Page 138 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 138
ความดัน (มิลลิเมตรปรอท)10-8 อาหารและโภชนบำ�บัด
มากตามอารมณต์ า่ งๆ เชน่ หวาดกลวั ตกใจ โกรธ หรอื ขุน่ มวั หลงั จากการถกเถยี งหรอื ทะเลาะววิ าท การออกก�ำ ลงั กาย
แม้กระทั่งใช้ความคิดก็ทำ�ให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เกินค่าปกติชั่วครั้งคราว และบางครั้งอาจจะคงอยู่ในระดับนี้ได้
เป็นหลายชั่วโมง เหล่านี้เป็นต้น ดังในภาพ 10.4
ด้วยเหตุนี้ แพทย์จึงวัดความดันโลหิตในขณะที่ผู้ถูกวัดอยู่ในภาวะ “สงบ” มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ และ
บางครั้งจำ�เป็นต้องวัดซํ้าใหม่อีกในโอกาสหลังเพื่อให้แน่ใจยิ่งขึ้น
เวลา (ชม.)
ภาพที่ 10.4 ความดนั โลหิตเปลยี่ นแปลงไมค่ งทใ่ี นวันหนง่ึ ๆ
3. กลไกของการควบคมุ ความดันโลหติ
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าความดันโลหิตของบุคคลเดียวกันยังมีค่าเปลี่ยนแปลงได้มิใช่น้อยในช่วงเวลาของวัน
หนึ่งๆ ตามภาวะแวดล้อมต่างๆ การที่เป็นไปได้เช่นนี้ก็เพราะเหตุว่าตามปกติร่างกายของเรามีวิธีการที่คอยควบคุม
ให้ความดันโลหิตเพิ่มหรือลดได้ตามความเหมาะสมของร่างกายในสภาวะต่างๆ โดยอาศัยกลไกของการควบคุมความ
ดันโลหิต
“ความดันโลหิตหมายถึงแรงดันภายในหลอดเลือดแดงที่หัวใจบีบตัวฉีดออกมา” ซึ่งถ้าเขียนเป็นสมการ
ตามหลักกลศาสตร์ได้ ดังนี้
แรงดันโลหิต = แรงที่หัวใจบีบตัวฉีดโลหิต × แรงต้านของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
จากสมการข้างบนแสดงว่า ความดันโลหิตจะสูงหรือตํ่าขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ แรงที่หัวใจบีบตัวฉีด
โลหิต และแรงต้านของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
แรงที่หัวใจบีบตัวฉีดโลหิตแรงหรือค่อยขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อหัวใจและการเต้นของหัวใจที่พอเหมาะพอดี ส่วน
แรงต้านของหลอดเลือดแดงจากมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของหลอดเลือดแดงเอง กล่าวคือ ถ้าหลอดเลือดแดงมี
การหดตัวเล็กลง แรงต้านของหลอดเลือดแดงจะเพิ่มขึ้น ทำ�ให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าหลอดเลือด
แดงมีการขยายตัวใหญ่ขึ้น แรงต้านของหลอดเลือดแดงจะลดลงทำ�ให้ความดันโลหิตลดลง
ระบบต่างๆ ของร่างกายทำ�งานสัมพันธ์กันในการควบคุมความดันโลหิต คือ
1) หวั ใจ มีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงทั่วร่างกายเป็นองค์ประกอบสำ�คัญในการปรับระดับความดันเลือด
2) ระบบประสาทอตั โนมตั ิ ควบคมุ ใหค้ วามดนั โลหติ เพิม่ หรอื ลดไดต้ ามความเหมาะสมของรา่ งกายในสภาวะ
ต่างๆ ด้วยการบังคับให้หลอดเลือดแดงหดหรือขยายตัว
ลิขสิทธข์ิ องมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช