Page 17 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 17
สื่อท่ีใช้ในการจัดการเรียนการสอนชีววิทยา 2-7
1. สอ่ื วสั ดุ 2 มิติ
ส่ือวัสดุ 2 มิติ โดยทั่วไปหมายถึง ส่ือวัสดุกราฟิกที่มีรูปภาพ ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์เป็น
องค์ประกอบส�ำคัญ ใช้ในการแสดงความหมายของส่ิงใดสิ่งหนึ่งที่เก่ียวข้องกับแนวคิดหรือข้อเท็จจริง เพ่ือ
สร้างเสริมความเข้าใจเน้ือหาที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ด้วยการมองเห็นทางตา
ผู้เรียนเข้าใจในเน้ือหาที่สื่อน�ำเสนอได้ถูกต้องและรวดเร็ว อีกทั้งวัสดุกราฟิกสามารถดึงดูดความสนใจของ
ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างของวัสดุกราฟิกที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เช่น รูปภาพ แผ่นชาร์ต
ภาพการ์ตูน ภาพโปสเตอร์ ภาพประกอบเร่ือง สมุดภาพ แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ เป็นต้น ในที่น้ีจะยก
ตัวอย่างรูปภาพและแผ่นชาร์ตที่ใช้เป็นส่ือในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยา
1.1 รูปภาพ หมายถึง ภาพถ่าย ภาพเขียน หรือภาพพิมพ์ในหนังสือต่าง ๆ ซึ่งจัดเป็นวัสดุที่มี
ประโยชน์ต่อการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยา ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วกว่า
การบรรยาย หรืออธิบายเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง
ในการน�ำเสนอแนวคิดทางชวี วิทยา การใช้สื่อรูปภาพ เช่น รูปภาพสัตว์และพืชมีความสําคัญ เนื่องจาก
สิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่มีอยู่ในท้องถ่ินหรือในประเทศ หรือหากมีอยู่ก็สังเกตจากสิ่งมีชีวิตโดยตรงได้ยาก การ
ใช้รูปภาพหรือภาพถ่ายเป็นส่ือในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาจึงมีประโยชน์
รีด (Reid, 1990) ได้กล่าวถึงบทบาทของรูปภาพในการเรียนรู้แนวคิดทางชีววิทยาในด้านการรับรู้
และการสังเกต โดยกล่าวถึงผลกระทบที่เหนือกว่าของรูปภาพ (Picture Superiority Effect: PSE) โดยได้
ทบทวนวรรณกรรมทเี่ กย่ี วขอ้ งทรี่ ปู ภาพดงึ ดดู ความสนใจของผเู้ รยี นในตอนแรก และทำ� ใหผ้ เู้ รยี นตง้ั ใจสงั เกต
รูปภาพต่อมา ในการเรียนรู้แนวคิดทางชีววิทยา ครูผู้สอนต้องเลือกรูปภาพหรือวาดรูปภาพท่ีเพิ่มความ
แตกต่างของรูปภาพกับพ้ืน โดยยึดกฎ 3 ประการ ดังน้ี
1) ปรับแต่งรูปภาพให้เหมาะสมกับแนวคิดทางชีววิทยาท่ีต้องการให้รูปภาพน�ำเสนอ โดย
จัดการกับส่วนย่อยของมุมมอง ต�ำแหน่งรูปภาพในแนวต้ัง พ้ืนผิว สี และสิ่งท่ีซ้อนอยู่ เป็นต้น
2) ใช้สี หรือเงาท่ีดึงดูดความสนใจส่วนต่าง ๆ ของรูปภาพที่เก่ียวข้องกับแนวคิดทางชีววิทยา
ที่จะน�ำเสนอ
3) ให้แน่ใจว่าลายเส้นในรูปภาพชัดเจนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น ส่วน-
ประกอบที่ส�ำคัญของรูปภาพหนึ่งวางอยู่ถูกต้องเหมาะสมแล้วในพ้ืนหลัง การลบออกจะท�ำลายความสัมพันธ์
ท่ีส�ำคัญอ่ืน ๆ ดังนั้น ผู้สอนต้องถามตัวเองว่าจะใช้รูปภาพเดียวน�ำเสนอแนวคิดจ�ำนวนมาก หรือ
แยกน�ำเสนอเป็น 2 รูปภาพจะดีกว่า หรือใช้ตัวอักษรให้ข้อมูลเก่ียวกับรายละเอียดพื้นหลังแทน หรือละเว้น
ไปจากรูปภาพ หรือใช้เทคนิคการลงสี เป็นต้น
นอกจากน้ี หลักการท่ัว ๆ ไปในการใช้รูปภาพเป็นสื่อในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาที่ผู้สอน
ควรพิจารณา มีดังนี้
1) ใช้ให้ตรงจุดประสงค์ของเรื่องท่ีจะสอน เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และเกี่ยวข้องกับ
ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน