Page 109 - จุลยุทธการวงศ์
P. 109
จุลยุทธการวงศ์ 9955 เทศนาจุลยุทธการวงศ์
ปกครองสมบัติ ณ เมืองสุพรรณบุรี ให้พระราชโอรสทรงพระนามพระราเม
ศวรกุมาร๑ ไปผ่านสมบัติ ณ เมืองลพบุร
ี
ครั้งนั้นมีเมืองประเทศราชข้ึนแก่กรุงเทพมหานคร ๑๖ เมือง คือ
เมืองมะละกา เมืองชะวา๒ เมืองตะนาวสี๓ เมืองนครศรีธรรมราช เมือง
ทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา เมืองจันทบูร เมือง
พระพิศณุโลกย์๔ เมืองศุโขไทย๕ เมืองพิไชย๖ เมืองพิจิตร เมืองสวรรคโลกย์๗
เมืองกำแพงเพ็ชร๘ เมืองนครสวรรค์
พระองค์ทรงสร้างพุไทยสวรรยาวาศวิหาร๙ และรตนะวนาวาศ
วิหาร คือวัดป่าแก้ว๑๐ และสถิตอยู่ในราชสมบัติ ๒๐ พระวัสสาก็เสด็จ
ทิวงคต
๑หรือ พระรามเมศวร กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ลำดับที่ ๒ แห่งราชวงศ์เชียงรายตามหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่า ทรงครองราชย์ ๒ ครั้ง ได้แก่ ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๒-๑๙๑๓ และ
พ.ศ. ๑๙๓๑-๑๙๓๘ (ท่ีมา: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย)
๒เทศนาจุลยุทธการวงศ์ท่ีพิมพ์ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๖ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๐ เขียน
เหมือนกับต้นฉบับเอกสารโบราณสมุดไทยดำ หอสมุดแห่งชาติ คือ “ชะวา” แต่ในประชุม
พงศาวดาร เล่ม ๔๑ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๒ ใช้ว่า “เมืองชวา”
๓คำน้ี เทศนาจุลยุทธการวงศ์ ท่ีพิมพ์ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๖ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๐
และในประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๑ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๒ ใช้เหมือนกันว่า “เมืองตะนาวศรี”
๔ปัจจุบัน คือ “พิษณุโลก”
๕ปัจจุบัน คือ “สุโขทัย”
๖ปัจจุบันเขียนว่า “พิชัย”
๗ปัจจุบันเขียนว่า “สวรรคโลก”
๘ปัจจุบันเขียนว่า “กำแพงเพชร” แต่ในเทศนาจุลยุทธการวงศ์ท่ีพิมพ์ในประชุมพงศาวดาร
ภาคท่ี ๖๖ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๐ และในต้นฉบับเอกสารสมุดไทยดำ หอสมุดแห่งชาติ ใช้เหมือน
กันว่า “เมืองกำแพงเพ็ชร”
๙ปัจจุบัน คือ วัดพุทไธสวรรย์
๑๐ต่อมา เรียกว่า วัดพระเจ้าพระยาไทย และวัดใหญ่ชัยมงคล ตามลำดับ