Page 251 - สังคมโลก
P. 251
ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมในสังคมโลก 10-11
แบบจำลองของสเมลเซอร์นับว่าเป็นประโยชน์ในการอธิบายพัฒนาการข องขบวนการเคลื่อนไหวภ าค
ประชาสังคม รวมทั้งการกระทำรวมหมู่ในลักษณะอื่นๆ โดยทั่วไป ตามทัศนะของสเมลเซอร์ เงื่อนไขในแต่ละขั้นมี
ความส ัมพันธ์กับผลลัพธ์ท ี่จ ะเกิดขึ้น
2. ทฤษฎีห ลักฐ านท างป ระวัติศาสตร์ (historicity) ของ อเลน ทูเรน (Alain Touraine) เป็นท ฤษฎีท ี่ให้ค วาม
สำคัญกับก ารเคลื่อนไหวของข บวนการเคลื่อนไหวภ าคประชาสังคมเป็นภ าพสะท้อนทางอุดมการณ์ข องก ลุ่มท ั้งห ลาย
ตามห ลกั ฐ านท างป ระวตั ศิ าสตรใ์ นส งั คมส มยั ใหม่ เชน่ ความไมเ่ ทา่ เทยี มก นั เรือ่ งผ วิ เปน็ ท ีม่ าข องข บวนการส ทิ ธมิ นษุ ยชน
เป็นต้น การศึกษาจึงต้องพิจารณาจากการที่ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเพราะ
เป้าหมายและผลประโยชน์ของขบวนการอยู่ที่สังคม และคู่ตรงข้ามในสังคม เช่น ขบวนการลูกจ้างต้องพิจารณา
ที่น ายจ้างด้วย เป็นต้น12
3. ทฤษฎกี ารล ดิ รอนเชงิ เปรยี บเทยี บ (relative deprivation theory) ความข ดั แ ยง้ ในก ารร บั ร แู้ ละก ารค าดหวงั
ของป ระชาชนในส ังคมห นึง่ ทำใหเ้ กดิ ช อ่ งว ่างร ะหว่างส ถานการณท์ ีเ่ปน็ จ รงิ ก บั ค วามค าดห วงั ข องป ระชาชนเปน็ ท ีม่ าข อง
ขบวนการเคลื่อนไหวภ าคประชาสังคม13
4. ทฤษฎกี ารร ะดมท รพั ยากร (resource-mobilization theory) การเคลื่อนไหว การด ำรงอ ยู่ และค วามส ำเรจ็
ของขบวนการเคลื่อนไหวภ าคประชาสังคม มาจากห รือขึ้นอยู่กับทรัพยากร ที่สำคัญ คือ คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และ
วิธีการ เป็นต้น14
5. ทฤษฎีสังคมมวลชน (mass society theory) ความรู้สึกแปลกแยก (alienation) ของบุคคลที่มาจาก
พัฒนาการท างด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอ ย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่าง เป็นสาเหตุส ำคัญที่ทำให้ค นต ้องมา
รวมกันเป็นกล ุ่ม กลายเป็นที่มาข องข บวนการเคลื่อนไหวภาคป ระชาสังคม15
6. ทฤษฎีข บวนการเคลื่อนไหวภ าคป ระชาส ังคมใหม่ (new social movement theory) เป็นท ฤษฎีข บวนการ
เคลื่อนไหวภาคประชาสังคมที่ถือกำเนิดในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมยุคหลัง
อุตสาหกรรม (postindustrial societies) ที่ให้ค วามสำคัญกับป ระเด็นป ัญหาใหม่ เช่น สิ่งแ วดล้อม สิทธิม นุษยชน
สิทธิของสัตว์ สิทธิส ตรี การร ักร่วมเพศ การต่อต ้านสงคราม คนช ายขอบ เป็นต้น ที่เป็นป ระเด็นปัญหาท างส ังคมที่ไม่
เคยมีพื้นที่ให้กับคนกลุ่มนี้ในอดีต ความสลับซับซ้อนของความขัดแย้งชุดใหม่ที่มีความเชื่อมโยงจากระดับท้องถิ่น
ระดับประเทศ และระดับระหว่างป ระเทศ การที่ระบบก ารเมืองแบบเดิมไม่สามารถแ ก้ไขปัญหาได้ กลายเป็นประเด็น
ปัญหาใหม่และเป็นที่มาของก ารร วมกันเป็นข บวนการเคลื่อนไหวภาคประชาส ังคม16
แนวคิดเกี่ยวกับขบวนการทางสังคมแบบใหม่ พยายามแยกแยะความแตกต่างระหว่างขบวนการทางสังคม
แบบเดิมที่มีลักษณะสังกัดชนชั้น และมีประเด็นการเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงผลประโยชน์ชนชั้น กับลักษณะของ
ขบวนการท างส ังคมแบบใหม่ท ี่ม ีค วามหลากหลายทั้งในแ ง่ค วามค ิด ค่านิยม อุดมการณ์ และผ ลประโยชน์ทางช นชั้น
ของผู้เข้าร่วม รวมไปถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ให้ความสำคัญต่อบทบาทของปัจเจกชนกับการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์
มากกว่าการป ฏิบัติการร ่วม (Collective Action) ของมวลชน
12 Alain Touraine, The Self-Production of Society (Chicago: University of Chicago Press, 1977), Alain Touraine, The
Voice and the Eye: An Analysis of Social Movements (Cambridge: Cambridge University Press, 1981)
13 Tim Curry, Robert Jiobu, and Kent Schwirian, Sociology for Twenty-First Century (New Jersey: Prentice Hall,
1997), pp. 427-430.
14 Ibid pp. 427-430.
15 Ibid pp. 427-430.
16 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร “การเมืองแบบใหม่ ขบวนการเคลื่อนไหวภาคป ระชาส ังคมรูปแบบใหม่และว าทก รรมการพ ัฒนาชุดใหม่”
วารสารธ รรมศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม–เมษายน 2538)
ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช