Page 249 - สังคมโลก
P. 249
ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมในสังคมโลก 10-9
ดังนั้น ทฤษฎีการระดมทรัพยากร จึงม ีจ ุดเน้นอยู่ที่ “ยุทธศาสตร์ข องขบวนการ” เพื่อความส ำเร็จในรูปของ
การเรียกร ้องใหเ้ปลี่ยนน โยบายร ัฐ หรือให้อ อกก ฎหมายใหม่ หรือป รับก ฎหมายเก่า ดังน ั้น จึงม นี ักว ิเคราะห์จ ัดท ฤษฎีน ี้
ว่า มุ่งไปท ี่ก ารเปลี่ยนก ารเมือง (political action) มากกว่าจ ะเป็นการม ุ่งไปท ี่การเปลี่ยนห รือสร้างสังคมประชา (civil
society)
ใน ค.ศ. 1945 ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมในช่วงหลังสงครามโลกถูกเรียกว่าเป็นขบวนการ
เคลื่อนไหวภาคประชาสังคมใหม่ (New Social Movements: NSM) เนื่องจากประเด็นในการต่อสู้เรียกร้องของ
ประชาชนมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องทางการเมืองและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประเด็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์
ส่วนบุคคล ความเท่าเทียมกัน และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เช่น การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิสตรี สิทธิของคนรักร่วม
เพศ การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสันติภาพ การต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ และการเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมและประเด็น
โลกร้อน เป็นต้น
จุดก ำเนิดส ำคัญของส ำนัก “ขบวนการภาคป ระชาสังคมแบบใหม่” คือก ารว ิพากษ์ทฤษฎีการร ะดมทรัพยากร
ว่า สนใจเฉพาะการตอบคำถามว่าขบวนการทางสังคมเกิดขึ้นอย่างไร (“How?”) ขณะเดียวกันก็วิพากษ์ทฤษฎี
มาร์กซ ิสต์ว่า มีข ้อจ ำกัดในการอ ธิบายป รากฏการณ์/ขบวนการทางส ังคมแบบใหม่ๆ ที่เกิดข ึ้นในช่วงค ริสต์ทศวรรษที่
1960 และ 1970 เช่น ขบวนการสิ่งแ วดล้อม ขบวนการสิทธิส ตรีและอัตลักษณ์ทางเพศส ภาพ8 ซึ่งได้ทำให้เกิดค ำถาม
ในห มูน่ ักท ฤษฎใีนย ุโรปก ลุ่มห นึ่งว ่า เหตใุดจ ึงเกิดข บวนการซ ึ่งม ิไดม้ ฐี านจ ากค วามข ัดแ ย้งท างช นชั้นเหล่าน ีข้ ึ้นม าอ ย่าง
กว้างขวาง และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้ทำให้เกิดคำถามกับจุดเน้นของการ
วิเคราะห์ค วามข ัดแย้งซ ึ่งอยู่ที่ค วามสัมพันธ์ระหว่าง “ทุน-แรงงาน” หรือความข ัดแย้งท ี่ตั้งอยู่บนฐ านข องการค วบคุม
ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ อันเป็นลักษณะส ำคัญข องข บวนการทางส ังคมแ บบเก่า (Old Social Movement)9
อัลแ บร์โต้ เมล ุชช ี่10 (Alberto Melucci) ได้ช ี้ให้เห็นถ ึงก ารก ่อต ัวข ึ้นข องป รากฏการณ์ค วามข ัดแ ย้งท างส ังคม
หลังสมัยใหม่เหล่านี้ และเห็นว่าทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่ใช้อธิบายคือ ทฤษฎีทางชนชั้นและทฤษฎีแนวการกระทำ
รวมห มู่ข องส ำนักอ เมริกา หรือท ฤษฎีก ารร ะดมท รัพยากรน ั้นม ีข ้อจ ำกัด เนื่องจากส นใจแ ต่เพียงอ งค์กรก ารเคลื่อนไหว
ยทุ ธศาสตร์ ยุทธวิธี และค วามส ำเร็จห รือค วามล ม้ เหลวข องข บวนการภ าคป ระชาส งั คม การท ำความเขา้ ใจป รากฏการณ์
ของขบวนการภาคประชาสังคมโดยนักทฤษฎีซึ่งอธิบายภายใต้ทฤษฎีสังคมศาสตร์เท่าที่มีอยู่จึงให้คำตอบได้เพียง
ว่าขบวนการทางสังคมเกิดขึ้น “อย่างไร?”(How?) แต่ไม่อาจให้คำตอบได้ว่า “เหตุใด?” หรือ “ทำไม?” (“Why?”)
ขบวนการภ าคประชาสังคมจ ึงเกิดข ึ้น
การตระหนักถึงค วามไม่เพียงพอข องแ นวการว ิเคราะห์แบบชนชั้นดั้งเดิมนี้เอง ได้เป็นจ ุดเริ่มต ้นที่ส ำคัญของ
กรอบการวิเคราะห์ข องส ำนักค ิดที่เรียกว ่า “ขบวนการภ าคป ระชาส ังคมแ บบใหม่”
1. ทฤษฎเี งอื่ นไขห กป ระการข องข บวนการเคลอื่ นไหวภ าคป ระชาส งั คม (Six condition forsocial movement)
ของ นีล สเมลเซอร์ (Neil Smelser) ในทฤษฎีนี้ สเมลเซอร์ได้จำแนกเงื่อนไขส ำคัญท ี่ถือเป็นจุดกำเนิดข องการกระท ำ
รวมหมู่ โดยท ั่วไป และของขบวนการเคลื่อนไหวภาคป ระชาส ังคมไว้ 6 ประการ ดังนี้11
8 Donatella Della Porta and Mario Diani, Social Movement An Introduction. Blackwell:Massasusat, 1999.
9 ผาสุก พงษ์ไพจิตร วิถีช ีวิต วิธีสู้: ขบวนการประชาชนร ่วมสมัย กรุงเทพมหานคร โอ เอส พรินติ้งเฮ้าส์ 2545
10 A, Melucci, The Symbolic Challenge of Contemporary Movements. (Social Research.Greenwich, Conn: JAI Press,
1985)
11 Neil Smelser, Theory of Collective Behavior. New York: Free Press, 1963.
ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช