Page 61 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 61

ส่ือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนชีววิทยา 2-51

1. 	กลอ้ งจุลทรรศน์

       กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือส�ำคัญที่ใช้ในการศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและเซลล์ของส่ิงมีชีวิต
ในเร่ืองน้ีจะกล่าวถึง ชนิดของกล้องจุลทรรศน์ ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์ท่ีใช้ใน
โรงเรียน อุปกรณ์และอะไหล่ของกล้องจุลทรรศน์ วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ตัวอย่างการสังเกต
ท่ีใช้กล้องจุลทรรศน์ วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ก�ำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ ข้อควรระวังใน
การใช้กล้องจุลทรรศน์ การดูแลและการเก็บรักษากล้องจุลทรรศน์

       1.1 	ชนดิ ของกลอ้ งจลุ ทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท
คือ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Optical microscopes) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron
microscopes) ชนิดท่ีพบได้มากท่ีสุด คือ ชนิดท่ีประดิษฐ์ขึ้นเป็นคร้ังแรก เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์แบบ
ใช้แสง เป็นอุปกรณ์ใช้แสงอย่างหน่ึง มีเลนส์อย่างน้อย 1 ช้ิน เพื่อท�ำการขยายภาพวัตถุที่วางในระนาบโฟกัส
ของเลนส์น้ัน ๆ

            1.1.1 	กลอ้ งจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light microscope)
                1) 	Light microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่พบอยู่ทั่วไป โดยเวลาส่องดูจะเห็น

พ้ืนหลังเป็นสีขาว และจะเห็นเชื้อจุลินทรีย์มีสีเข้มกว่า
                2) 	Stereo microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ส่องดูส่ิงมีชีวิตที่ไม่เล็กมาก ส่องดูเป็น

3 มิติ ส่วนใหญ่จะใช้ในการศึกษาแมลง
                3) 	Dark field microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ท่ีมีพื้นหลังเป็นสีด�ำ เห็นเชื้อจุลินทรีย์

สว่าง เหมาะส�ำหรับใช้ส่องจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่ติดสียาก
                4) 	Phase contrast microscope ใช้ส�ำหรับส่องเชื้อจุลินทรีย์ท่ียังไม่ได้ท�ำการย้อมสี

จะเห็นชัดเจนกว่า Light microscope
                5) 	Fluorescence microscope ใช้แหล่งก�ำเนิดแสงเป็นอัลตราไวโอเลต ส่องดู

จุลินทรีย์ที่ย้อมด้วยสารเรืองแสง ซ่ึงเม่ือกระทบกับแสง UV จะเปลี่ยนเป็นแสงช่วงที่มองเห็นได้ แล้วแต่ชนิด
ของสารที่ใช้ พื้นหลังมักมีสีด�ำ

            1.1.2 	กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีก�ำลัง
การขยายสูงมาก เพราะใช้ล�ำแสงอิเล็กตรอนแทนแสงปกติและใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้ว
เป็นกล้องท่ีใช้ในการศึกษาโครงสร้าง และส่วนประกอบของเซลล์ได้อย่างละเอียดและใช้ในการศึกษา
โครงสร้างระดับโมเลกุลท่ีกล้องชนิดอ่ืนไม่สามารถท�ำได้ ปัจจุบันกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมีก�ำลังขยายถึง
500,000 เท่า

            กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมี 2 ชนิด คือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Trans-
mission electron microscope: TEM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning
electron microscope: SEM) ดังภาพที่ 2.21
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66