Page 146 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 146

10-16 อาหารและโภชนบำ�บัด

                          ความน�ำ

       โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคอันตรายอย่างยิ่งโรคหนึ่ง โรคนี้อาจเป็นอยู่โดยไม่แสดงอาการให้ทราบชัดเจน
เป็นเวลานาน ในระยะแรกๆ อาการเล็กน้อยที่เกิดขึ้นจะดูเหมือนว่าไม่ร้ายแรงอะไรนัก อาการเหล่านี้จึงถูกละเลย แต่
ทว่าความดันโลหิตที่สูงขึ้นก็ท�ำ อันตรายต่อระบบหัวใจหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ทำ�ให้อวัยวะส�ำ คัญ
ต่างๆ ของร่างกายรับผลกระทบกระเทือนจนเสื่อมสมรรถภาพไปมาก หรืออาจสูญเสียชีวิตกะทันหันโดยที่ไม่รู้ตัวว่า
เป็นความดันโลหิตสูงก็ได้ โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาจึงได้รับสมญาว่า “ฆาตกรเงียบ”

       ถ้าเทียบกันตามสถิติแล้ว ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงอายุจะสั้นกว่าผู้ที่มีความดันโลหิตในระดับตํ่ากว่า	
ยิ่งความดันโลหิตสูงผิดปกติมากเท่าใด จะทำ�ให้อายุสั้นยิ่งขึ้นเป็นสัดส่วนตามไปด้วยเท่านั้น โรคความดันโลหิตสูงส่ง
ผลร้ายต่อหลอดเลือดแดง หัวใจ สมอง ไต และตา ทำ�ให้มีการเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบเป็นอวัยวะต่างๆ ทั้งที่เห็น
ได้ด้วยตาเปล่าหรือด้วยกล้องจุลทรรศน์ และในที่สุดอวัยวะเหล่านั้นก็จะเสื่อมสมรรถภาพในการทำ�งาน

เรอื่ งที่ 10.2.1
ภาวะแทรกซอ้ นของโรคความดนั โลหติ สูงตอ่ หลอดเลอื ดแดงและหัวใจ

1. 	ภาวะแทรกซอ้ นของโรคความดันโลหติ สงู ท่ีมตี อ่ หลอดเลอื ดแดง

       ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงที่มีต่อหลอดเลือดแดงทั่วๆ ไป และหลอดเลือดแดงของอวัยวะที่
สำ�คัญๆ คือ หัวใจ สมอง ไต และตา มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในทางเสื่อมที่เรียกว่า อารเ์ ตอรโิ อสเคอลอโรซสิ
(Arteriosclerosis) ซึ่งหมายถึง ภาวะท่ีมผี นงั หลอดเลือดแดงหนาและแขง็ ตวั ดังภาพที่ 10.7

ภาพที่ 10.7 หลอดเลอื ดแดงหนาและแข็งตวั ภายในท่อขรุขระตีบหรือแคบลง
          ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151