Page 28 - ไทยศึกษา
P. 28

๑๓-18 ไทยศกึ ษา
       ช่วงระยะเวลาประมาณ ๕๐๐ ปี จากสมัยอยุธยาต่อด้วยสมัยธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เปน็ ยคุ สมยั สงั คมจารตี รากฐานสำ� คญั ดา้ นวฒั นธรรมไทยมาจากศาสนา ซงึ่ ใหค้ ณุ คา่ ทางศลี ธรรมมากกวา่
คุณค่าทางวัตถุ นอกจากน้ีด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ ท�ำให้ผู้คนไม่ต้องดิ้นรน
ขวนขวายมากมายนัก ล�ำพังผลผลิตด้านเกษตรกรรมตามธรรมชาติก็มีเพียงพอต่อการด�ำรงชีวิต ดังนั้น
เพื่อจูงใจให้ราษฎรท�ำการเกษตรเพ่ิมข้ึน รัฐจึงก�ำหนดกฎหมายคุ้มครองสิทธิแก่ผู้บุกเบิกท่ีเพาะปลูกใหม่
ดว้ ย

       อยา่ งไรก็ตาม แมว้ า่ พ้นื ฐานของเศรษฐกิจในสงั คมไทยสมัยจารีตเป็นแบบพอยงั ชีพ แต่ในสังคม
เมืองก็ยังมีความมั่งคั่งจากการค้า ทั้งในสมัยสุโขทัยและอยุธยา โดยเฉพาะกรุงศรีอยุธยานั้นได้ช่ือว่าเป็น
เมืองท่าศูนย์กลางการค้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สินค้าออกที่ส�ำคัญได้แก่ ของป่า ไม้ต่างๆ
สนิ คา้ สง่ ผา่ นนานา (เชน่ สนิ คา้ จากจนี ) สว่ นขา้ วนนั้ เปน็ สนิ คา้ สง่ ออกทส่ี ำ� คญั ชว่ งหนง่ึ ในสมยั อยธุ ยาตอน
ปลาย

       การเป็นเมืองท่าท่ีมีเรือสินค้านานาชาติติดต่อผ่านเข้าออก สังคมไทยจึงมีการสร้างสรรค์ความรู้
ด้วยการผสมผสานทั้งจากภูมิปัญญาดั้งเดิมและการรับเอาวิทยาการจากภายนอก ที่ส�ำคัญได้แก่ จากจีน
อนิ เดีย ตะวนั ออกกลาง และตะวนั ตก ส่งผลให้ในสังคมเมอื งมกี ารใชเ้ ทคโนโลยีทก่ี า้ วหนา้ กว่าเทคโนโลยี
ระดบั พน้ื ฐาน

๓. 	ระดับของเทคโนโลยีในสมัยสังคมจารีตของไทย

       เทคโนโลยใี นสมยั สงั คมจารตี มี ๒ ระดับ คอื เทคโนโลยีพน้ื ฐาน ซึ่งสรา้ งสรรค์ขน้ึ จากภูมิปัญญา
ในชุมชนเพื่อการด�ำรงชีวิตของผู้คนในสังคมทุกระดับช้ัน และเทคโนโลยีก้าวหน้า ซ่ึงพัฒนาต่อยอดจาก
เทคโนโลยีพน้ื ฐานด้วยการประยุกต์ ปรบั แต่ง ตามการเปล่ยี นแปลงของความรใู้ นแต่ละยุคสมยั ผสานกบั
อทิ ธิพลของวทิ ยาการภายนอก โดยได้รบั ผ่านทั้งจากศาสนา ศลิ ปวัฒนธรรม และวิทยาการตา่ ง ๆ

       ๓.๑ 	 เทคโนโลยีระดับพ้ืนฐานเพ่ือแก้ไขปัญหาความต้องการปัจจัยพ้ืนฐานให้เกิดประโยชน์สุข
ในการด�ำรงชีวิต มีอยูห่ ลายอยา่ ง ดังจะสรุปให้เห็นโดยรวมดงั น้ี

       ความรูเ้ กี่ยวกับวธิ กี าร หรอื กระบวนการด�ำรงชวี ิตให้อย่รู อดปลอดภัยมน่ั คง เชน่ การผลติ อาหาร
การแปรรูปอาหาร การถนอมอาหาร การท�ำเคร่ืองมือเครื่องใช้ในครัวเรือน การก่อสร้างที่อยู่อาศัย โดย
คิดค้นวธิ กี ารหรือกระบวนการตา่ งๆ จากการสังเกต การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ รวมทัง้ การปรับตัวให้
เข้ากับสภาพแวดล้อม เช่น ความอุดมสมบูรณ์ในแม่น�้ำล�ำคลองช่วงหน้าน�้ำท�ำให้ปลามีชุกชุม จับได้มาก
เกินกว่าจะบริโภคปลาสดได้หมด ขณะท่ีหน้าแล้งมีปัญหาเรื่องแหล่งอาหาร ล�ำน้�ำล�ำคลองแห้งเหือดลง
ความคดิ ในการเกบ็ สะสมอาหารดว้ ยการหมกั ปลาจงึ มีข้นึ การทำ� ปลาร้าจึงมอี ยู่ทว่ั ทกุ ภูมิภาคของไทย

       นอกจากน้ีในสภาพพ้ืนท่ีแถบที่มีน�้ำท่วมในฤดูน้�ำ มีการสร้างบ้านเรือนบนเสาสูง ใต้ถุนบ้านใช้
ประกอบกิจกรรมประจ�ำวัน หรือเป็นที่เก็บอุปกรณ์เคร่ืองใช้ ในพ้ืนท่ีแถบแม่น�้ำใหญ่ คนไทยก็สามารถ
ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมด้วยการสร้างเรือนแพ ใช้ประโยชน์จากแหล่งน�้ำ เต็มที่ทั้งการคมนาคม
การเปน็ แหล่งอาหาร และยงั สามารถรับมือกับระดับน�้ำได้อย่างชาญฉลาดดว้ ย
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33