Page 14 - ภาษาและทักษะเพื่อการสื่อสาร
P. 14
3-4 ภาษาและทกั ษะเพอื่ การส่ือสาร
ตอนท่ี 3.1
ความหมาย วิวัฒนาการ คุณลักษณะ และปัจจัยของอวัจนภาษา
โปรดอ่านหัวเรอ่ื ง แนวคดิ และวตั ถปุ ระสงคข์ องตอนท่ี 3.1 แล้วจงึ ศึกษารายละเอียดตอ่ ไป
หัวเร่ือง
3.1.1 ความหมายและวิวัฒนาการของอวจั นภาษา
3.1.2 คณุ ลกั ษณะของอวจั นภาษา
3.1.3 ปัจจยั ท่ีมผี ลตอ่ อวัจนภาษา
แนวคิด
1. อวัจนภาษา หมายถึง ภาษาที่ไม่ใช่ค�ำพูดหรือถ้อยค�ำในการส่ือสาร แต่สามารถเป็น
ที่เข้าใจซ่ึงกันและกันได้ โดยข้ันตอนการเกิดภาษาของมนุษย์เริ่มต้ังแต่ภาษาท่าทาง
ภาษาพดู จนถงึ ภาษาเขยี น โดยทภี่ าษาเขยี นพฒั นามาจากภาษารปู ภาพ ภาษาความคดิ
และภาษาศาสตร์
2. คนเราไม่สามารถหลีกเล่ียงการใช้อวัจนภาษาได้ โดยระหว่างการสื่อสารจะต้องเกิด
อวัจนภาษาขึ้นในรูปใดรูปหนึ่งเสมอ ซึ่งพบว่าการสื่อความหมายผ่านอวัจนภาษาน้ันมี
มากกวา่ รอ้ ยละ 65 อวจั นภาษามักจะใช้ในการส่ือสารความรสู้ ึก บอ่ ยคร้ังทกี่ ารสอ่ื สาร
เกิดความเขา้ ใจผิดกนั อันมีสาเหตมุ าจากอวัจนภาษาทกี่ ำ� กวม หรอื อวัจนภาษาท่ีขัดกบั
วัจนภาษา
3. ปจั จยั ทมี่ ผี ลตอ่ การแสดงอวจั นภาษา ไดแ้ ก่ ววิ ฒั นาการ วฒั นธรรม การเรยี นรทู้ างสงั คม
และความแตกต่างระหวา่ งเพศ
วัตถุประสงค์
เมือ่ ศกึ ษาตอนท่ี 3.1 จบแลว้ นกั ศกึ ษาสามารถ
1. อธิบายความหมายและววิ ัฒนาการของอวจั นภาษาได้
2. อธิบายคุณลกั ษณะของอวัจนภาษาได้
3. อธบิ ายปัจจัยที่มีผลต่ออวจั นภาษาได้