Page 144 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 144
10-14 อาหารและโภชนบำ�บัด
คณะผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก ได้จำ�แนกความรุนแรงของความดันโลหิตสูงตามการเสื่อม
สมรรถภาพของอวัยวะต่างๆ เป็น 3 ระดับ คือ
2.1 ระดบั ที่ 1 เมื่อตรวจไม่พบความเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะต่างๆ นั่นคือ อวัยวะต่างๆ ยังทำ�งานได้ตาม
ปกติ
2.2 ระดบั ท่ี 2 เมื่อตรวจพบอย่างใดอย่างหนึ่งตามหัวข้อข้างล่างนี้
1) มีหัวใจซีกซ้ายโตโดยการตรวจร่างกาย ถ่ายเอกซเรย์ทรวงอก หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
2) หลอดเลือดแดงเรตินาลมีการตีบทั่วไปหมดหรือเฉพาะส่วน
3) มีไข่ขาวในปัสสาวะ (proteinuria) หรือระดับครีเอตินีน (creatinine) ในเลือด ซึ่งเป็นของสียที่ถูก
ขับทางไตสูงผิดปกติเล็กน้อย
2.3 ระดับที่ 3 มีอาการและสิ่งตรวจพบบ่งว่า สมรรถภาพของอวัยวะต่างๆ เสื่อมเป็นผลสืบเนื่องมากจาก
ความดันโลหิตสูง ได้แก่
1) ภาวะหัวใจซีกซ้ายวาย
2) อัมพาตเกิดจากเลือดออกในเนื้อสมอง (ภาวะ hypertension encephalopathy)
3) จอตา (retina) มีเลือดออก และมีลักษณะเป็นหย่อมสีขาวคล้ายปุยส�ำ ลี ส่วนขั้วประสาทตาบวมจะ
มีหรือไม่มีก็ได้
โดยทั่วไป การจำ�แนกประเภทของความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง โดยอาศัยระดับความดันโลหิตที่
วัดได้จะมีความสัมพันธ์อย่างมากกับวิธีการอาศัยการเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วย
บางรายระดับความดันที่วัดได้ และภาวะเสื่อมสมรรถภาพควรจะแยกกันพิจารณา ทั้งนี้ เพราะพบว่าผู้ป่วยบางคนมี
ความดันโลหิตสูงมาก อันตรายก็มาก แต่อวัยวะต่างๆ ยังทำ�งานได้ตามปกติ และทางกลับกัน ผู้ป่วยบางคนมีอาการ
และสิ่งตรวจพบบ่งว่ามีการเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะต่างๆ แต่ความดันโลหิตกลับสูงไม่มาก
กจิ กรรม 10.1.3
1. ทำ�ไมต้องมีการแยกประเภทของระดับความรนุ แรงของความดนั โลหติ สงู
2. ความรนุ แรงของโรคความดนั โลหิตสงู จำ�แนกได้โดยอาศัยเกณฑใ์ ดบ้าง
3. การจำ�แนกประเภทของระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงอาศัยการเส่ือมสภาพของ
อวัยวะท่สี ำ�คัญใดบ้าง ยกตัวอยา่ งมา 4 อวยั วะ
แนวตอบกิจกรรม 10.1.3
1. เพ่ือวางแนวทางการรักษาไดอ้ ย่างถกู ต้อง และใหค้ ำ�พยากรณ์การดำ�เนนิ ของโรคได้
2. โดยอาศัยค่าของระดับความดันโลหิตที่วัดได้ และ 2) โดยอาศัยการเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะ
ต่างๆ
3. เชน่ หลอดเลอื ด หวั ใจ สมอง ไต ตา เป็นต้น
ลขิ สทิ ธขิ์ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช