Page 246 - สังคมโลก
P. 246
10-6 สังคมโลก
เร่ืองที่ 10.1.1
ความห มายและความเป็นมาของขบวนการเคลือ่ นไหวภ าคป ระชาส ังคม
การล่มสลายของสังคมนิยมรวมทั้งขบวนการปฏิวัติในยุโรปตะวันออก และการปรากฏตัวของขบวนการ
เคลื่อนไหวภาคประชาสังคมแบบใหม่ ตลอดจนการเกิดความขัดแย้งใหม่ๆ ในสังคมยุคหลังอุตสาหกรรม เช่น การ
แสวงหาค่านิยมใหม่ของโลก การแสวงหาชีวิตใหม่หรือทางเลือกใหม่ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม การต่อต้านสงคราม
และส่งเสริมสันติภาพ ประเด็นเรื่องเพศสภาพและความเท่าเทียม ฯลฯ อีกทั้งข้อจำกัดและความไม่เพียงพอของ
ประชาธิปไตยแบบตัวแทน ล้วนเป็นบริบทสำคัญต่อการเกิดขึ้นของแนวคิดประชาสังคมในระดับส ากล
การเดินข บวน ชุมนุม ประท้วง และก ารร วมต ัวก ันเพื่อส ร้างพ ลังท างส ังคมก ารเมืองได้ก ลายเป็นป รากฏการณ์
ที่เกิดขึ้นอย่างก ว้างขวางทั่วโลก ไม่ว ่าจ ะเป็นค นจน ซึ่งเป็นเกษตรกร ชาวนาชาวไร่ คนง าน กรรมกร คนชั้นกลาง คือ
กลุ่มนักธุรกิจ คนที่มีการศึกษาดี และคนชั้นสูง จนอาจกล่าวได้ว่า คนทุกชั้นชนในสังคมโลกได้ออกมาการกระทำ
รวมหมู่ (collective action) ในร ูปแบบการเมืองภ าคประชาส ังคม
การรวมตัวของประชาชนและการสร้างพลังทางสังคมการเมืองของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมได้
เข้าม ามีบ ทบาทในฐ านะเป็นตัวก ระทำการห รือตัวแสดงในกระบวนการนโยบายส าธารณะ การล้มล ้างรัฐบาล และสร้าง
เปลีย่ นแปลงเชงิ โครงสรา้ งข องส งั คมแ ละก ารเมอื ง โดยเฉพาะอ ยา่ งย ิง่ บ ทบาทข องก ารเมอื งภ าคป ระชาชนในก ระบวนการ
สร้างและจรรโลงป ระชาธิปไตยช ่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านม า ซึ่งเห็นได้ทั้งจากเชิงปริมาณของก ลุ่มก ้อนของผ ู้คน และผล
ที่เกิดข ึ้นในเชิงส ถาบันและกระบวนการทางการเมือง
คำว า่ “ขบวนการเคลือ่ นไหวภ าคป ระชาส งั คม” และ “ขบวนการเคลือ่ นไหวภ าคป ระชาส งั คมแ บบใหม”่ รวมทัง้
“การเมืองแ บบใหม่” ถูกหยิบยกขึ้นมานิยามปฏิบัติการของกลุ่มตนว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวภ าคประชาสังคมอยู่
ตลอดเวลา แต่บ างครั้งเราก็เห็น “อาการค ลั่งล ัทธิ” (fanaticism) ของบ างข บวนการเคลื่อนไหว ที่ไม่แ ตกต่างไปจ าก
การค ลั่งล ัทธิศ าสนา (cults) มากน ัก ในข ณะท ี่บ างด ้าน การร วมก ลุ่มก ้อนข องป ระชาชนก ็อ าจเป็นท ี่ส งสัยว ่าอ าจม ีเบื้อง
หน้าเบื้องห ลัง “มือที่ส าม” มีก ารมองก ารรวมต ัวกันเป็นกล ุ่มก้อนของผู้คนในเชิงล บ ไม่ไว้วางใจ1
ปรากฏการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามว่า “ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม (social movement)”
คืออ ะไร
การออกมารวมตัวกันของผู้คนด้วยการชุมนุมทุกลักษณะ รูปแบบ กระทำการรวมหมู่ในลักษณะการออก
มารวมตัวกันโดยมีเป้าหมาย จุดหมายร่วมของผู้คนทุกรูปแบบ ลักษณะ เป็นขบวนการทางสังคมหรือไม่ การตอบ
คำถามเหล่านี้คงไม่ง่ายนัก เพราะว่าการนิยามความหมายว่า “ขบวนการทางสังคม” คืออะไร ก็เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความ
แน่นอน เพราะ “ขบวนการทางสังคม” มีลักษณะเป็นแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ เช่นเดียวกับแนวคิด “ประชาสังคม”
(civil society) “การเมืองภาคประชาชน” กล่าวคือ การนิยามขึ้นอยู่ว่า ผู้ให้นิยามมีบทเรียนและประสบการณ์การ
มองปัญหาสังคมการเมืองอย่างไร มีเป้าหมายในการอยากเห็นสังคมการเมืองในอุดมคติอย่างไร รวมทั้งการกำหนด
ยุทธศาสตร์และป ฏิบัติก ารซึ่งจ ะแตกต ่างกันอ อกไปเสมอ ซึ่งจ ะเห็นว ่า การให้นิยาม ความห มาย รวมท ั้งการให้ค ุณค่า
ของ “ขบวนการท างส ังคม” พัฒนาการไปตามบริบทข องสังคมการเมือง
1 ประภาส ปิน่ ต บแตง่ ขบวนการท างส งั คมใหม่ (NSM) (เอกสารป ระกอบค ำบ รรยาย 2552 http://www.polsci.chula.ac.th/prapart/
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553)
ลิขสิทธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช