Page 28 - ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทย
P. 28
12-18 ประวัตศิ าสตร์การเมอื งและเศรษฐกิจไทย
ประเทศไดอ้ อกแถลงการณผ์ า่ นโทรทศั นก์ ารขอกแู้ ละขอโทษประชาชน ในขณะทปี่ ญั หาเศรษฐกจิ ของไทย
ทเ่ี หน็ ไดช้ ดั วา่ พรอ้ มเขา้ โปรแกรมฟน้ื ฟเู ศรษฐกจิ ไอเอม็ เอฟใหพ้ น้ วกิ ฤต คอื การประกาศปดิ 42 สถาบนั การเงนิ
เมอ่ื วนั ที่ 5 สงิ หาคม 2540 แตป่ ญั หาไมไ่ ดจ้ บแคน่ นั้ เพราะคาดกนั วา่ วงเงนิ ทจ่ี ะตอ้ งใชใ้ นการกวู้ กิ ฤตสงู มาก
เปน็ ประวตั กิ ารณป์ ระมาณ 10,000 ลา้ นดอลลาร์ ประเทศญป่ี นุ่ ทย่ี นิ ดใี หก้ รู้ ว่ มกบั ไอเอม็ เอฟในรายละเทา่ กนั
ท่ี 4,000 ลา้ นดอลลารจ์ งึ ตอ้ งหาผใู้ หก้ รู้ ว่ มรายอน่ื อกี ทางญป่ี นุ่ จงึ ไดจ้ ดั ประชมุ ประเทศพนั ธมติ รของไอเอม็ เอฟ
ขึ้นที่โตเกียวในวันที่ 11 สิงหาคม และสุดท้ายก็ได้ผู้ให้กู้ร่วมเพิ่มมาอีกรวม 11 รายจ�ำนวนเงินกู้ทั้งหมด
17,200 ล้านดอลลาร์ และต่อมาก็ได้ตกลงกันในเอกสารชื่อเป็นทางการว่า “หนังสือแจ้งความจ�ำนงขอรับ
ความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ วันที่ 14 สิงหาคม 2540”
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดง
ความจ�ำนงฯ ซง่ึ มาพรอ้ มกับข้อก�ำหนดของไอเอ็มเอฟในการจ�ำกดั อ�ำนาจในการบรหิ ารเศรษฐกจิ มหภาค
ของไทย จนมีการกลา่ วขวญั วา่ ไทยสญู เสยี อิสรภาพในการกำ� หนดนโยบายทางเศรษฐกิจของตัวเองไป17
มมุ มองจากหลกั ฐานผลงานของรฐั บาลพลเอกชวลติ ยงใจยทุ ธไดอ้ ธบิ ายถงึ การรบั ความชว่ ยเหลอื
จากไอเอม็ เอฟกเ็ พอื่ ตอ้ งการแกไ้ ขปญั หาเศรษฐกจิ ทสี่ ำ� คญั 2 ประการคอื การปรบั โครงสรา้ งสถาบนั การเงนิ
และการลดการขาดดลุ บญั ชเี ดนิ สะพดั ซงึ่ มเี ปา้ หมายเพอื่ ใหเ้ ศรษฐกจิ ฟน้ื ตวั อยา่ งมนั่ คงและรวดเรว็ รวมทง้ั
การฟน้ื ฟคู วามเช่อื ม่ันให้คนื กลบั โดยเรว็ มาตรการทต่ี อ้ งก�ำหนดขึ้นมาภายใต้ความตกลงน้ี ท่สี �ำคัญได้แก่
มาตรการฟน้ื ฟดู า้ นการเงนิ การสรา้ งวนิ ยั ทางการคลงั โดยการจดั หารายได้ และควบคมุ รายจา่ ยของรฐั บาล
และรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ ซ่ึง
หมายรวมถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในสาขาพลังงาน การขนส่งและโทรคมนาคม เพื่อให้สอดคล้องกับ
นโยบายการแข่งขันในระยะปานกลางและระยะยาว ดูแลประสิทธิภาพและสวัสดิการของแรงงานโดยวาง
เป้าหมายทางด้านการเงินการคลัง การกู้ยืมและการค�้ำประกันเงินกู้ต่างประเทศและก�ำหนดระยะเวลา
ในการติดตามประเมนิ ผลมาตรการตา่ งๆ อยา่ งชดั เจน18
เป้าหมายหลักของการขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการจากกองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ คือ เพอื่ ฟนื้ ฟเู ศรษฐกิจไทยใหก้ ลับคนื มาโดยเรว็ ทสี่ ดุ ปฏริ ูประบบเศรษฐกจิ และการเงนิ ของไทย
ขอรับความช่วยเหลือแต่จะต้องปฏิรูประบบสถาบันการเงิน การเข้าควบคุมสถาบันการเงินที่อ่อนแอ ให้
กองทนุ ฟน้ื ฟแู ละพฒั นาระบบสถาบนั การเงนิ รบั ประกนั ผฝู้ ากเงนิ และเจา้ หนใ้ี นสถาบนั การเงนิ ทด่ี ี รวมทง้ั
การใชม้ าตรการภาษอี ากร เชน่ การปรบั ภาษมี ลู คา่ เพม่ิ จากรอ้ ยละ 7 เปน็ รอ้ ยละ 10 การกำ� หนดงบประมาณ
เกนิ ดลุ ในปงี บประมาณ 2541 ไมเ่ กินร้อยละ 1 ของจีดพี ี ส่งผลให้รัฐบาลตกอยูใ่ นกระแสวิกฤตศรัทธา และ
ขณะน้ันฐานะทางการเงินการคลงั เกิดวิกฤตอยา่ งรนุ แรง19
17 จติ ตศิ ักด์ิ นันทพานชิ และสมลักษณ์ ศรมี าล.ี จุดตายเศรษฐกิจ, (กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาสน์ , 2542), 29-34.
18 สำ� นกั โฆษก, สำ� นกั เลขาธกิ ารคณะรฐั มนตร.ี ผลงานรฐั บาลพลเอกชวลติ ยงใจยทุ ธ นายกรฐั มนตร,ี (กรงุ เทพฯ: บรษิ ทั
เซเวน่ พร้นิ ตงิ้ กรุป๊ จำ� กดั , 2540), v.
19 พษิ ณุ สมุ่ ประดษิ ฐ,์ พล.อ.ชวลติ ยงใจยทุ ธ. ฐานขอ้ มลู การเมอื งสถาบนั พระปกเกลา้ , สบื คน้ เมอ่ื วนั ที่ 12 ธนั วาคม 2561.
http://wiki.kpi.ac.th/