Page 137 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 137
อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง 10-7
120 ความดันสูงสุด
มิลลิเมตรปรอท
80 ความดันตํ่าสุด
ภาพที่ 10.3 แรงดันซิสโตลิกและแรงดนั ไดแอสโตลกิ
2. ปัจจยั ที่มีความสมั พนั ธ์กับระดบั ความดนั โลหติ
ความดันโลหิตเป็นค่าเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจผิดแผกแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ
อย่างดังนี้
2.1 อายุ ผู้มีอายุมากมักจะมีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงกว่าผู้มีอายุน้อย ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า เมื่อ
มีอายุสูงขึ้นความดันโลหิตจะต้องสูงตามไปด้วยจึงจะเหมาะสมเช่นที่เคยเชื่อกันมาแต่เดิม ผู้สูงอายุจำ�นวนไม่น้อยที่
ความดันโลหิตไม่เปลี่ยนแปลงตามอายุ แต่คงอยู่ในระดับปกติเช่นเดิม ในปัจจุบันเราทราบกันแล้วว่า ระดับความดัน
โลหิตที่สูงเกินค่าปกติ ทำ�ให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอายุเท่าใด
2.2 เพศ ผู้หญิงอายุตํ่ากว่า 50 ปี มักจะมีความดันโลหิตตํ่ากว่าผู้ชายที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่ถ้าอายุ
เกิน 50 ปี ผู้หญิงจะมีความดันโลหิตใกล้เคียงหรือสูงกว่าผู้ชายอายุเท่ากัน
2.3 เชอ้ื ชาติ คนบางเผ่ามีระดับความดันโลหิตค่อนข้างสูง และเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ง่ายกว่าเผ่าพันธุ์
อื่น เช่น พวกคนผิวดำ�ในสหรัฐอเมริกามีความดันโลหิตสูงมากกว่าคนอเมริกันผิวขาว
2.4 กรรมพันธุ์ เป็นที่ยอมรับว่า กรรมพันธุ์มีความสำ�คัญทางระบาดวิทยาในโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่
ทราบสาเหตุ พี่น้องครอบครัวเดียวกันมักจะมีระดับความดันโลหิตสูงใกล้เคียงกัน เด็กสายเลือดเดียวกันเกิดเป็นโรค
ความดันโลหิตสูงบ่อยกว่าเด็กที่ขอมาเลี้ยงไว้ในครอบครัวที่มีสายเลือดของความดันโลหิตสูง
2.5 นา้ํ หนักตวั ความอ้วนมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงอยู่บ้าง คนอ้วนมักจะมีระดับความดันโลหิต
สูงกว่าคนปกติที่มีอายุเท่าๆ กัน และผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมีนํ้าหนักโดยเฉลี่ยมากกว่าปกติ
2.6 เกลือโซเดียม คนที่กินอาหารรสเค็มจัด คือ กินอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมคลอไรด์มาก มักจะมี
ความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงกว่าคนกินอาหารรสจืด
2.7 ภาวะทางจติ ใจและสงั คม เชื่อกันวา่ ภาวะทางจติ ใจและสงั คมมอี ิทธพิ ลต่อระดบั ความดนั โลหิต สงั คมที่มี
ปัญหาน้อยและมีภาวะตึงเครียดทางจิตน้อย ดังเช่น กลุ่มคนชาวเขาบางเผ่าในทางตอนเหนือของประเทศไทย มีความ
ดันโลหิตค่อนข้างตํ่าเมื่อเทียบกับคนในเมืองไทย หรือกับคนชาวเขากลุ่มที่เคลื่อนย้ายเข้ามามีความสัมพันธ์กับคนใน
เมือง
นอกจากนี้ ในบุคคลเดียวกันความดันโลหิตของตนเองก็ยังเปลี่ยนค่าไปได้มิใช่น้อยในช่วงเวลาของวัน
ตามภาวะแวดล้อมต่างๆ ยกตัวอย่าง ในขณะนอนหลับความดันโลหิตอาจลดลงตํ่ากว่าธรรมดาได้มาก ตรงกันข้ามกับ
เมื่อเริ่มตื่นนอนใหม่ๆ ความดันโลหิตค่อยเริ่มสูงขึ้นและระดับความดันโลหิตในขณะตื่นรู้สึกตัวจะเปลี่ยนแปลงไปได้
ลิขสิทธิข์ องมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช