Page 139 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 139
อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง 10-9
3) ปรมิ าตรเลือด ประกอบด้วยพลาสมาและเม็ดเลือด มีความสัมพันธ์กับความดันโลหิต ถ้าปริมาตรเลือด
มากความดันโลหิตจะสูงขึ้น และลดลงหรือตํ่าลงเมื่อปริมาตรเลือดลดน้อยลง ปริมาตรของเหลวในเลือดเพิ่มขึ้นหรือ
ลดลงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณโซเดียมในร่างกาย
4) สารปรับระดับความดันโลหิต ร่างกายสามารถขับสารพวกฮอร์โมนและสารอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น
สารแคทีโคลามิน และแอลโดสเตอโรนจากต่อมหมวกไต ซึ่งทำ�หน้าที่ควบคุมหลอดเลือดแดงหดตัวหรือขยายตัว
4. ระดบั ที่ใชต้ ัดสนิ ว่าเป็นความดันโลหิตสงู
แพทย์จะถือว่า ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็ต่อเมื่อระดับความดันโลหิตนั้นสูงเกินปกติตลอดเวลา
มิใช่เป็นชั่วครั้งชั่วคราวตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
คา่ ความดันโลหิตเทา่ ใดจงึ จะถอื เป็นสงู ผดิ ปกติ
คณะกรรมการเรื่องความดันโลหิตสูง องค์การอนามัยโลกได้ประชุมตกลงกัน และแนะนำ�ให้ยึดระดับความ
ดันโลหิตของคนที่มีอายุอยู่ในวัยผู้ใหญ่ดังนี้
ความดันโลหิตสูง = ระดับความดันโลหิตสูงกว่า 160/95 มิลลิเมตรปรอท (Definite hypertension)
ความดนั โลหติ ปกติ = ระดบั ความดันโลหิตตํ่ากวา่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท (Normal blood pressure)
ความดันระดับกํ้ากึ่ง = ระดับความดันโลหิตระหว่าง 140/90–160/90 มิลลิเมตรปรอท (Borderline hy-
pertension)
กิจกรรม 10.1.1
1. จงบอกความหมายของความดันโลหิต
2. ระดับความดันโลหติ ขึ้นอยกู่ ับปัจจยั ใดบ้าง
3. ระบบของรา่ งกายระบบใดท่เี ป็นกลไกการควบคุมโลหิต
4. คา่ ความดันโลหติ เท่าใดทถ่ี ือวา่ เปน็ ความดนั โลหิตปกติ
แนวตอบกิจกรรม 10.1.1
1. หมายถึง แรงดันภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการท่ีหัวใจบีบตัวฉีดเลือดท่ีมีออกซิเจนและ
สารอนื่ ๆ เขา้ สหู่ ลอดเลอื ดแดง เพอ่ื ดนั เลอื ดใหก้ ระจายไปเลย้ี งสว่ นตา่ งๆ ของรา่ งกาย แรงดนั โลหติ ไมไ่ ดม้ รี ะดบั
อยคู่ งท่ีตลอดเวลา แตจ่ ะเปล่ยี นระดับสงู ขึน้ และต่ําลง คลา้ ยลกู คล่นื ไดจ้ งั หวะกับการบีบตวั ของหัวใจทกุ คร้ัง
2. 1) อายุ 2) เพศ 3) เชื้อชาติ 4) กรรมพันธุ์ 5) น้ําหนักตัว 6) เกลือโซเดียม 7) ภาวะทางจิตใจและ
สงั คม
3. มี 4 ระบบ ไดแ้ ก่ หัวใจ ระบบประสาทอัตโนมัติ ปริมาตรเลือด และสารปรับระดับความดนั โลหิต
4. ระดบั ความดนั โลหติ ตา่ํ กวา่ 140/90 มิลลเิ มตรปรอท
ลิขสิทธ์ขิ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช