Page 22 - ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
P. 22
๓-12 ภาษาไทยเพ่อื การสื่อสาร
ตัวอย่างที่ ๑
(๑) ผมจะเดนิ ทางไปหาปา้
(๒) ผมจะเดินทางไปหาป่า
(๓) ผมจะเดนิ ทางไปหาปา๋
คำ� ท่เี ปน็ ตวั เอนในประโยคแตล่ ะประโยคขา้ งต้นน้ี ทัง้ พยญั ชนะและสระเหมือนกนั ต่างกันเฉพาะ
วรรณยุกต์ ท�ำให้ความหมายเปล่ียนแปลงไป ค�ำว่า ป้า หมายถึง พ่ีสาวของพ่อหรือแม่ ค�ำว่า ป่า
หมายถงึ ทท่ี มี่ ตี ้นไม้ต่างๆ ข้นึ เป็นผนื สว่ นคำ� ว่า ป๋า เป็นภาษาปาก หมายถึง พอ่
ตัวอย่างท่ี ๒
(๑) ลกู อยากได้จกั รยานคนั ใหมไ่ ว้ข่ีเล่น
(๒) ลูกอยากได้จักรยานคันใหม่ไวข้ ้เี ลน่
คำ� ท่เี ปน็ ตวั เอน คำ� วา่ ข่ี และ ค�ำวา่ ข้ี มีเสียงและรปู วรรณยกุ ต์ต่างกัน คำ� ว่า ข่ี มีความหมายวา่
ปน่ั ขี่ ส่วนคำ� วา่ ขี้ เป็นภาษาปาก หมายถึง ขับถา่ ยอุจจาระ หรืออจุ จาระ
เรอ่ื งเสยี งและอกั ษรของค�ำนี้ ผสู้ อื่ สารต้องท�ำความเขา้ ใจใหช้ ดั เจนเพือ่ การน�ำไปใชใ้ นการส่ือสาร
ในกรณีท่ีเป็นภาษาปาก คำ� บางค�ำอาจเปล่ียนเสียงและรปู ไปบ้าง โดยที่ผู้สือ่ สารยงั คงรับรู้ความหมายเดิม
ของค�ำนั้นได้ เช่น
คำ� ว่า ร้อู ย่างน้ี เมื่อเป็นภาษาพดู เปลี่ยนเสยี งเป็น ร้ยู ังงี้ หรอื รู้ง้ี
ค�ำว่า อยา่ งไร เปลยี่ นเสยี งเปน็ ยังไง
คำ� ว่า ไหม เปล่ยี นเสยี งเป็น มยั้ เป็นต้น ในกรณเี ชน่ นเี้ ป็นภาษาที่ไมเ่ ป็นแบบแผน มกั ใชใ้ นการ
พดู มากกว่าการเขยี น
กิจกรรม ๓.๑.๒
๑. ใหพ้ จิ ารณาคำ� วา่ ขา ท่ปี รากฏในขอ้ ความตอ่ ไปนี้ว่ามคี วามหมายต่างกนั อยา่ งไร
๑.๑ ผโู้ ดยสารขาออกจะตอ้ งไปทีป่ ระตทู ่ี ๓
๑.๒ หว้ ยขาแขง้ เป็นวนอุทยานแห่งชาตทิ ีม่ พี นั ธุ์ไมห้ ลายชนดิ
๑.๓ คุณนายขา ช่วยอดุ หนุนสนิ ค้าของดฉิ นั บา้ งสิคะ
๑.๔ เขาชอบรบั ประทานขนมปังขาไก่
๑.๕ เธอเป็นขาประจำ� ของร้านน้ี
๑.๖ พ่อชอบรับประทานขาไก่ต้มยำ�
๑.๗ พวงมาลาต้องหอ้ ยบนขาหยง่ั
๑.๘ โตะ๊ ขาสงิ หต์ วั นเี้ ปน็ โตะ๊ แบบโบราณ
๒. คำ� ตอ่ ไปน้ตี า่ งกันอยา่ งไร
๒.๑ ขา-ขา่
๒.๒ สาว-ลาว