Page 49 - ภาษาและทักษะเพื่อการสื่อสาร
P. 49
อวัจนภาษาในการสื่อสาร 3-39
จากตัวอย่างข้างต้น เป็นตัวอย่างบทละคร โดยโครงสร้างเชิงรูปแบบของการเขียนบทละครนี้
พบเห็นได้ในการเขียนบทละครเวที บทละครโทรทัศน์ หรือบทภาพยนตร์ ค�ำหรือประโยคที่อยู่ในวงเล็บ
หมายถึงกิริยาอาการของตัวละครน้ันที่จะต้องท�ำ ในบางคร้ังอาจส่ือไปถึงพฤติกรรมที่เป็นอวัจนภาษา
ซ่ึงปฏิสัมพันธ์ต่อบุคคลและสถานการณ์ในขณะนั้น นักแสดงที่อ่านบทละครและพบส่วนที่เป็นข้อความ
ระบุอวัจนภาษาของนักแสดงดังกล่าว ต้องใช้การตีความและแสดงบทบาทออกมาเพ่ือให้การด�ำเนินเร่ือง
ลืน่ ไหลไปตลอดจนจบเรอ่ื ง
นอกจากบทละครเวทีแล้ว ท่านาฏศิลป์ยังเป็นอวัจนภาษาท่ีสื่อความหมายในการแสดงแตกต่าง
ออกไป ดังภาพท่ี 3.12
ทา่ พรหมนมิ ิต ทา่ อีกทงั้
ท่าพสิ มยั ทา่ เรยี งหมอน
ท่าย้ายท่า
ท่ารบั (โบก)
ภาพท่ี 3.12 ตัวอย่างภาษาท่านาฏศิลป์หรือนาฏยศัพท์บางส่วน
ส่วนการน�ำเสนอผ่านส่ือสารมวลชน เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ส่ิงที่ต้องค�ำนึงถึงเพิ่ม น่ันก็คือ
การสื่อความหมายที่ด้วยภาพและเสียงผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวิธีการทางเทคนิคนานัปการ โดย
การสื่อความหมายเหล่านี้ ในบางครั้งผู้ชมมิได้เป็นเพียงคนเฝ้าดูเหตุการณ์เท่านั้น แต่ยังท�ำให้ผู้ชมเกิด
ความรู้สึกเสมือนอยู่ในสถานการณ์จริง เช่น การเคลื่อนกล้องเข้าหาตัวละครช่วยสร้างความรู้สึกว่าผู้ชม
ก�ำลังเดนิ เข้าหาตัวละครตัวนัน้ อยู่ หรอื การตดั ภาพเพื่อให้ผ้ชู มคาดเดาเหตุการณท์ จ่ี ะเกิดขึน้ ในเวลาต่อมา
แม้กระท่ังการติดตั้งระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ช่วยให้ผู้ชมรับรู้ได้ถึงระยะใกล้ชิดหรือไกลห่าง เป็นต้น
(ดตู ัวอย่าง ตารางท่ี 3.2 ประกอบ)