Page 15 - การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
P. 15

การวิจยั เชิงคุณภาพและการวิจยั เชิงทดลองทางสารสนเทศศาสตร์ 8-5

เรื่องที่ 8.1.1
แนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพทางสารสนเทศศาสตร์

       การวิจัยเชงิ คุณภาพเป็นวธิ ีวทิ ยาการวิจัยประเภทหนึ่งทม่ี ขี อบเขตกว้าง มีวธิ ีการด�ำเนนิ การวจิ ยั
หลายแบบเพอ่ื ศกึ ษาปรากฏการณท์ างสงั คมทแ่ี ยกสว่ นยอ่ ยๆ ตามธรรมชาติ สามารถใชเ้ ปน็ ทางเลอื กหนง่ึ
เพอ่ื ศกึ ษาปญั หาวจิ ยั ทางสารสนเทศศาสตรไ์ ด้ จงึ ตอ้ งทำ� ความเขา้ ใจกบั ความหมาย ลกั ษณะ และความสำ� คญั
ของการวิจัยเชิงคณุ ภาพ ดังน้ี

1. 	ความหมายของการวิจัยเชิงคุณภาพทางสารสนเทศศาสตร์

       การวิจัยเชงิ คุณภาพในภาพรวมสามารถอธบิ ายได้หลายมมุ มอง และสรปุ ได้ดังนี้
       1.1 	การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยภาคสนาม (field research) เน้นการศึกษาและอธิบาย
ปรากฏการณ์ทางสังคม (social phenomenon) ตามสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ยึดหลักเหตุและผล
ของการเกิดและพัฒนาของสถานการณ์อย่างเป็นระบบในแหล่งที่เกิดปรากฏการณ์น้ัน ด้วยวิธีการและ
ทฤษฎีทห่ี ลากหลาย (Flick, 2009, pp. 7-10) ชว่ ยใหค้ น้ พบข้อเท็จจริงใหม่ๆ และนำ� มาสรา้ งสมมตฐิ าน
เพอื่ น�ำไปทดสอบและสรปุ ยนื ยนั องคค์ วามรทู้ ีค่ ้นพบต่อได้ (Guba & Lincoln, 1981, p. 4) เม่ือนำ� มาใช้
ศกึ ษาปญั หาทางสารสนเทศศาสตร์ จงึ สรปุ ไดว้ า่ การวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพเปน็ กระบวนการอธบิ ายปรากฏการณ์
ทางสารสนเทศศาสตรแ์ ละความสมั พนั ธข์ องปรากฏการณด์ งั กลา่ วกบั สภาพแวดลอ้ ม ใชว้ ธิ กี ารหลากหลาย
และยืดหยุ่นด้วยการประยุกต์แนวทฤษฎีจากศาสตร์ต่างๆ มาอธิบายปรากฏการณ์ทางสารสนเทศศาสตร์
โดยอาศัยมิติทางสังคมและวัฒนธรรม เพ่ือให้ได้ข้อความรู้ใหม่ที่อธิบายเหตุและผลการเกิดปรากฏการณ์
และอาจแปรเปลี่ยนลกั ษณะไปตามปรบิ ทของผู้วจิ ยั และศาสตรท์ ี่ผู้วิจยั เชย่ี วชาญ
       1.2 	การวิจัยเชิงคุณภาพเป็น “การวิจัยเชิงคุณลักษณะ” เนอ่ื งจากมงุ่ ศกึ ษา “คณุ ลกั ษณะ” ของ
สิ่งต่างๆ ท่ีประกอบกันเป็นปรากฏการณ์ พิจารณาจากสภาพแวดล้อมตามสภาพท่ีเป็นจริงตามครรลอง
ของธรรมชาติ มองภาพรวมในทกุ มติ จิ ากขอ้ มลู ตามการรบั รขู้ องมนษุ ย์ อธบิ ายองคป์ ระกอบ ลกั ษณะ เหตุ
ปัจจยั ที่ทำ� ให้เกิดปรากฏการณท์ เี่ กดิ ข้ึน (Denzin & Lincoln, 2011, pp. 6 -11) ไม่ยึดรูปแบบการวัดท่ี
เป็นทางการตามหลักสถิติหรือตัวเลข เน้นการตีความและการให้ความหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจใน
ปฏสิ ัมพนั ธข์ องส่ิงตา่ งๆ ทปี่ ระกอบกันเปน็ ปรากฏการณ์สังคมกบั สภาพแวดล้อมตา่ งๆ ท่เี กิดขน้ึ ในสงั คม
และวัฒนธรรมของมนุษย์ สร้างความเข้าใจปรากฏการณ์สังคมอย่างลึกซ้ึง มากกว่าการแจงนับแบบ
การวจิ ยั เชงิ ปริมาณ (Wolf & Tymitz, 1977, p. 6; สุภางค์ จันทวานชิ , 2559, น. 1; Moustakas, 1997,
pp. 1-24)
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20