Page 58 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 58

7-48 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

       1.1 	ความตรงเชิงเนื้อหา เป็นคุณสมบัติของแบบสัมภาษณ์ที่มีเน้ือหาครอบคลุมครบถ้วนตาม
วัตถุประสงค์ของการวัด ส�ำหรับการวัดด้านทักษะพิสัยมุ่งตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของเนื้อหาที่วัด
กระบวนการปฏิบัติ หรือผลงานท่ีได้จากการปฏิบัติ หรือครอบคลุมท้ังสองส่วนตามท่ีได้มีการวิเคราะห์ไว้
การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหานิยมใช้การตัดสินจากผู้เช่ียวชาญในสาขาที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติ กระบวนการ
ตรวจสอบความตรงเชงิ เนอื้ หามขี น้ั ตอนเชน่ เดยี วกบั การตรวจสอบความตรงเชงิ เนอื้ หาของแบบสงั เกตทก่ี ลา่ ว
ในเร่ืองท่ี 7.2.3

       1.2 	ความตรงเชงิ เกณฑส์ มั พนั ธ์ เปน็ คณุ สมบตั ขิ องแบบสมั ภาษณท์ วี่ ดั ไดส้ อดคลอ้ งกบั วตั ถปุ ระสงค์
และให้ผลสอดคล้องกับการวัด โดยใช้เคร่ืองมืออื่นหรือข้อมูลอื่นท่ีเชื่อถือได้ซ่ึงน�ำมาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ
กระบวนการในการตรวจสอบความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์มีข้ันตอนเช่นเดียวกับที่กล่าวในเร่ืองที่ 7.2.3

       1.3 	ความตรงเชิงโครงสร้าง เป็นคุณสมบัติของแบบสัมภาษณ์ท่ีสามารถแสดงหลักฐานได้ว่าวัด
ทักษะการปฏิบัติของผู้เรียนได้สอดคล้องกับโครงสร้างของความสามารถด้านทักษะพิสัยของผู้เรียนอย่าง
แท้จริง และสามารถจ�ำแนกกลุ่มผู้เรียนท่ีมีทักษะในการปฏิบัติสูงออกจากกลุ่มท่ีมีทักษะในการปฏิบัติตํ่าได้
ถูกตอ้ ง วิธีการท่ีนิยมใชใ้ นการตรวจสอบความตรงเชงิ โครงสร้างอาจใช้การหาค่าสัมประสิทธส์ิ หสมั พันธ์ หรอื
การใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด (known-group method)

       		

2. 	การตรวจสอบความเทย่ี งของแบบสมั ภาษณ์

       การตรวจสอบความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ท่ีใช้วัดด้านทักษะพิสัยเน้นการหาความเท่ียงแบบวัดซ�้ำ 
และความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน

       2.1 	การหาความเที่ยงของแบบสมั ภาษณ์
            2.1.1 การหาความเที่ยงแบบวัดซ้�ำ การตรวจสอบความเท่ียงของการแบบสัมภาษณ์ด้วยการ

วัดซ�้ำในการวัดกระบวนการท�ำงาน ท�ำได้โดยผู้สัมภาษณ์คนเดียวท�ำการสัมภาษณ์นักเรียนกลุ่มเดิมซ�้ำแล้ว
น�ำข้อมูลท่ีได้มาค�ำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ถ้าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์มีค่าสูงแสดงว่า
แบบสัมภาษณ์มีความเที่ยงสูง

            2.1.2 	การหาความเทยี่ งแบบความสอดคลอ้ งภายใน โดยนำ� คะแนนจากการสมั ภาษณม์ าคำ� นวณ
ค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟา (a-coefficient) ถ้าค่าสัมประสิทธ์แอลฟามีค่าสูงแสดงว่าแบบสัมภาษณ์มีความ
เที่ยงสูง

       2.2 	การหาความเทยี่ งระหวา่ งผปู้ ระเมนิ ท�ำได้โดยให้ผู้ประเมินหรือผู้สัมภาษณ์หลายคนสัมภาษณ์
นักเรียนท้ังกลุ่มทีละคนแล้วน�ำข้อมูลมาวิเคราะห์ ดังน้ี

            2.2.1		ในกรณีท่ีมีผู้สัมภาษณ์ 2 คน น�ำข้อมูลมาค�ำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ
เพียร์สัน ถ้าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าสูงแสดงว่าแบบสัมภาษณ์มีความเที่ยงสูง

            2.2.2 	ในกรณที มี่ ผี สู้ มั ภาษณม์ ากกวา่ 2 คน สามารถใชก้ ารวเิ คราะหค์ วามแปรปรวน (ANOVA)
ในการตรวจสอบความสอดคล้องของผลการประเมิน ถ้าผู้สัมภาษณ์มีความเห็นสอดคล้องกันค่าเฉลี่ยของ
คะแนนจากผู้สัมภาษณ์แต่ละคนจะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญ
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63