Page 65 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 65
ส่ือท่ีใช้ในการจัดการเรียนการสอนชีววิทยา 2-55
แสงที่ใช้ในกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงอาจมีแหล่งก�ำเนิดแสงมาจากแสงธรรมชาติหรือหลอดไฟ
กล้องแบบน้ีจะมีกระจกเงา 2 ด้าน ช่วยรวบรวมแสงให้สะท้อนสู่ตรงกลางของแท่นวางวัตถุ กระจกเงา
ดา้ นเรยี บใช้ส�ำหรบั ปรับแสงตามปกติ สว่ นกระจกเงาดา้ นโค้งเว้าใช้ส�ำหรับชว่ ยรวบรวมแสงในวนั ท่ีมแี สงนอ้ ย
ในกล้องจุลทรรศน์บางรุ่นสามารถถอดกระจกเงานี้ออกแล้วใช้หลอดไฟเป็นแหล่งก�ำเนิดแสงแทน ซึ่งสะดวก
ต่อการน�ำมาใช้งานทั้งกลางวัน กลางคืนและห้องท่ีมีแสงน้อย
การปรับความเข้มแสง กล้องบางรุ่นจะมีเลนส์รวมแสง (Condenser lens) อยู่ใต้แท่นวางวัตถุ เพื่อ
ช่วยเพ่ิมความเข้มแสงและคัดเลือกรวมแสงที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีไออะแฟรม (Diaphragm) ช่วยปรับ
ความเข้มของแสงตามที่ต้องการ เพ่ือให้เห็นภาพของวัตถุชัดข้ึน
กล้องจุลทรรศน์ท่ีใช้กันท่ัวไปในโรงเรียนเป็นกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงแบบธรรมดา (Simple
compound light microscope) ซ่ึงเป็นกล้องชนิดเลนส์ประกอบที่ประกอบด้วยเลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์
ใกล้ตา มีส่วนประกอบ ดังภาพท่ี 2.23
เลนส์ใกล้ตา ล�ำกล้อง
จานหมุน แขน
เลนส์ใกล้วัตถุ
เลนส์รวมแสง ปุ่มปรับภาพละเอียด
แท่นวางสไลด์ ปุ่มปรับภาพหยาบ
ที่ปรับเล่ือนสไลด์
ไดอะแฟรม
แหล่งก�ำเนิดแสง
ฐาน
ภาพท่ี 2.23 ส่วนประกอบของกล้องจลุ ทรรศนแ์ บบใช้แสง
ทม่ี า: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (สสวท.). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานชีววิทยา. ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 4-6.
(http://www.scimath.org/ebook/sci/sci-sec4/3/eBook/)