Page 40 - การเขียนบทวิทยุกระจายเสียง
P. 40

6-30 การเขยี นบทวทิ ยกุ ระจายเสยี ง

         2.4	 อายุ เปน็ ลกั ษณะทางประชากรทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั ชว่ งความสนใจตดิ ตามฟงั เชน่ วยั เดก็ เลก็
ก่อนเขา้ เรียนจะมชี ว่ งความสนใจสั้นๆ เปน็ ตน้
         2.5	 ความยาว โดยทั่วไปหลังจากเวลาผ่านไปสัก 1-2 นาที ความสนใจของผู้ฟังในหัวข้อ
นนั้ ๆ มแี นวโนม้ จะนอ้ ยลง บคุ คลจะตอ้ งใชค้ วามพยายามในการตง้ั ใจฟงั เสยี งจากวทิ ยแุ ละยง่ิ หวั ขอ้ มคี วาม
ยาวมาก ผฟู้ ังกย็ ิ่งต้องพยายามฟังมากขึ้น ดังนนั้ ผูเ้ ขยี นบทจงึ ตอ้ งคำ� นงึ ถึงการเขียนบทท่ีท�ำให้ผฟู้ งั เกดิ
ความผ่อนคลาย เพลดิ เพลนิ และมีความสุขทจี่ ะฟงั โดยผู้ฟงั ไม่ต้องบงั คับตนเองให้พยายามฟงั
         เมื่อท�ำความเข้าใจธรรมชาติเกี่ยวกับความสนใจติดตามฟังของผู้ฟัง ทั้งเร่ืองปริมาณความ
สนใจตดิ ตามฟงั และชว่ งความสนใจตดิ ตามฟงั ของผฟู้ งั แลว้ ในการเขยี นบทสว่ นเนอ้ื หารายการผเู้ ขยี นบท
ควรคำ� นึงถึงความเป็นเอกภาพ ความหลากหลาย จังหวะและจดุ ไคลแมกซข์ องบทดังนี้
         1)	 ความเปน็ เอกภาพ (unity) หมายถงึ ความเปน็ อนั หนงึ่ อนั เดยี วกนั ความสอดคลอ้ ง
กลมกลืนกัน (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2542, น. 1391) เป็นส่ิงท่ีผู้เขียนบทควรค�ำนึงถึง
เพราะการเขยี นบทอย่างมีเอกภาพจะทำ� ให้บททเี่ ขียนไปในทศิ ทางเดียวกนั ไมน่ อกเรอ่ื ง นอกประเด็นซ่ึง
อาจกอ่ ให้เกดิ ความสบั สนแก่ผู้ฟงั และไม่เพลิดเพลินในการติดตามฟัง
         สงิ่ ทกี่ อ่ ใหเ้ กดิ เอกภาพในบทมาจากทกุ ๆ สว่ นทป่ี ระกอบกนั เปน็ รายการ ไมว่ า่ จะเปน็
เน้ือหารายการ ดนตรี เพลงท่ีเลือกใช้จะต้องสอดคล้องกลมกลืนกันท้ังหมด ภายใต้แนวคิดรายการเพียง
แนวคดิ เดยี ว มแี กน่ ของรายการทต่ี อ้ งการนำ� เสนอทชี่ ดั เจน เชน่ การเขยี นบทรายการเพลงจะไมเ่ ลอื กเพลง
ลกู ทงุ่ ให้ฟงั สลบั กบั เพลงไทยเดมิ เปน็ ตน้
         2)	 ความหลากหลาย (variety) อาจจะดเู ป็นเรอื่ งแปลกทีใ่ หผ้ เู้ ขยี นบทคำ� นึงถงึ ความ
เป็นเอกภาพและขณะเดียวกันก็ต้องมีความหลากหลาย แต่โครงสร้างรายการท่ีดีจะสามารถท�ำให้เกิดทั้ง
เอกภาพและความหลากหลายได้
         ความหลากหลายของรายการเกดิ จาก เนอื้ หา รปู แบบการนำ� เสนอ ผนู้ ำ� เสนอรายการ
         •	 เนอ้ื หารายการ ผเู้ ขยี นบทสามารถนำ� เสนอเนอ้ื หาทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ ความหลากหลาย
ได้ อาจน�ำเสนอในประเดน็ ย่อยๆ หลายประเดน็ แทนการน�ำเสนอประเด็นเดยี วยาวๆ จนจบรายการ เช่น
การน�ำเสนอสาระเร่ืองโรคเอดส์ อาจน�ำเสนอประเด็นย่อย ได้แก่ สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย
การดแู ลผู้ปว่ ย การอยรู่ ่วมกบั ผปู้ ว่ ยโรคเอดส์ การปอ้ งกนั เป็นต้น
         •	 รูปแบบการน�ำเสนอ อาจเลือกใชไ้ ด้หลายรปู แบบ เชน่
         -	 สถานการณโ์ รคเอดสใ์ นประเทศไทย	นำ� เสนอรูปแบบ รายงานเหตกุ ารณ์
         -	 การดูแลผปู้ ว่ ยโรคเอดส์ 	                                  น�ำเสนอรปู แบบ สัมภาษณ์
         -	 การอย่รู ่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์	 นำ� เสนอรปู แบบ สนทนา
         -	 การปอ้ งกันโรคเอดส์	                                        นำ� เสนอรูปแบบ บรรยาย
         ดงั นัน้ ภายในหนึ่งรายการจะเกดิ ความหลากหลายด้วยรูปแบบการนำ� เสนอ
         •	 ผู้น�ำเสนอรายการ ก่อให้เกิดความหลากหลายได้ด้วย เพศ เช่น การใช้
ผดู้ �ำเนินรายการชาย หญงิ จำ� นวน เช่น การใชผ้ นู้ ำ� เสนอรายการรายการละ 2 คนช่วยกันเป็นผู้สมั ภาษณ์
เป็นตน้
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45