Page 40 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 40
1-30 สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ภาพที่ 1.7 สือ่ แอนะลอ็ ก
ในสมัยก่อนสื่อแอนะล็อกแต่ละชนิดแยกออกจากกันโดยเด็ดขาดไม่สามารถใช้งานร่วมกันหรือ
แทนกันได้ เราไม่สามารถใช้เคร่ืองรับวิทยุเพ่ือเปิดรับชมรายการโทรทัศน์ได้ เราไม่สามารถเอาแผ่นเสียงไป
เปิดฟังบนเคร่ืองเล่นเทปเสียงได้ นอกจากน้ัน เครือข่ายการส่ือสารโทรคมนาคมก็ยังมีการใช้งานท่ีแยกออก
จากกัน เช่น โทรศัพท์ก็ต้องใช้งานบนเครือข่ายโทรศัพท์ โทรทัศน์ก็ต้องออกอากาศแพร่ภาพบนเครือข่าย
โทรทัศน์ หรือวิทยุก็ออกอากาศผ่านเครือข่ายของวิทยุกระจายเสียง ปัจจุบันสื่อเหล่านี้ถูกเปล่ียนไปให้อยู่ใน
รูปของข้อมูลดิจิทัล ส่งผลให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เคยอยู่บนแต่ละเครือข่าย สามารถน�ำมาใช้ร่วมกันบนเครือข่าย
การสื่อสารเดียวกันคือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เราสามารถใช้โทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
ชมรายการโทรทัศน์ ฟังรายการวิทยุทางอินเทอร์เน็ตได้ น่ันก็คือเราสามารถรับส่งส่ือทุกสื่อผ่านทางเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตได้ และข้อแตกต่างท่ีส�ำคัญก็คือข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาจากท่ัวทุกมุมโลกไม่จ�ำกัดอยู่เพียงข้อมูล
ในท้องถ่ินหรือข้อมูลในประเทศเท่าน้ัน ส่วนเคร่ืองรับ เช่น สมาร์ทโฟนก็สามารถใช้รับโทรศัพท์ผ่านเครือข่าย
อา่ นหนงั สอื พมิ พ์ ชมคลปิ วดี ทิ ศั น์ ชมรายการโทรทศั น์ และฟงั รายการวทิ ยอุ อนไลนไ์ ดภ้ ายในเครอื่ งเดยี วกนั ได้
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า สื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็คือสื่อดิจิทัลหรือส่ือแอนะล็อก ที่เกิดจากผลการหลอม
รวมของสื่อ หรือเป็นสื่อบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
ผลทีเ่ กดิ จากการหลอมรวมของสื่อ
จากการหลอมรวมของสื่อท�ำให้เกิดผลดีต่อการเรียนการสอนดังนี้ คือ
1. การหลอมรวมของสื่อช่วยลดช่องว่างดิจิทัล (Digital gap/Digital divide) โดยเปิดให้ผู้เรียน
มีโอกาสในการเลือกอุปกรณ์หรือวิธีการในการเข้าถึงส่ือได้มากและหลากหลายข้ึน เช่น เมื่อก่อนต้องรับชม
รายการโทรทัศน์ด้วยเครื่องรับโทรทัศน์ตามเวลาท่ีออกอากาศเพียงอย่างเดียว ปัจจุบัน สามารถเลือกได้ว่า