Page 19 - ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
P. 19

หลักการใชค้ �ำ เพื่อการสื่อสาร      ๓-9

       สว่ นสระ มี ๓๒ ตวั เป็นสระแท้ ๑๘ เสยี ง สระประสม ๖ เสยี ง และสระเกนิ ๘ เสียง*
       วรรณยุกต์ มี ๕ เสยี ง คอื สามญั เอก โท ตรี จัตวา มีรูปให้ ๔ รูปคอื ่  ้   ๊  ๋
       จากการท่ีพยัญชนะมีเสียงเดียวกันแต่มีรูปต่างกันนี้ จะท�ำให้เกิดปัญหาในการเขียนสะกดค�ำ 
ดังนั้นการเรียนรู้เร่ืองค�ำ  ผู้สื่อสารจึงควรศึกษาเร่ืองของเสียงและอักษร เพ่ือเป็นพ้ืนฐานความเข้าใจเรื่อง
การใช้ภาษา เพราะคำ� หน่ึงๆ ถ้าเปล่ียนเสยี งใดเสยี งหน่งึ ความหมายจะเปลย่ี นไป เช่น คำ� ที่เปลยี่ นเสียง
พยัญชนะ เธอเป็นบ้า เธอเป็นปา้

ค�ำ  พยัญชนะ  สระ รูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์

บ้า บ         า  ้                               โท

ปา้ ป         า  ้                               โท

ปา ป า - สามญั

ปี ป ี - สามัญ

ปี่ ป         ี  ่ เอก

       ถ้าเสียงของพยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างไปเพียงเสียงเดียว ความหมายก็จะเปล่ียนไปดัง
แผนผงั ข้างตน้ ดังนนั้ ในการเขยี น การพูด และการอา่ นออกเสียงจะตอ้ งระมดั ระวังใหถ้ ูกต้อง

       คำ� ท่มี ีผ้เู ขยี นผดิ โดยเปลีย่ นเสียงพยญั ชนะ เชน่
            ปรานเี อ็นดู มกั เขียนเป็น ปราณี
            ปราณี หมายถงึ ผูม้ ชี ีวิต, ผมู้ ีลมหายใจ
            เครื่องราง มักเขียนเป็น เคร่ืองลาง
            ลาง หมายถึง สง่ิ บอกเหตรุ า้ ยหรือดี มกั เป็นไปทางรา้ ย
            คำ� ท่อี อกเสียงผดิ โดยเปลีย่ นเสียงสระ เช่น
            นกอยู่ในรงั นกอย่ใู นราง

       คำ� ท่ีออกเสยี งผิดโดยเปลีย่ นเสียงวรรณยกุ ต์ เชน่ ขอผลฉํ่าๆ ขอผลช้ําๆ
       สำ� หรบั การใชว้ รรณยกุ ตผ์ ดิ มกั เกดิ กบั พยญั ชนะกลมุ่ อกั ษรตา่ํ เพราะ อกั ษรตาํ่ มกั มเี สยี งวรรณยกุ ต์
กบั รปู วรรณยกุ ตม์ ักไมต่ รงกัน เชน่ คำ� วา่ วุน้ รูปวรรณยุกตโ์ ท แตเ่ สียงวรรณยุกต์เปน็ เสยี งตรี
       ในการศกึ ษาเรอ่ื งคำ�  ผสู้ อ่ื สารจงึ ควรทราบเรอื่ งของคำ� ดงั ตอ่ ไปน้ี ๑) คำ� ทม่ี รี ปู และเสยี งเหมอื นกนั
แต่ ความหมายตา่ งกนั ๒) คำ� ทมี่ เี สยี งเหมอื นกนั แตร่ ปู ตา่ งกนั ๓) คำ� ทม่ี รี ปู เหมอื นกนั แตเ่ สยี งตา่ งกนั และ
๔) ค�ำท่ีมเี สียงพยญั ชนะและสระเหมือนกนั แต่เสียงวรรณยุกตต์ ่างกัน

         * จำ�นวนหน่วยเสียงสระในภาษาไทย นักวิชาการได้มีความเห็นต่างกันออกไป บางท่านกล่าวว่ามี ๓๒ เสียง (สระแท้
๑๘ สระประสม ๖ เสียง และสระเกิน ๘ เสียง) บางทา่ นไม่นบั สระเกินเป็นเสยี งสำ�คญั จึงกลา่ วว่ามีเสียงสระ ๒๔ เสยี งและบางท่าน
ไม่นับสระประสมเสยี งส้นั อกี จงึ กล่าววา่ มเี สียงสระเพียง ๒๑ เสยี ง
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24