Page 63 - ไทยศึกษา
P. 63
วรรณกรรมไทย ๙-53
๒. นวนิยาย
นวนิยายมีพัฒนาการมาในเวลาใกล้กับเรื่องส้ัน เดิมเริ่มด้วยการแปล ผู้แปลสําคัญท่านหนึ่งคือ
พระยาสรุ นิ ทรราชา (นกยงู วเิ ศษกุล) ใช้นามปากกาว่า แม่วัน แปลและเรียบเรยี งเรือ่ ง Vendetta ของ
นักประพันธ์ชาวอังกฤษ แมร่ี คอเรลลิ ต้ังช่ือภาษาไทยว่า ความพยาบาท นวนิยายเร่ืองน้ีเป็นที่รู้จักกัน
อย่างแพร่หลายในหมนู่ กั อ่าน ต่อมากม็ กี ารแปลเรือ่ งอนื่ ๆ อกี มาก
นักประพันธ์เรื่องส้ันซ่ึงเป็นที่รู้จักในยุคแรกท่ีได้กล่าวมาแล้วน้ัน เขียนนวนิยายด้วย เช่น
หม่อมเจา้ อากาศดาํ เกิง รพพี ัฒน์ เขยี นละครแหง่ ชวี ติ ศรีบูรพา เขยี นสงครามชีวิต ข้างหลงั ภาพ จนกวา่
เราจะพบกันอีก แลไปข้างหน้า ดอกไม้สด ได้ช่ือว่าเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องชีวิตครอบครัวคนชั้นสูงได้อย่าง
ละเอียดถถี่ ว้ น พรอ้ มท้งั แทรกข้อคิดและธรรมะในการดําเนินชีวิตของคนทกุ ระดับไวใ้ นนวนิยายดว้ ย เร่ือง
ทร่ี ู้จกั กนั ดี เช่น ผ้ดู ี สามชาย
นกั ประพนั ธท์ ยี่ งั มผี ลงานดา้ นนวนยิ ายมากอกี ผหู้ นง่ึ คอื มาลยั ชพู นิ จิ ใชน้ ามปากกา แมอ่ นงค์ ที่
เด่นมากคือ แผ่นดนิ ของเรา เป็นเร่อื งทแ่ี สดงใหเ้ หน็ ถึงความซับซ้อนของอารมณแ์ ละความรู้สกึ ของมนษุ ย์
ไดด้ ยี ง่ิ เรอื่ งทงุ่ มหาราช ใหภ้ าพของการประกอบอาชพี การกอ่ รา่ งสรา้ งตวั ของคนทไี่ มย่ อมแพต้ อ่ อปุ สรรค
ใดๆ มาลยั ชพู ินิจ เขยี นท้ังเร่ืองสนั้ และนวนิยายไว้เป็นอนั มาก
ภาพที่ ๙.๑๔ นวนิยายเร่อื งขา้ งหลงั ภาพ ของศรบี ูรพา
นักเขียนที่ใช้ภาษาได้ละเมียดละไมไพเราะอ่อนหวานในการเขียนเรื่องรัก คือ ยาขอบ ซ่ึงเขียน
นวนิยายไวห้ ลายเร่ือง เชน่ เมยี นอ้ ย รักและรา้ ง ผลงานทีม่ ีชอ่ื เสียงมากของยาขอบคือ ผู้ชนะสบิ ทิศ ซ่ึง
ยาขอบ บอกไว้ว่านําเน้ือหาจากพงศาวดารเพียง ๔ บรรทัดมาสร้างเร่ืองข้ึนใหม่ วรรณกรรมท่ีมีชื่อมาก
ของยาขอบอีก ชุดหนึ่งคือ สามก๊กฉบับวณิพก ใช้วิธีเขียนเล่าเรื่องตัวละครสําคัญในเรื่องสามก๊กทีละตัว