Page 149 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 149

อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง 10-19

เร่อื งท่ี 10.2.2
ภาวะแทรกซอ้ นของโรคความดันโลหิตสงู ตอ่ สมอง ตา และไต

1. 	ภาวะแทรกซอ้ นของโรคความดันโลหติ สงู ต่อสมอง

       ความดันโลหิตสูงทำ�ให้ผนังหลอดเลือดแดงในสมองหนาแข็งและทางเดินภายในหลอดเลือดขรุขระและ
ตีบแคบลง เลือดไหลไม่สะดวก ทำ�ให้เกิดการแข็งตัวภายในหลอดเลือดและเกิดภาวะอุดตัน เนื้อสมองบางส่วนตาย
เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง นอกจากนี้หลอดเลือดแดงเล็กยังเกิดการโป่งพองได้ หากเป็นอยู่นานและความดันโลหิต
สูงมาและถ้าหลอดเลือดแดงแตก ทำ�ให้มีเลือดออกในเนื้อสมอง ผลร้ายทั้งสองประการทำ�ให้เป็นอัมพาตครึ่งซีก หรือ
ถึงแก่กรรมทันที

       ผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตสูงมากๆ อาจเกิดอาการผิดปกติทันที คือ จะมีอาการปวดศีรษะมาก คลื่นไส้
อาเจียน ซึม สับสน ตามัวหรือพร่า ชักและอาจหมดสติได้ บางครั้งอาจมีอัมพาตชั่วคราว อาการทั้งหมดจะหายอย่าง
รวดเร็ว ถ้าสามารถควบคุมความดันโลหิตให้ลดลงเป็นปกติ

       ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดแตกในสมอง หรือหลอดเลือดอุดตันในสมองได้
บ่อยกว่าคนธรรมดาอย่างน้อย 3-5 เท่า

2. 	ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดนั โลหิตสูงต่อตา

       หลอดเลือดแดงอาร์เตอริโอลที่เรตินาล (retinal arteries) มีการแข็งและหนาตัวขึ้น หลอดเลือดแดงหดตัว
เล็กลง หลอดเลือดดำ�ตรงตำ�แหน่งหลอดเลือดแดงผ่านจะถูกกด หากเป็นความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงขึ้นไปอีกจะมี
การบวมของเรตินาลเกิดเป็นหย่อมสีขาวๆ คล้ายปุยสำ�ลี ดังภาพที่ 10.10 และมีเลือดออกเป็นหย่อมร่วมด้วย สำ�หรับ
ความดนั โลหติ สงู มากๆ ชนดิ อนั ตรายรา้ ยแรง จะพบการเปลีย่ นแปลงทีร่ นุ แรงมากกวา่ รวมทัง้ มกี ารบวมของขัว้ ประสาท
ตาพาพิลลีดีมา (papilloedema) การเปลี่ยนแปลงนี้ช่วยให้แพทย์พยากรณ์โรคและแนะแนวในการรักษาได้

                ภาพที่ 10.10 ลักษณะการเปลยี่ นแปลงของจอตาผ้ปู ่วยทีเ่ ปน็ โรคความดันโลหิตสูง

                              ลขิ สทิ ธข์ิ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154