Page 21 - ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
P. 21
หลักการใช้ค�ำ เพือ่ การส่ือสาร ๓-11
(๕) การณ์ เหตุ เคา้
(๖) การย์ หน้าที่ กิจ ธรุ ะ งาน
(๗) กาล เวลา คราว คร้ัง
(๘) กาฬ รอยดำ� หรือแดง ดำ�
(๙) กาญจน์ ทอง
จากตัวอย่างข้างตน้ จะเหน็ วา่ คำ� ท่อี อกเสยี ง กาน มีการสะกดคำ� ตา่ งๆ กันถึง ๙ คำ� ผ้สู ่อื สารจะ
ต้องเลือกใช้ให้ถกู ตอ้ งตรงตามความหมาย
ค�ำท่ีมีเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันน้ี อาจมีปัญหาในการส่ือสารเม่ือเป็นการพูดเพราะ
ความหมายต่างกัน เช่น ฟาร์มสุนัขแห่งน้ีเล้ียงสุนัขไว้หลายพันธุ์ ในกรณีเช่นนี้การพูดอาจท�ำให้เข้าใจ
ความหมายผิดได้ว่า พันธุ์ หรือ พัน แต่ถ้าเป็นการเขียนผู้อ่านมองเห็นตัวอักษรจะเข้าใจความหมายได้
ถูกตอ้ ง
๓) ค�ำที่มีรูปเหมือนกันแต่เสียงต่างกัน คำ� ทม่ี รี ปู เหมอื นกนั แตเ่ สยี งตา่ งกนั นี้ เรยี กวา่ ค�ำพ้องรูป
เชน่ ปริ อ่าน ปรฺ ิ และ ปะ-ริ
การท่จี ะอา่ นออกเสยี งอย่างไร ตอ้ งดทู ี่ความหมายและคำ� แวดลอ้ มที่เรยี กวา่ บรบิ ท ดงั ตัวอยา่ ง
(๑) เส้อื ตวั นี้ตะเข็บปริแล้ว
คำ� ปริ ในประโยคนจ้ี ะต้องอา่ นออกเสยี ง ปฺริ หมายถึงตะเขบ็ เป็นรอยแยกแตน่ อ้ ย
(๒) ห้ามปดิ ประกาศหาเสียงในปริมณฑลเลือกต้งั
ค�ำ ปริ ในประโยคน้ีจะต้องอ่านออกเสียง ปะ-ริ หมายถึงบริเวณโดยรอบสถานท่ี
เลือกต้งั
(๓) เธอไม่ปริปากบอกใครในเร่ืองที่เธอเดือดร้อน
คำ� ปริ ในประโยคนีจ้ ะต้องอา่ นออกเสียง ปริ หมายถงึ แย้มออก
ตวั อย่างเพ่ิมเตมิ
เพลา อ่านว่า เพ-ลา หมายถึง เวลา กาล คราว
เพลา อ่านว่า เพลา หมายถงึ
(๑) เบาลง เบาพอประมาณ
(๒) ตัก
(๓) ชอ่ื กระดาษสาชนิดบาง เรียกวา่ กระดาษเพลา
(๔) แกนสำ� หรับสอดในดุมรถหรอื ดุมเกวียน
กรี อา่ นวา่ กะ-รี หมายถงึ ช้าง (ผมู้ มี ือ)
กรี อ่านวา่ กฺรี หมายถงึ โครงแข็งแหลมทห่ี ัวกุ้ง
ค�ำท่ีมีรูปเหมือนกันแต่เสียงต่างกันมักท�ำให้เกิดปัญหาในการอ่าน แต่ไม่เป็นปัญหาในการ
เขียน
๔) ค�ำทม่ี ีเสียงพยัญชนะและสระเหมอื นกัน แตเ่ สียงวรรณยุกตต์ ่างกนั คำ� ทม่ี เี สยี งพยญั ชนะและ
สระเหมอื นกนั แตเ่ สยี งวรรณยกุ ตต์ า่ งกนั ความหมายจะแตกต่างกัน เช่น