Page 56 - ไทยศึกษา
P. 56

๙-46 ไทยศกึ ษา
       ใน พ.ศ. ๒๔๐๐ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงสง่ ราชทตู ไปประเทศองั กฤษ ในรชั สมยั

ของสมเด็จพระราชนิ ีวคิ ตอเรยี หมอ่ มราโชทัยได้ไปกับคณะทตู ในฐานะล่าม และได้แต่งจดหมายเหตเุ รอื่ ง
ราชทูต ไปอังกฤษ ต่อมาจึงได้แต่งเป็นกลอนให้ช่ือว่า นิราศลอนดอน ซ่ึงเป็นนิราศท่ีเล่าเร่ืองต่างๆ ใน
ยุโรป เป็นประสบการณ์แปลกใหม่หลายเรื่อง นอกจากบรรยายถึงการเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีแล้ว ยังมี
เร่ืองท่ีผปู้ ระพนั ธไ์ ด้พบเหน็ เชน่ เรอื่ งรถไฟ ไฟฟ้า สวนสาธารณะไฮปาร์ค การแพทย์สมัยใหม่ เปน็ ต้น
ล้วนเป็นเร่ืองท่ีคนไทยไม่เคยรู้มาก่อน จึงได้รับความนิยมมาก เร่ืองนี้กล่าวถึงนางอันเป็นที่รักน้อยมาก
กวมี ุ่งเน้นประสบการณแ์ ปลกใหมเ่ ปน็ สาํ คัญ

       นริ าศในรนุ่ หลงั ๆ สว่ นใหญจ่ ะเลา่ ประสบการณข์ องผเู้ ขยี นเปน็ ทาํ นองสารคดที อ่ งเทย่ี ว คงลกั ษณะ
นิราศตามธรรมเนียมนิยมไว้เล็กน้อยเท่าน้ันดังเช่น นิราศรอบโลก ของแสงทอง นิราศหลายเร่ือง ของ
ม.ล.ปิ่น มาลากุล ซึ่งท่านกล่าวไว้ในอัตชีวประวัติว่าได้เขียน “บทประพันธ์เกี่ยวกับการท่องเท่ียวท่ีขอใช้
คาํ นิราศ คือ นิราศร่อนรอนแรมไปรอบโลก นริ าศเป่ยจงิ นิราศเลี้ยวเที่ยวท่องกับนอ้ งแก้ว ฯลฯ”

       เน่ืองจากนิราศเป็นบทประพันธ์ท่ีเกี่ยวด้วยประสบการณ์ของกวีท่ีได้ผ่านพบสถานท่ี ผู้คน
เหตกุ ารณ์ อันหลากหลาย นริ าศจึงเปน็ บันทึกสาํ คัญทม่ี ีแงม่ ุมใหศ้ กึ ษาได้ตามความสนใจของผ้อู ่าน

๓. 	ประโยชน์ในการศึกษาวรรณกรรมประเภทนิราศ

       วรรณคดปี ระเภทนริ าศมปี ระโยชน์ในดา้ นตา่ งๆ ดงั นี้
       ๓.๑ 	 การศึกษานิราศในเชิงวรรณศิลป์ นิราศส่วนใหญ่มีสํานวนโวหารที่ไพเราะจับใจ กวีใช้
ภาพพจนห์ ลายอยา่ งหลายประการ มวี ธิ กี ารพรรณนาใหผ้ อู้ า่ นรสู้ กึ เหน็ ตามไปดว้ ย ดงั เชน่ กาํ สรวลโคลงดนั้
โคลงทวาทศมาส นริ าศนรนิ ทร์ นิราศพระบาท
       ๓.๒ 	การศึกษาโลกทัศน์ของกวี เน่ืองจากนิราศเป็นวรรณกรรมที่กวีบันทึกสิ่งที่พบเห็นรวมถึง
การแสดงตา่ งๆ ไว้ ทําใหน้ ิราศเปน็ วรรณกรรมทีเ่ ราสามารถศกึ ษาโลกทัศน์ของกวีได้
       ๓.๓ 	การศึกษาสภาพสังคมความเป็นอยู่ ชีวิต และเศรษฐกิจไทยในสมัยก่อน อาจศกึ ษาไดจ้ าก
นิราศ เช่น นิราศต่างๆ ของสุนทรภู่และนิราศของผู้ประพันธ์อื่นๆ ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ บันทึกภาพ
ความเป็นอยู่ การทํามาหากินของชาวบ้านทั่วๆ ไป รวมถึงภาพคนต่างชาติคนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ใน
ประเทศไทย
       ๓.๔ 	การศึกษาวรรณกรรมนิราศโดยอาศัยแนวคิดวิทยาการด้านอื่น เช่น เร่ืองนิเวศวิทยาของ
ปา่ ชายเลนอาจศกึ ษาไดจ้ ากวรรณกรรมนริ าศหลายเรอื่ งในสมยั ตน้ รตั นโกสนิ ทร์ โดยเฉพาะงานของสนุ ทรภู่
เน่ืองจากการเดินทางในนิราศส่วนใหญ่เดินทางไปทางน�้ำต้องผ่านบริเวณป่าชายเลนหลายแห่ง ท้ังท่ี
เสอื่ มโทรมไปแลว้ ทก่ี าํ ลงั จะเสอ่ื ม และบรเิ วณทย่ี งั ดอี ยู่ เราสามารถศกึ ษาวเิ คราะหไ์ ดจ้ ากคาํ ประพนั ธท์ กี่ วี
บนั ทกึ ไวด้ ว้ ยการสงั เกตทแ่ี หลมคม เปน็ ความรทู้ ที่ าํ ใหเ้ ขา้ ใจถงึ การเปลยี่ นแปลงของนเิ วศวทิ ยาปา่ ชายเลน
ได้ทางหน่ึง
       ๓.๕ 	การศึกษาด้านมานุษยวิทยา ดังเช่นนักมานุษยวิทยาช่ือ Dr.B J.Terwiel ได้วิเคราะห์
วรรณกรรมเกยี่ วกบั ชนกลมุ่ นอ้ ยในประเทศไทยทก่ี วไี ดพ้ บเหน็ และบันทึกไวใ้ นนิราศหลายเรื่อง
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61