้ึนตกของดวงอาทิตย์ เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล เส้นทางขึ้นตกของดวงดาวจะ
ขนานกนั ความเฉียงของเสน้ ทางกบั ขอบฟา้ ขึน้ อยูก่ ับละติจดู ของผู้สงั เกต หากอยูท่ เ่ี สน้ ศูนย์สูตรเสน้ ทาง
จะตง้ั ฉากกบั ขอบฟา้ ถา้ อยทู่ ล่ี ะตจิ ดู 10๐ เหนอื เสน้ ทางขนึ้ ตกจะเอยี งไปทางใต้ โดยเอยี งจากแนวตง้ั ฉาก
ไปทางใต้ 10๐ นั่นคือส�ำหรับดาวที่ข้ึนตรงจุดทิศตะวันออกพอดี จะมีต�ำแหน่งสูงสุดท่ีเส้นทางขึ้นตกผ่าน
หรอื ทีเ่ รียกว่า จดุ ผ่านแนวเมอริเดียน จะอยทู่ างทิศใต้ของจุดเหนอื ศรี ษะ 10๐ ดงั นั้นท่ลี ะตจิ ดู 15๐ เหนือ
หรือกลางประเทศไทย เส้นทางข้ึนตกของดาวจึงเอียงไปทางใต้ของเส้นตั้งฉากกับขอบฟ้าเป็นมุม 15๐
ดาวท่ขี ้นึ ตรงจุดทิศตะวนั ออกพอดีจะผา่ นแนวเมอริเดียน ณ จดุ ทีอ่ ยู่ทางทศิ ใตข้ องจดุ เหนือศีรษะ 15๐
       อน่ึงจ�ำนวนช่ัวโมงที่ดาวอยู่บนฟ้าจะไม่เท่ากัน ยกเว้นท่ีเส้นศูนย์สูตรโลก ไม่ว่าดาวจะขึ้นตรง
จดุ ใด ดาวจะอยูบ่ นฟา้ นานเท่ากนั หมด คอื 12 ชัว่ โมงทุกดวง สำ� หรบั ทล่ี ะติจดู อนื่ เช่นกลางประเทศไทย
ดาวท่ีอยู่บนฟ้านาน 12 ช่ัวโมง คือดาวท่ีขึ้นตรงจุดทิศตะวันออกพอดี เส้นทางท่ีดาวข้ึนตรงจุดทิศ
ตะวันออกมีช่ือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เส้นศูนย์สูตรฟ้า ดาวที่ขึ้นเฉียงไปทางเหนือของจุดทิศตะวันออกจะ
อยู่บนฟ้านานกว่า 12 ช่ัวโมง ดาวเหนือและดาวท่ีอยู่ห่างจากดาวเหนือไม่เกิน 15๐ จะอยู่บนฟ้าตลอด
24 ช่ัวโมง เพราะดาวเหลา่ นี้จะวนเปน็ วงกลมรอบดาวเหนือ ดาวทข่ี นึ้ เฉียงไปทางใต้ของจดุ ทิศตะวนั ออก
จะอยบู่ นฟ้านอ้ ยกว่า 12 ชว่ั โมง
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82