Page 61 - ไทยศึกษา
P. 61

วรรณกรรมไทย ๙-51
เป็นเร่ือง แสดงให้เห็นความเดือดร้อนของประชาชนจากนโยบายให้ข้าราชการออกจากงาน ซึ่งเรียกว่า
“ดลุ ยขา้ ราชการ” ของรฐั บาล เพอ่ื ประหยดั รายจา่ ยของรฐั ในภาวะทเี่ ศรษฐกจิ ตกตำ่� ทวั่ โลก เรอื่ งสนั้ ในยคุ นี้
ตัวละครมีความสมจริง และมีเหตุผลทางจิตวิทยามากขึ้น นักเขียนเร่ืองส้ันที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น
สง่ เทพาสิต ดอกไมส้ ด ศรบี รู พา มาลัย ชูพนิ ิจ นกั เขียนเหล่านีเ้ ขียนต่อมาในชว่ งหลงั การเปลย่ี นแปลง
การปกครองดว้ ย

       นกั เขียนเรื่องสัน้ ท่ีมชี ่อื เสยี งอีกคนหนงึ่ คือ มนสั จรรยงค์ เป็นผทู้ ี่เขียนเรอื่ งสั้นไดห้ ลายแนว เชน่
เรื่องสัน้ ชุด เฒา่ ของเขาใช้ตวั ละครและเรอื่ งราวของชาวชนบท ท่ีขีเ้ กยี จ ขเี้ มา เจ้าเล่ห์ แต่ไม่น่ารงั เกยี จ
เพราะผู้ประพันธ์ผูกเร่ืองอย่างแยบยล มีอารมณ์ขัน เป็นเร่ืองสั้นท่ีประพันธ์เป็นชุด เรื่องท่ีได้รับการแปล
เปน็ ภาษาองั กฤษคือ จับตาย เรือ่ งสั้นของ มนสั จรรยงค์ แสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความจดั เจนและความเข้าใจชวี ติ
นักเขยี นผูน้ ้เี ขียนเรื่องสัน้ เปน็ อาชีพ เขาแต่งไวป้ ระมาณถงึ ๑,๐๐๐ เรื่อง

       เรอ่ื งสน้ั ซงึ่ ไดร้ บั การกลา่ วถงึ มากของนกั ประพนั ธค์ สู่ ามภี รรยาไดแ้ ก่ จาํ ปนู ของเทพ มหาเปารยะ
และพลายมลิวัลย์ ของ ถนอม มหาปารยะ ท้งั สองเรื่องเปน็ เร่ืองสั้นท่นี กั วิจารณก์ ล่าวถงึ เสมอ

       หลังสงครามโลกคร้ังที่ ๒ มกี ิจกรรมสง่ เสรมิ เร่ืองสั้นคือการจดั การประกวดเรือ่ งส้ันโบว์สฟี า้ การ
ประกวดทาํ กนั อยา่ งจรงิ จงั ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ตดั สนิ ให้ ตกึ กรอส ของ อ.อดุ ากร ไดร้ างวลั ชนะเลศิ กจิ กรรม
สง่ เสรมิ ดังกลา่ วสง่ ผลใหม้ คี นเขียนเรื่องสั้นมากขน้ึ

       ลักษณะของเรื่องสั้นที่ได้รับการยกย่องในสมัยต่อมาก็คือ เรื่องสั้นที่มีแนวคิดส่งเสริมคนยากไร้
ผู้ด้อยโอกาส หรือเรือ่ งทเ่ี ปดิ เผยความอยตุ ิธรรมแกผ่ ู้ดอ้ ยโอกาส นกั เขยี นเหล่านม้ี หี ลายคน ดงั น้ี

       ศรีบูรพา เปน็ นามปากกาของ กุหลาบ สายประดษิ ฐ์ มงี านประพนั ธห์ ลายประเภท มีเร่ืองสัน้ ท่ี
เด่นมากคือ คนพวกน้ัน ช้ีให้เห็นความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจน ขอแรงหน่อยเถอะ เป็นเรื่องท่ี
คนรวยเอาเปรยี บคนจน แตถ่ งึ จะถูกเอาเปรยี บอย่างไร ผปู้ ระพันธ์กย็ งั ชีใ้ หเ้ หน็ ว่าคนจนน้ันมคี ุณธรรมสูง
กวา่ คนรำ่� รวยทไ่ี รม้ นษุ ยธรรมในจติ ใจ ในปเี ดยี วกนั นนั้ ศรบี รู พาเขยี น คาํ ขานรบั เปน็ เรอื่ งทศ่ี รบี รู พาแสดง
แนวคิดสําคัญว่า การศกึ ษาตอ้ งไมเ่ ปน็ ไปเพ่ือประโยชน์สว่ นตัวเท่าน้นั แต่ตอ้ งทาํ ใหเ้ กดิ ประโยชนแ์ กค่ นที่
ดอ้ ยโอกาสดว้ ย โดยแสดงความคดิ ผา่ นบทสนทนาของนกั ศกึ ษาหนมุ่ สาวทเ่ี ปน็ ครู่ กั กนั

       ลาว คําหอม นามปากกาของ คาํ สงิ ห์ ศรนี อก เปน็ นกั เขยี นเรอ่ื งสนั้ ทเี่ ขยี นใหเ้ หน็ ถงึ ชวี ติ ของกลมุ่
คนทขี่ าดแคลนยากไร้ โดยเฉพาะคนอีสาน เป็นเรื่องสน้ั ทสี่ ะท้อนใหเ้ หน็ ชีวติ ของคนทีข่ าดแคลนและความ
ไม่ใส่ใจในการทําหน้าที่ของเจ้าหน้าท่ีรัฐ เป็นเหตุให้ชาวบ้านไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง เรื่องส้ัน
ของเขารวบรวมพมิ พเ์ ปน็ เลม่ ใหช้ อื่ วา่ ฟา้ บก่ นั้ มเี รอื่ งสน้ั ทนี่ า่ สนใจหลายเรอื่ งเชน่ เขยี ดขาคาํ คนหมู ชาวนา
กบั นายห้าง ฯลฯ

       นักเขียนเร่ืองสั้นท่ีใช้ภาษานําเสนอความคิดได้อย่างดีอีกคนหน่ึงคือ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ผู้นํา
ประสบการณ์จากการทํางานในเหมืองแร่มาเขียนเป็นเร่ืองสั้นเป็นจํานวนมากเร่ืองของเขาล้วนมีข้อคิดมี
ความหมาย

       เหตกุ ารณบ์ ้านเมอื งมีผลต่อวรรณกรรมเสมอ ดังเชน่ ในพ.ศ. ๒๕๐๐ และ พ.ศ. ๒๕๐๑ จอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทาํ ปฏิวตั ิติดตอ่ กนั ถึง ๒ ครง้ั ประกาศคณะปฏวิ ัตฉิ บบั ท่ี ๑๗ มสี ว่ นในการ “ปราม”
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66