Page 53 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 53

ประวตั ศิ าสตร์ 2-43
       ความคิดแบบสมยั ใหมน่ น้ั เปน็ ผลพวงของการปกครองของฝรัง่ เศสเอง โดยเฉพาะการศึกษาเร่ือง
พระนครของราชการอาณานิคมฝร่ังเศสท่ีมีผลทาให้พระนคร โดยเฉพาะอย่างย่ิงนครวัด ถูกเปลี่ยนจาก
สถานท่ีศักด์ิสิทธ์ิทางศาสนาและจิตวิญญาณของกัมพูชามาเป็นมรดกอันศักดิ์สิทธิ์ของฝรั่งเศส และนา
ออกสู่สายตาสาธารณชนฝร่ังเศสด้วยการจาลองนครวัดไปจัดแสดงในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติ
รวมถึงการนาวัตถุต่างๆ มาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เพื่อแสดงความย่ิงใหญ่ของฝร่ังเศสในฐานะผู้สืบทอด
มรดกทางอารยธรรมในกัมพูชา และเป็นเหตุผลของการให้อารักขาแก่กัมพูชาซึ่งเป็นประเทศที่กาลังอยู่
ในความเส่ือม ที่สาคัญคือนักวิชาการ-ข้าราชการอาณานิคมน้ันยังมีความเห็นด้วยว่าชนชาติท่ีสร้าง
พระนครอันรุ่งโรจน์นั้นสาบสูญไปแล้ว ซึ่งกัมพูชาอยู่ในความเส่ือมจึงควรอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส
อันเป็นชาติที่มีอารยะ (Edwards, 2007: 18-39) แต่ปัญญาชนเขมรจานวนหน่ึงมีความเห็นว่าชาวเขมร
ในปัจจุบนั สืบเช้ือสายมาจากผู้สร้างพระนคร ดังน้ันกัมพูชาจึงไม่ควรอยู่ใต้การปกครองของฝรง่ั เศส หรือ
อย่างน้อยที่สุดฝรั่งเศสก็ควรเคารพขนบธรรมเนียมอันมีมาอย่างยาวนานของกัมพูชา (ธิบดี บัวคาศรี,
2557)

        ภาพท่ี 2.6 นครวดั จาลองในงานแสดงอาณานคิ ม (Exposition coloniale) ทมี่ าร์กเซย ค.ศ. 1922

 ที่มา: http://angkor.wat.online.fr/dec-george_groslier.htm
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58