Page 69 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 69
ส่ือท่ีใช้ในการจัดการเรียนการสอนชีววิทยา 2-59
1.6.4 ถ้ามีน้ํามากเกินไปหรือมีฟองอากาศอยู่ในกระจกปิดสไลด์ ให้ใช้กระดาษเย่ือซับ
ที่ด้านข้างด้านใดด้านหน่ึงของกระจกปิดสไลด์ เพื่อซับน้ําที่เกินพอและไล่อากาศออก
ตัวอย่าง เช่น การสังเกตเซลล์คุมของใบ เช่น เซลล์คุมของใบว่านกาบหอย โดย
1) ฉีกแฉลบให้เนื่อเย่ือผิวใบด้านล่างลอกออกเป็นแผ่นบาง
2) ตัดเน้ือเย่ือผิวใบด้านล่างเป็นชิ้นเล็ก ๆ น�ำไปวางบนหยดน้ําบนสไลด์ แล้วปิดด้วย
กระจกปิดสไลด์
3) ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ก�ำลังขยายตํ่าและก�ำลังขยายสูงตามล�ำดับ
1.7 ก�ำลงั ขยายของกลอ้ งจลุ ทรรศน์
ก�ำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์บอกว่ากล้องจุลทรรศน์สามารถขยายภาพของวัตถุได้กี่เท่า มีวิธี
ค�ำนวณ ดังน้ี
ก�ำลังขยายของกลอ้ ง = ก�ำลงั ขยายของเลนสใ์ กลว้ ตั ถุ × ก�ำลงั ขยายของเลนสใ์ กล้ตา
ซ่ึงกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่ใช้ในห้องเรียนโดยท่ัวไปมีก�ำลังขยาย 400 เท่า กล้องจุลทรรศน์
อิเล็กตรอนมีก�ำลังขยาย 500,000 เท่า
1.8 ข้อควรระวงั ในการใชก้ ล้องจลุ ทรรศน์
1.8.1 อย่าปรับกระจกกล้องจุลทรรศน์ให้รับแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง
1.8.2 อย่าหมุนปุ่มปรับภาพจนเลนส์ใกล้วัตถุชนกระจกสไลด์
1.9 การดแู ลและการเกบ็ รกั ษากลอ้ งจุลทรรศน์
1.9.1 ใช้ผ้าท่ีสะอาดและแห้งเช็ดท�ำความสะอาดส่วนท่ีเป็นโลหะ
1.9.2 ใช้กระดาษเช็ดเลนส์ท�ำความสะอาดส่วนที่เป็นเลนส์และกระจก
1.9.3 เลื่อนท่ีหนีบสไลด์ให้ต้ังฉากกับตัวกล้อง
1.9.4 หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีก�ำลังขยายตํ่าสุดให้อยู่ในแนวล�ำกล้องแล้วเล่ือนให้อยู่ในระดับ
ตํ่าสุด
1.9.5 ปรับกระจกเงาให้อยู่ในแนวต้ังฉากกับพื้น
1.9.6 ควรเก็บรักษากล้องจุลทรรศน์ไว้ในท่ีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีแสงแดด ฝุ่นละออง และ
ความช้ืน (เพราะจะท�ำให้เลนส์ขึ้นรา) ถ้าต้องน�ำมาใช้งานอยู่เสมอควรเก็บในตู้ท่ีสูงจากพ้ืนห้องประมาณ
1 เมตร เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ และภายในตู้ต้องมีซิลิกาเจลส�ำหรับดูดความช้ืนไว้ด้วย ถ้าต้องเก็บ
กล้องจุลทรรศนไ์ วเ้ ปน็ เวลานานควรเก็บไวใ้ นตูท้ สี่ ร้างดว้ ยวสั ดุทนไฟ ภายในมหี ลอดไฟฟา้ เพ่อื รักษาอณุ หภูมิ
ให้อยู่ในช่วง 40 – 50 oC หรืออุณหภูมิที่เหมาะสม การรักษาคุณภาพของอุปกรณ์ เคร่ืองมือเคร่ืองใช้ ตู้เก็บ
อุปกรณ์ควรท�ำเป็นช่อง หรือติดตะแกรงเพ่ือให้อากาศภายในและภายนอกหมุนเวียนกันได้