Page 20 - ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทย
P. 20
12-10 ประวัติศาสตร์การเมอื งและเศรษฐกจิ ไทย
พลเอกชวลติ ยงใจยทุ ธ ในฐานะนายกรฐั มนตรอี อกมาแถลงและใหส้ มั ภาษณอ์ ยา่ งละเอยี ด พรอ้ มกบั
ตอกยำ�้ ความจำ� เปน็ ทจี่ ะตอ้ งเรง่ แกป้ ญั หาเศรษฐกจิ ดว้ ยการควบคมุ การใชจ้ า่ ยทง้ั ในสว่ นการลงทนุ ของภาครฐั
และการใชจ้ า่ ยทท่ี ำ� ใหป้ ระเทศไทยตอ้ งสญู เสยี เงนิ ตราตา่ งประเทศเปน็ จำ� นวนมากๆ สง่ ผลใหด้ ลุ บญั ชเี ดนิ สะพดั
มปี ญั หามากขนึ้
ในขณะทเี่ ศรษฐกิจไทยถดถอยลงในชว่ งก่อนการประกาศลดคา่ เงินบาท พลเอกชวลิต ยงใจยทุ ธ
และทมี เศรษฐกจิ เชน่ นายอำ� นวย วรี วรรณ ไดพ้ ยายามกระตนุ้ และสนบั สนนุ การสง่ ออกของภาคธรุ กจิ ไทย
โดยในวนั ท่ี 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ไดม้ กี ารจดั ประชมุ “สดุ ยอดผนู้ ำ� การสง่ ออก” ระหวา่ งรฐั บาลกบั ภาค
เอกชน (Export Summit) เพอ่ื ทจี่ ะรว่ มประชมุ ในการหาทางออกแกไ้ ขอปุ สรรคตา่ งๆ ของการสง่ ออกไทย
ผนู้ ำ� ภาครฐั บาลทเ่ี ขา้ ประชมุ ไดแ้ ก่ พลเอกชวลติ ยงใจยทุ ธ นายกรฐั มนตรี นายอำ� นวย วรี วรรณ รองนายก-
รัฐมนตรี ส่วนผู้น�ำภาคเอกชน เช่น องค์การทางภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและ
หอการคา้ ไทย
อย่างไรก็ตามด้วยวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยถึงขั้นภาวะวิกฤตทางการเงินเกิดข้ึนเต็มรูปแบบแล้ว
ก่อให้เกิดปัญหาหน้ีที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ด้วยเหตุน้ันท�ำให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ แสดง
ความรับผิดชอบโดยการลาออกจากต�ำแหนง่ นายกรัฐมนตรี โดยชาน สที อง ให้ความเห็นใน “เศรษฐกจิ
ฟองสบูแ่ ตก” ว่า
“ในบรรดารัฐบาลท่มี าจากการเลือกต้ังในช่วง 10 ปี ท่ผี ่านมา ดูเหมอื นรฐั บาลทมี่ ี พลเอกชวลติ
ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี จะเป็นรัฐบาลท่ีโชคร้ายกว่าใครอื่นเขา ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพลเอกชาติชาย
ชุณหะวนั รฐั บาลนายชวน หลีกภยั (ชดุ ท่ี 1) รฐั บาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ทวี่ า่ รฐั บาลชวลติ โชครา้ ยนัน้
ก็เพราะว่า มีเหตุการณ์ล่มสลายทางเศรษฐกิจเกิดข้ึนในรัฐบาลชุดนี้ หรือที่พูดกันติดปากว่า “เศรษฐกิจ
ฟองสบู่แตก” ท�ำให้ผู้คนต่างโยนบาปลงไปท่ีคณะผู้บริหารของรัฐบาลว่า ท�ำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ
ชะงักงันขน้ึ ”9
การแกไ้ ขวกิ ฤตทางเศรษฐกจิ ทรี่ ฐั บาลพลเอกชวลติ ยงใจยทุ ธเลอื กใชเ้ มอื่ ไมส่ ามารถพยงุ คา่ เงนิ บาท
ไว้ได้ คือการปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัว การกระท�ำดังกล่าวแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก แต่ใน
ท้ายท่ีสุดได้น�ำผลดีกลับสู่ระบบเศรษฐกิจไทย แต่กระน้ัน ส่ิงท่ีไม่ได้มีการถูกกล่าวถึง ก็คือ ข้อดีจาก
การลอยตัวค่าเงินบาทจากการตัดสินใจของทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลของพลเอกชวลิต ผลจากการลอยตัว
คา่ เงนิ บาททำ� ใหป้ ระเทศไทยไดร้ บั ดลุ การคา้ เปน็ ครงั้ แรกในรอบหลายสบิ ปแี ละเปน็ การไดด้ ลุ การคา้ ในระดบั
สูงสุดคอื 1,000 ล้านเหรยี ญสหรฐั ต่อเดอื น ทำ� ให้ประเทศไทยมเี งนิ ทุนส�ำรองมากพอที่จะชำ� ระหนี้กองทุน
การเงินระหว่างประเทศในภายหลงั
สุดทา้ ยรฐั บาลของนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลติ ยงใจยุทธ ได้ตดั สินใจวา่ จะประกาศใหเ้ ปล่ยี นไป
ใชว้ ธิ กี ารกำ� หนดคา่ เงนิ บาทเปน็ ระบบลอยตวั แบบจดั การ (Managed Float) แทนระบบตะกรา้ เงนิ ทใ่ี ชม้ า
ถึง 12 ปีเศษ ในวันท่ี 2 กรกฎาคม 2540 ซ่ึงถือเป็นจุดเร่ิมต้นของวิกฤตการณ์ทางการเงินท่ีเร่ิมจาก
ประเทศไทยก่อนจะลุกลามไปท่วั เอเชียในเวลาตอ่ มาและกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกจิ โลกไปในที่สุด
9 กองบรรณาธิการสำ� นกั พิมพ์เส้นทาง, ภารกจิ แหง่ ชวี ิต ลกู ผู้ชายชอื่ จวิ๋ , (กรุงเทพฯ: เส้นทาง, 2540), 7-12.