Page 37 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 37

แนวคิดเก่ียวกับส่ือและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-27

สอ่ื ส่ิงพมิ พ์ตา่ ง ๆ ภาพถ่าย ภาพกราฟกิ แผนท่ี ของจรงิ หนุ่ จ�ำลอง นอกจากน้ี กย็ ังมอี ปุ กรณ์ประเภทกระดาน
ต่าง ๆ เช่น ไวท์บอร์ด กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก กระดานผ้าส�ำลี และกิจกรรมต่าง ๆ (activities)
ท่ีใช้ในการเรียนการสอน เป็นต้น

       2. 	 สือ่ ประเภทใช้เครือ่ งฉาย (Projected media) ส่ือประเภทนี้จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือส่วน
ที่เป็นวัสดุที่จะน�ำไปฉาย (Software) และส่วนที่เป็นอุปกรณ์ในการฉาย (Hardware) เช่น ฟิล์มกับเครื่อง
ฉายภาพยนตร์ แผ่นสไลด์กับเคร่ืองฉายสไลด์ แผ่นดีวีดีกับเครื่องฉายภาพ วัตถุสามมิติหรือวัตถุทึบแสงกับ
เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เป็นต้น

       3. 	 ส่ือประเภทเสียง (Audio media) ส่ือประเภทนี้เป็นส่ือท่ีถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาสาระผ่าน
ทางเสียง เช่น วิทยุกระจายเสียง เทปเสียง ซีดีเสียง เครื่องเล่น mp3

       นอกจากน้ี หากพิจารณาแบ่งประเภทของสื่อโสตทัศน์ตามคุณสมบัติ หรือตามลักษณะของสื่อ ก็
สามารถจะแบ่งออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังน้ี คือ

            1) 	ส่ือประเภทภาพเคล่ือนไหว (Motion) เป็นส่ือท่ีให้ความรู้สึกคล้ายจริงมากที่สุดเน่ืองจาก
สามารถน�ำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว ส่ือประเภทน้ีได้แก่ วีดิทัศน์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีซีดี
ดีวีดี

            2) 	ส่ือประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive multimedia) จัดเป็นสื่อท่ีมีประสิทธิภาพสูงเพราะ
นอกจากจะสามารถน�ำเสนอส่ือในลักษณะที่เป็นส่ือประสมแล้ว ยังมีปฏิสัมพันธ์คือโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อีกด้วย
สื่อประเภทน้ี ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

            3) 	ส่ือการสอนบนเว็บ (Web-based) เป็นส่ือการสอนท่ีอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
การสอนผ่านเว็บ (Web-based instruction) การสืบค้นข้อมูลโดยอาศัยเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser)
และการส่ือสารบนอินเทอร์เน็ต เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) หรือเว็บบอร์ด (Web board) เป็นต้น

            4) 	สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ (Process technology) ได้แก่ การสอนแบบโปรแกรม
เกม การจ�ำลองสถานการณ์ การสาธิต หรือกิจกรรมต่าง ๆ ในการเรียน เป็นต้น

       หรือหากแบ่งประเภทของสื่อตามประสาทสัมผัสที่ใช้ในการรับส่ือ ก็จะแบ่งได้ ดังน้ี
            1) 	สือ่ เสยี ง ส่ือประเภทน้ี ได้แก่ สื่อท่ีสื่อสารผ่านทางการได้ยิน เช่น วิทยุกระจายเสียง เทป/

ซีดีเสียง ไฟล์เสียง (mp3) ห้องปฏิบัติการทางภาษา (Language lab)
            2) 	ส่ือภาพ ได้แก่ สื่อท่ีเป็นตัวอักษร ภาพน่ิง หรือภาพเคล่ือนไหว เช่น ต�ำรา แผนภูมิ

แผนภาพ แผนที่ รูปภาพ หุ่นจ�ำลอง
            3) 	ส่ือภาพและเสียง ได้แก่ สื่อท่ีแสดงท้ังภาพและเสียง เช่น ภาพยนตร์ วิทยุโทรทัศน์

ซีดีภาพ (VCD) คอมพิวเตอร์ ไฟล์ภาพ (mp4) และสื่อมัลติมีเดีย เป็นต้น

ความส�ำคญั ของสอื่ โสตทัศน์

       ส่ือโสตทัศน์มีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนการสอน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการเรียนการสอน
เป็นกระบวนการส่ือสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนโดยผ่านทางสื่อ ดังน้ัน ถ้าสื่อที่ใช้เป็นส่ือที่มีคุณภาพมีความ
เหมาะสมกับข้อมูลข่าวสารที่จะท�ำการส่ือสาร ก็จะท�ำให้การสื่อสารนั้นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพซ่ึงจะ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42