Page 152 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 152

10-22 อาหารและโภชนบำ�บัด

เรือ่ งที่ 10.3.1
อาหารที่อาจเป็นสาเหตุของโรคความดนั โลหิตสูง

       ร้อยละ 80-90 ของโรคความดันโลหิตสูงหาสาเหตุไม่ได้ เข้าใจกันว่าอาจเป็นเพราะโรคนี้เกิดจากสาเหตุ
หลายอย่าง เช่น อาจมีสาเหตุทางกรรมพันธุ์ร่วมกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร ภูมิประเทศ อาชีพการทำ�งาน ฯลฯ	
ซึ่งอาหารเป็นปัจจัยสำ�คัญในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

       อาหารที่อาจเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การไดร้ บั ปรมิ าณโซเดยี มสงู (High Sodium Intake)
เพราะระดับความดันโลหิตสูงขึ้น มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณเกลือที่บริโภค หากผู้ป่วยโรคความดันโลหิต
สูงสามารถลดเกลือในอาหารก็จะทำ�ให้ความดันโลหิตลดลงได้ แต่ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต
ประเภท “ยาขับปัสสาวะ” (diuretics) ซึ่งจะขับโซเดียมและนํ้าออกทางปัสสาวะ มีผลทำ�ให้ความดันโลหิตลดลงได้
นั้น การบริโภคเกลือในปริมาณสูงความดันโลหิตจะลดลงได้ไม่ดีเท่าที่ควร

       มีการศึกษาทางระบาดวิทยาในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศนิวซีแลนด์ พบว่า ความสัมพันธ์
โดยตรงระหว่างความดันโลหิตกับปริมาณเกลือที่บริโภคไม่เด่นชัดนัก เพราะฉะนั้นการบริโภคเกลืออาจเป็นปัจจัยทาง
สิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งเท่านั้นนอกเหนือไปจากกรรมพันธุ์ ภูมิประเทศ อาชีพการงาน ฯลฯ

       การบริโภคปริมาณเกลือมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความดันโลหิตสูงจากโรคไต เพราะผู้ป่วยประเภทนี้มีนํ้า
และเกลือแร่คั่งเป็นจำ�นวนมากกว่าปกติ

       โซเดียมเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งที่ร่างกายคนเราจำ�เป็นต้องได้รับจากอาหาร ถ้าขาดอย่างรุนแรงจะมีผลเสียร้าย
แรงต่อสุขภาพ ดังนั้น การจำ�กัดโซเดียมระดับตํ่ามากๆ จึงต้องทำ�ด้วยความระมัดระวังและอยู่ในความดูแลของแพทย์

       เราได้รับธาตุโซเดียมในรูปแบบของสารประกอบที่สำ�คัญคือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ซึ่งก็คือ เกลอื ทใ่ี ชป้ รงุ
อาหารนั่นเอง ดังนั้น โซเดียมจึงเป็นเกลือแร่ที่ร่างกายได้รับมากที่สุด

       ปรมิ าณโซเดยี มทคี่ นเราไดร้ บั ในวนั หนงึ่ ทงั้ ในรปู ของเกลอื ทใี่ หร้ สเคม็ (สว่ นใหญ)่ และทงั้ ในรปู ของสารประกอบ	
อื่นๆ ที่มิได้มีรสเค็ม (ส่วนน้อย) เช่น ผงชูรส ผงฟู ฯลฯ นั้นแตกต่างกันได้มากอาจตํ่าเพียงประมาณ 3,000 มิลลิกรัม
ของโซเดียม (เทียบเท่ากับเกลือโซเดียมคลอไรด์ 25 กรัม หรือ 5 ช้อนชา) หรือมากกว่าก็มี

       คนปกติได้รับโซเดียมปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการใช้ ถ้าไม่มีโรคภัยไข้เจ็บร่างกายจะขับถ่าย	
ส่วนเกินออกทางไตมาในปัสสาวะ

       ปริมาณโซเดียมที่คนเราได้รับสัมพันธ์กับความดันโลหิต และการลดหรือจำ�กัดโซเดียมในอาหารของผู้ป่วย
ด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีผลให้ผู้ป่วยจ�ำ นวนมากมีความดันโลหิตลดลงได้ ฉะนั้น ในทางปฏิบัติผู้ป่วยโรคความดัน
โลหิตสูงจึงมักจะได้รับคำ�แนะนำ�ให้จำ�กัดโซเดียม จะจำ�กัดระดับใดนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์

       แหล่งอาหารที่ให้โซเดียม ได้แก่ เกลือและเครื่องปรุงรสเค็ม อาหารที่เติมเกลือปริมาณมาก อาหารที่มี
โซเดียมตามธรรมชาติ สารปรุงแต่งรสอาหาร นํ้าดื่มและเครื่องดื่ม ยา และอาหารเบ็ดเตล็ด ดังมีรายละเอียด (สรุปใน	
ตารางที่ 10.1) ดังนี้

1. 	เกลอื และเครือ่ งปรุงรสเคม็

       เกลือที่ใช้ปรุงอาหารให้มีรสเค็ม คือ เกลือที่อยู่ในรูปของโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) อาหารใดใส่เกลือมากจะ
มีรสเค็มจัด เราใช้เกลือเป็นเครื่องปรุงรสในรูปแบบต่างๆ เช่น

                             ลิขสทิ ธิ์ของมหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157