Page 17 - วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว
P. 17

ภมู ิทศั นว์ ฒั นธรรมกบั การทอ่ งเท่ียว 14-7

เร่ืองที่ 14.1.1
ความหมายและความส�ำคัญของภูมิทัศน์

       ภูมิ [พูม, พูมิ-, พูมมิ-] น. แผ่นดิน, ที่ดิน ทัศน์ [ทัดสะนะ-, ทัด, ทัดสะ-] น. ความเห็น
การเหน็ เคร่อื งรู้เหน็ ส่ิงทเี่ ห็น การแสดง และทรรศนะ (ราชบัณฑติ ยสถาน, 2554) เมือ่ นำ� มาประสมกนั
ค�ำว่า “ภูมิทัศน์” จึงหมายถึง พื้นที่ซึ่งมนุษย์มองเห็น ในท่ีนี้หมายรวมถึงสิ่งที่รู้สึกได้ด้วย เม่ือกลับมา
พิจารณาค�ำว่า ภมู ิทัศน์ คำ� นใี้ นภาษาองั กฤษใช้คำ� ว่า “Landscape” ทใี่ ชก้ นั อยู่ทุกวนั นเี้ ป็นคำ� ทนี่ �ำมาใช้
แทนคำ� ในพระคัมภรี ์เก่า (Old Testament) ของศาสนายวิ คริสต์ และอสิ ลาม คำ� ว่า noff ในภาษาฮบิ รู
น้ันมีความเกี่ยวข้องกับความเข้าใจเรื่องภูมิทัศน์ ซ่ึงให้ความส�ำคัญกับการมองเห็น (Czepczyń ski,
Mariusz, 2008, p. 9) ไดม้ ีหลักฐานวา่ มีการบันทึกค�ำนไ้ี วใ้ น ค.ศ. 1598 เป็นคำ� ทยี่ มื มาจากแวดวงของ
จิตรกรจากดชั ต์ (หรือท่ีปจั จุบนั รจู้ ักกันในนามประเทศเนเธอแลนด)์ ทมี่ าจากคำ� ดั้งเดมิ คอื คำ� ว่า Land-
schap ซ่ึงมีรากฐานมาจากในตระกูลภาษาเยอรมัน (Anglo-German Language) (Czepczyń ski,
Mariusz, 2008, p. 9; Taylor, Ken, 2008, p. 1) ที่แปลความหมายไดต้ รงกบั คำ� วา่ Region ในภาษา
ไทย หมายถงึ แดนดนิ ภมู ภิ าค ภาคพนื้ บรเิ วณ เปน็ ตน้ (Akagawa, Natsuko and Sirisrisak, Tiam-
soon, 2008, p. 178) หากจะอธิบายให้ชัดเจนกวา่ น้ัน ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นท่ปี า่ ท่ีมีสตั ว์ กระทอ่ ม ทุ่ง
หญ้า รั้ว ท่ีเรียกว่า ภูมิทัศน์เกษตรกรรม ดังกล่าวน้ีแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพ-
แวดลอ้ ม ดว้ ยเหตนุ เี้ อง คำ� วา่ ภมู ทิ ศั น์ จงึ มคี วามหมายทค่ี รอบคลมุ ไปถงึ สงิ่ ทเี่ กดิ จากการกระทำ� ของมนษุ ย์
ร่องรอยที่มีความเช่ือมโยงกับกระบวนการในทางวัฒนธรรมและมีความสัมพันธ์กับเรื่องของการมองเห็น
(a way of seeing) (Taylor, Ken, 2008, p. 1) นอกจากนี้แลว้ คำ� นยี้ งั มคี วามหมายออกไปในแงข่ อง
ความรู้สึกเกยี่ วกบั ความงาม ในแง่ทีว่ า่ เป็นสิ่งท่เี กิดตามมาจากทิวทศั น์ตา่ งๆ ที่ปรากฏดว้ ย (Akagawa,
Natsuko and Sirisrisak, Tiamsoon, 2008, p. 178)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22