Page 125 - การผลิตสัตว์
P. 125
การผลิตสัตว์ปีก 10-33
4.2.3 การใหอ้ าหารเป็ดท เี่ลีย้ งในโรงเรือน จะให้อ าหารผ สมห รืออ าหารส ำเร็จรูปท ี่ม ีโปรตีนอ ยู่ร ะหว่าง
15-17 เปอร์เซ็นต์ ควรมีการเสริมเปลือกหอยให้เป็ดกิน โดยอาจใส่รางเฉพาะให้เป็ดกินได้ตลอดเวลา อาหารที่ใช้
อาจมีการผสมน้ำให้อยู่ในรูปของอาหารผสมเปียก จะทำให้เป็ดกินอาหารได้ง่ายและมีอาหารหกหล่นน้อยกว่าการ
ให้อาหารแบบแห้งๆ แต่ต้องคำนวณปริมาณอาหารที่ให้เป็ดสามารถกินได้หมดภายใน 15-20 นาที อย่าให้มีอาหาร
เหลือในรางอาหาร เพราะอาจเกิดเชื้อร าขึ้นแ ละเป็นพิษต่อเป็ดได้ นอกจากนี้ต้องทำความส ะอาดรางใส่อาห าร บ่อยๆ
ควรให้เป็ดระยะไข่กินอาหารอย่างเต็มที่เพื่อให้เป็ดได้รับโภชนะที่เพียงพอในการให้ผลผลิตไข่ การ
ให้อาหารควรให้วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ในตอนเช้าควรให้อาหารในปริมาณที่น้อยกว่าอาหารที่ให้ในตอนเย็น
เนื่องจากในช่วงเช้าเป็ดไข่จะกินอาหารอย่างรวดเร็ว ถ้ามีปริมาณอาหารในรางปริมาณมาก จะทำให้อาหารหกหล่น
มาก
4.3 การให้แสงสว่าง ในระยะนี้แสงสว่างมีความสำคัญมาก ถ้าเป็ดได้รับการเพิ่มช่วงแสงของแต่ละวัน
จะช่วยกระตุ้นความเจริญทางเพศให้ม ีก ารสร้างไข่อย่างส มบูรณ์เต็มท ี่ ควรเริ่มเพิ่มช ่วงการให้แ สงเมื่อเป็ดอ ายุได้ 19
สัปดาห์ โดยเพิ่มการให้แสงส ัปดาห์ละ 25-30 นาทีในระยะเริ่มไข่ จนได้รับช่วงแ สงวันละ 17-18 ชั่วโมง และคงช ่วง
แสงระดับนี้ตลอดระยะการไข่ การให้แสงสว่างเพิ่มจากแสงสว่างตามธรรมชาติ สามารถเพิ่มให้ในตอนค่ำหรือตอน
เช้าม ืดก ็ได้ แล้วแต่สะดวก
4.4 การจัดการอื่นๆ ในระยะเวลาที่เป็ดกำลังไข่ นอกจากจะต้องจัดการในเรื่องของการให้น้ำ ให้อาหาร
และก ารเก็บไข่เป็ดตามปกติแ ล้ว จะต ้องม ีก ารจัดการภ ายในคอกให้เป็นป กติแ ละสม่ำเสมอ ดังนี้
4.4.1 ตรวจดูสุขภาพของเป็ดทุกวัน ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ ควรฉีดวัคซีน
ป้องกันโรคอหิวาต์แ ละโรคเพลก ถ่ายพ ยาธิ และกำจัดพยาธิภ ายนอกก ่อนเป็ดเริ่มไข่
4.4.2 ดูแลวัสดุรองพ้ืนอย่าให้ชื้นแฉะหรือแข็งเป็นแผ่น ถ้าวัสดุรองพื้นจับเป็นก้อน ควรใส่ขี้กบ
หรือแ กลบใหม่ล งไป ถ้ามีก ลิ่นแ อมโมเนียแ รงค วรพ ิจารณาถ ึงการระบายอ ากาศในโรงเรือนร่วมด้วย
4.4.3 บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ปริมาณอาหารที่กิน ผลผลิตไข่ เป็ดคัดทิ้งและเป็ดตาย การให้ยา
หรือว ัคซีน เป็นต้น
4.4.4 มีการระบายอากาศท่ีดี อาจใช้พัดลมขนาด 36 นิ้ว ในอัตราพื้นที่ 100 ตารางเมตร จะช่วย
ระบายอากาศภ ายในโรงเรือนได้ พัดลมค วรตั้งส ูงจากพ ื้นประมาณ 80 เซนติเมตร
4.5 การปลดเป็ดไข่ ในระหว่างเลี้ยงเป็ดไข่ต้องคัดเป็ดที่ไม่ไข่หรือให้ไข่น้อยออกจากฝูงอยู่เสมอ เพราะ
เป็ดเหล่านี้จะกินอาหารทุกวัน ทำให้ต้นทุนการผลิตไข่ต่อฟองสูงขึ้น เกษตรกรมีโอกาสขาดทุนได้ง่าย จึงควรคัด
เป็ดอ อกจ ากฝูงเรื่อยๆ ตามปริมาณการให้ไข่ การค ัดเป็ดที่ไม่ไข่ออกจากฝ ูงจะพ ิจารณาจ าก
4.5.1 ประวัตกิ ารใหไ้ข่ โดยดูจ ากข ้อมูลที่บันทึกไว้
4.5.2 ลักษณะรูปร่างของเป็ด เป็ดที่ไข่ไม่ดก มีลักษณะลำตัวแคบและสั้น กระดูกเชิงกรานแคบ
ช่องท้องแคบคลำดูรู้สึกแน่น ตึง หน้าท้องตึงมาก ขนหยาบและหลุดกระรุ่งกระริ่ง มีลักษณะหงอยซึม ดวงตา
ไม่สดใส ลึกไม่น ูน
ปกติเป็ดจะให้ไข่ได้ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นไข่ก็จะลดลงจนเลี้ยงไม่คุ้มค่าอาหาร ควรปลดขาย
เป็ดทั้งฝูง โดยทั่วไปพ่อค้าจะรับซื้อในราคาเป็นตัว ไม่ซื้อตามน้ำหนักตัว ซึ่งเป็ดเหล่านี้จะถูกนำไปขายเพื่อปรุงเป็น
อาหาร เช่น เป็ดพ ะโล้ ลาบเป็ด และแ กงเผ็ดเป็ดย่าง เป็นต้น
ลิขสทิ ธิ์ของมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช