Page 147 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 147
อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง 10-17
การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงเกิดขึ้นได้ทั้งกับหลอดเลือดขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กที่ไป
หล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายรวมทั้งอวัยวะสำ�คัญด้วย และการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดได้รวดเร็วกว่าที่ควรจะ
เป็นมาก โดยหลอดเลือดแดงจะมีการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดภายในท่อหนา แข็งตัว และขรุขระ ตัวผนัง
ของหลอดเลือดก็จะไม่แข็งแรง เนื่องจากมีการเสื่อมของชั้นกล้ามเนื้อ ทำ�ให้หลอดเลือดแดงโป่งพอง เมื่อภายในท่อ
ของหลอดเลือดหนา แข็งตัวและขรุขระ ทำ�ให้ขนาดของท่อตีบหรือแคบลง เป็นผลทำ�ให้เกิดมีการอุดตันภายใน ทำ�ให้
เลือดไหลผ่านไม่สะดวก การเปลี่ยนแปลงของแขนงหลอดเลือดแดงขนาดเล็กมากในเนื้อสมอง ทำ�ให้หลอดเลือดแดง
เหล่านั้นเกิดโป่งพอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำ�คัญของการแตกของหลอดเลือดทำ�ให้เลือดออกในเนื้อสมอง
การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงเล็กที่รุนแรงในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากชนิดที่เรียกว่า ความดนั
โลหติ สงู วกิ ฤต ผนงั หลอดเลอื ดแดงทกุ ชนั้ ถกู ท�ำ ลาย เกดิ การบวม อกั เสบ และพรอ้ มกนั นนั้ มนี าํ้ เลอื ด และเมด็ เลอื ดแดง
ซึมผ่านเข้าไปในผนังหลอดเลือดด้วย ขนาดทางเดินภายในหลอดเลือดจะตีบหรือแคบได้มากทีเดียว เป็นผลทำ�ให้
เลือดไหลผ่านได้น้อยและไม่สะดวก อวัยวะส่วนปลายจะได้รับปริมาณเลือดมาเลี้ยงไม่พอ
ผลของความดันโลหิตสูงทำ�ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในทางเสื่อมสมรรถภาพของหลอดเลือดแดง
และโรคของหลอดเลือดแดงมีได้ ดังนี้
1.1 หลอดเลือดแดงโป่งพอง ส่งผลให้มีการแตกของหลอดเลือด (ภาพที่ 10.8) อาจทำ�ให้ตายได้ทันทีถ้าเป็น
หลอดเลือดขนาดใหญ่ การไหลเวียนของเลือดก็ไม่สะดวก และประการสุดท้าย หลอดเลือดโป่งพองอาจไปกดอวัยวะ
อืน่ ๆ ทีใ่ กลเ้ คียงท�ำ ให้เกิดอาการไดต้ ่างๆ เชน่ ไปกดกระดกู หรอื ประสาทเกิดความเจ็บปวดขึ้นได้ ส่วนหลอดเลอื ดแดง
โป่งพองอีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากการปริตัวของผนังหลอดเลือด เนื่องจากการเซาะของเลือด ซึ่งทำ�ให้เกิดอาการเจ็บปวด
แสนสาหัส
ภาพที่ 10.8 หลอดเลือดแดงโป่งพองและแตก
1.2 ภาวะเกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดง ดังได้กล่าวแล้วว่าผนังหลอดเลือดแดงหนา แข็ง และทางเดิน
ภายในท่อขรุขระ อีกทั้งตีบหรือแคบลง เลือดไหลไม่สะดวก ทำ�ให้เลือดเกิดการแข็งตัวบริเวณนั้น เกิดเป็นภาวะอุด
ตันขึ้นได้ ผลร้ายของการที่หลอดเลือดแดงเปลี่ยนสภาพจนมีลักษณะดังกล่าวนี้คือ ทำ�ให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือด
แดง เหล่านี้ได้ด้วยความยากลำ�บาก อาจทำ�ให้ปริมาณลดลงไม่พอกับความต้องการหรืออาจไหลผ่านไปไม่ได้เลย
เนื่องจากหลอดเลือดแดงบางส่วนตีบมากหรืออุดตันไปเลย ตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายโดยเฉียบพลัน เนื่องจาก
หลอดเลือดแดงโคโรนารี เกิดการอุดตัน ดังภาพที่ 10.9
ลขิ สิทธิ์ของมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช