Page 47 - ภาษาและทักษะเพื่อการสื่อสาร
P. 47
อวจั นภาษาในการส่อื สาร 3-37
เร่ืองที่ 3.3.2
การประยุกต์ใช้อวัจนภาษา
ท่ีผ่านมาเราเข้าใจความหมายและความส�ำคัญของอวัจนภาษา และลักษณะการใช้หรือการส่ือ
ความหมายโดยใช้อวจั นภาษาประเภทต่างๆ ส่วนการประยุกต์ใชอ้ วัจนภาษาในสถานการณต์ ่างๆ เปน็ ส่งิ
ท่เี ราต้องเขา้ ใจ เพ่ือให้สามารถอ่านความหมายหรือเลือกใช้อวัจนภาษาเหล่าน้ไี ด้อย่างเหมาะสม โดยการ
ประยุกตใ์ ช้อวจั นภาษามักพบในสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้
1. อวัจนภาษาในความสัมพันธ์ใกล้ชิด
การสัมผัส นํ้าเสียง เพื่อส่ือสารความรัก การสนับสนุนท่ีมีให้คู่รัก การสื่อสารอารมณ์ความรู้สึก
ความแตกต่างระหว่างเพศ การแสดงออกและการแลกเปล่ียนอวัจนภาษาระหว่างบุคคลอย่างอบอุ่นและ
ใกล้ชิด จะต้องเกิดจากพฤติกรรมการสื่อสารท่ีมีลักษณะอ่อนโยน อบอุ่น และให้ความรู้สึกในเชิงบวก
โดยอวัจนภาษาประเภทน้ี หากแสดงออกในระดับที่พอดีแล้ว จะช่วยให้เกิดการสร้างความประทับใจเม่ือ
แรกพบ การด�ำเนินความสัมพันธ์อย่างต่อเน่ือง และให้ผลเชิงบวกต่อการเรียนรู้ แต่ถ้าใช้มากจนเกินไป
อาจท�ำใหผ้ ้รู ับอวจั นภาษาเหล่าน้เี กดิ ความรู้สึกอึดอดั และถกู คุกคามได้
2. อวัจนภาษาในการพูดในท่ีสาธารณะ
การเลอื กใชอ้ วจั นภาษาใหเ้ หมาะสมกบั การพดู ในทสี่ าธารณะมสี ว่ นในการสรา้ งความประทบั ใจและ
การรบั รขู้ องผ้ฟู ัง โดยการเลือกใช้อวัจนภาษาแต่ละอย่างน้ันมีสิ่งท่ตี ้องพิจารณา ดงั นี้
2.1 เน้ือหา เน้ือหาท่ีน�ำมาใช้ในการพูดน้ัน ผู้พูดต้องการให้ข้อมูล (informative) ให้ผู้ฟังเกิด
ความรู้ หรือจูงใจ (persuasive) ให้ผ้ฟู งั เกดิ ความเช่ือและอยากท�ำตาม โดยอวจั นภาษาของบุคคลบคุ คล
หนงึ่ ในการพดู ทง้ั 2 ประเภทนอี้ าจไมเ่ หมอื นกนั แมก้ ระทง่ั เนอื้ หาทตี่ อ้ งพดู นนั้ เออ้ื ตอ่ การแสดงอวจั นภาษา
หรือไม่
2.2 กาลเทศะ ในท่ีน้ีหมายความรวมถึงท้ัง “เวลา” และ “สถานที่” โดยในเวลาอันจ�ำกัดน้ี
การเลือกใชอ้ วัจนภาษาตอ้ งไม่ลดทอนสาระสำ� คญั ของเนื้อหาท่ีจะพดู หรือระดับของการใชอ้ วจั นภาษาให้
เหมาะกบั สถานที่ เพอ่ื ให้ผฟู้ ังทุกคนเขา้ ใจในสิ่งท่ีผู้พูดตอ้ งการนำ� เสนอหรอื สอ่ื ความหมาย
2.3 ผู้รับสาร ตอ้ งมกี ารวเิ คราะหผ์ ฟู้ งั เพอื่ เลอื กใชอ้ วจั นภาษาใหเ้ หมาะสม เนอ่ื งจากอวจั นภาษา
บางประเภทไม่ได้เหมาะสมและใช้ได้กับคนทุกคน ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงอวัจนภาษาท่ีใช้ส่ือความหมาย
อันละเอียดอ่อนและก่อให้เกิดการเข้าใจผิด โดยเฉพาะกลุ่มผู้รับสารท่ีมีภูมิหลัง ความเชื่อ ค่านิยมและ
วฒั ธรรมท่แี ตกตา่ งกัน