Page 143 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 143
อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง 10-13
เร่ืองท่ี 10.1.3
ระดับความรนุ แรงของโรคความดันโลหิตสงู
ระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงอาจจำ�แนกโดยอาศัยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ ค่าของระดับ
ความดันโลหิตที่วัดได้ และการเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะต่างๆ
1. การจำ�แนกประเภทของระดบั ความรนุ แรงของโรคความดันโลหิตสงู โดยอาศัยค่าของระดบั
ความดันโลหิตทวี่ ัดได้
เป็นการแบ่งคร่าวๆ และขอบเขตของระดับความดันโลหิตที่ให้ไว้ก็เป็นการกำ�หนดขึ้น แต่พอจะใช้เป็นเครื่อง
ชี้แนะถึงความรุนแรงของโรคนี้ ความรุนแรงของโรคโลหิตสูงโดยอาศัยเกณฑ์นี้ แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่
1.1 ระดับความดันโลหิตสูงกํ้ากึ่ง (Borderline hypertension) ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง
140/90-160/95 มิลลิเมตรปรอท
1.2 ระดับความดันโลหิตสูงอย่างอ่อน (Mild hypertension) ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง
160/95-180/100 มิลลิเมตรปรอท
1.3 ระดบั ความดันโลหิตสูงปานกลาง (Moderate hypertension) ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง
180/100-200/120 มิลลิเมตรปรอท
1.4 ระดับความดันโลหิตสูงรุนแรง (Severe hypertension) ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์สูงตั้งแต่
200/120 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
1.5 ระดบั ความดนั โลหติ สงู วกิ ฤตหรอื อนั ตรายรา้ ยแรง (Malignant hypertension) ระดับความดันโลหิตสูง
ในกลุ่มนี้จะมากกว่า 220/130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง โดยอาศัยค่าของระดับความดันโลหิตที่วัดได้เป็นการ
แบ่งอย่างคร่าวๆ เท่านั้น แพทย์ยังต้องอาศัยการแบ่งอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปมาพิจารณาประกอบด้วย
2. การจำ�แนกประเภทของระดบั ความรนุ แรงของโรคความดันโลหติ สูงโดยอาศยั การเสอื่ มสมรรถภาพ
ของอวยั วะตา่ งๆ
ความดันโลหิตสูงทำ�ให้มีการเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะที่สำ�คัญ เช่น หลอดเลือด หัวใจ สมอง ไต และตา
เป็นต้น ความดันที่สูงเป็นการเพิ่มงานต่อหัวใจ โดยตรงทำ�ให้ผนังหัวใจหนาขึ้น พยาธิสภาพที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กๆ
เนื่องจากมีความดันสูงอยู่เป็นระยะเวลายาวนานจะทำ�ให้ผนังหลอดเลือดชั้นในและชั้นกลางหนาตัวขึ้น ในที่สุดเลือด
จะไหลได้น้อยลงเพราะทางเดินภายในหลอดเลือดตีบหรือแคบมากขึ้น ความต้านการไหลของเลือดก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ
จนเกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ดังกล่าว ต่อมานานเข้า หลอดเลือดเหล่านี้จะเสื่อมและแข็งตัว ทำ�ให้เกิด
การอุดตันของหลอดเลือดในสมองจะเกิดอัมพาตและเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ในกรณีที่มีความดันสูงวิกฤตหรืออันตรายร้ายแรง (Malignant hypertension) พยาธิสภาพที่หลอดเลือด
เล็กๆ จะเกิดการบวมและอักเสบ ซึ่งมีผลต่ออวัยวะที่มีหลอดเลือดเล็กๆ นี้มาก เช่น ที่สมองทำ�ให้เกิดภาวะการบวม
ของเนื้อสมองและเกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า “พยาธิภาวะที่สมองเนื่องจากความดันโลหิตสูง” (Hypertensive en-
cephalopalhy) เนื้อไตจะมีการบวม ถูกทำ�ลาย ทำ�ให้เสื่อมสมรรถภาพการทำ�งาน
ลขิ สิทธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช