Page 58 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 58

2-48 พน้ื ฐานสงั คมและวัฒนธรรมเขมร

ทาให้สมเด็จสหี นุไม่พอใจเป็นอย่างมาก ทรงเหน็ ว่ากมั พชู าในเวลาน้นั ยงั ไมพ่ รอ้ มกบั การมปี ระชาธิปไตย
เสรนี ิยมแบบตะวันตกเพราะประชาชนสว่ นใหญย่ งั ขาดการศึกษา (แชนดเ์ ลอร์, 2557: 268; Reddi, 1971:
131)

       หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญก็มีการยุบสภาเพ่ือให้มีการเลือกต้ังสมาชิกรัฐสภาชุดใหม่
พรรคประชาธิปไตยยังคงชนะเลือกต้ังซึ่งเกดิ ข้ึนในปลาย ค.ศ. 1947 โดยได้รับเลือกต้ัง 55 ที่น่ังจากทน่ี ั่ง
ท้ังหมดในสภาจานวน 75 ที่นั่งและได้ต้ังรัฐบาล (Tully, 2002: 438-439) แต่บริหารประเทศไม่นานก็
ต้องพ้นจากตาแหนง่ และมรี ัฐบาลใหม่ซง่ึ มีอายุส้นั เวยี นเปล่ยี นกนั เขา้ มาเขา้ มาบริหารประเทศ การเจรจา
กบั ฝรง่ั เศสเร่ืองเอกราชซ่ึงเป็นนโยบายหลักของพรรคประชาธิปไตยจึงไมค่ บื หนา้ ท่ีอาจจะสาคัญกวา่ นั้น
คอื ฝรัง่ เศสไมย่ นิ ยอมท่จี ะเจรจาด้วย

       ในช่วงเวลาดังกล่าว สมเด็จสีหนุเร่ิมต้นบทบาททางการเมืองโดยตรง ทรงประกาศยุบสภาใน
วนั ท่ี 17 กันยายน 1949 และในวนั ท่ี 8 พฤศจกิ ายน 1949 ก็มีการลงนามในสนธสิ ัญญาฉบับใหมก่ ับฝร่งั เศส
สนธิสัญญาน้ีมอบสิ่งท่ีสมเด็จสีหนุเรียกว่า “เอกราชห้าสิบเปอร์เซ็นต์” ให้กัมพูชา ตามสนธิสัญญา
ดังกล่าวกัมพูชามีฐานะเป็นรัฐเอกราชในสหภาพฝรั่งเศส การตั้งที่ปรึกษาชาวฝรั่งเศสเข้าไปกากับ
การบริหารกิจการต่างๆ ท่ีเคยมีมาตามข้อตกลงช่ัวคราว ค.ศ. 1964 ถูกยกเลิกไป แต่กัมพูชาก็ยังไม่ได้
อิสระในการดาเนินนโยบายทางการเงิน การคลัง การค้าต่างประเทศ การสื่อสาร โทรคมนาคม การศาล
การป้องกนั ประเทศ การดาเนินนโยบายตา่ งประเทศ และการดาเนนิ การทาง การทตู (แชนด์เลอร์, 2557:
270)

       วันท่ี 9 กันยายน 1951 ก็มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา พรรคประชาธิปไตยก็ยังคงชนะการ
เลือกตั้งโดยได้ 54 ที่นง่ั จาก 78 ท่ีนั่ง และไดต้ ้งั รัฐบาล (Tully, 2002: 444) รฐั บาลพรรคประชาธิปไตย
สัญญาวา่ จะนาเอกราชมาสกู่ มั พูชาโดยเร็ว

       ในวันที่ 30 ตุลาคม 1951 เซิง ง็อก ทัญ ซ่ึงได้รับนิรโทษกรรมตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1949 ก็
เดินทางกลับกมั พูชา ผู้คนมากกวา่ 100,000 คนไปรอต้อนรับ โดยยืนเรียงรายสองข้างทางจากสนามบิน
โปเจินตงไปจนถึงกรุงพนมเปญ คนจานวนน้ีเป็นจานวนท่ีมากพอท่ีจะทาให้สมเด็จสีหนุกร้ิวอย่างหนัก
เพราะน่ันหมายความว่าชาวเขมรอาจจะนิยมในตัวทัญมากกว่าพระองค์อันจะทาให้ทรงตกอยู่ในฐานะ
ลาบาก เพราะทั้งทญั และพรรคประชาธิปไตย ในเวลาน้นั ไมแ่ มแ้ ต่นยิ มระบอบการปกครองทก่ี ษัตรยิ อ์ ยู่ใต้
รัฐธรรมนูญ แต่นิยมสาธารณรัฐ ทัญปฏิเสธตาแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลพรรคประชาธิปไตยแต่หันไปจับ
งานหนังสอื พิมพเ์ พือ่ เปน็ ส่ือกลางในการแสดงความคิดทางการเมืองเหมือนที่เคยทาในหนงั สือพิมพ์นครวัด
ทัญตั้งหนังสือพิมพ์ แขฺมร์โกรฺก [เขมรต่ืน] ข้ึนในเดือนกุมภาพันธ์ 1952 แต่ก็ถูกสั่งปิดในเดือนเดียวกัน
น้ันเอง ในวันที่ 9 มีนาคม 1952 ทัญซ่ึงเชื่อว่าฝรั่งเศสไม่มีความต้ังใจอย่างแท้จริงที่จะมอบเอกราชแก่
กัมพูชาก็เดินทางออกจากพนมเปญมุ่งหน้าไปทางตะวันตกแถบชายแดนไทยเพื่อร่วมงานกับเขมร
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63