Page 121 - การผลิตสัตว์
P. 121
การผลิตสัตว์ปีก 10-29
3.4 การเกบ็ และการคดั ไ ข่ไก่ ไข่ไก่ท ี่ได้จากไก่ไข่สายพ ันธุ์ทางการค ้าท ี่เลี้ยงเชิงอ ุตสาหกรรม มีว ัตถุประสงค์
เพื่อนำไปบริโภค และเนื่องจากการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อขายไข่ จะเลี้ยงไก่ไข่เฉพาะไก่เพศเมีย ดังนั้นไข่ไก่ที่เก็บได้ใน
แต่ละวันจึงเป็นไข่ท ี่ไม่มีเชื้อต ัวผู้ และไม่ส ามารถนำไปฟักให้เกิดเป็นลูกไก่ได้
การเก็บไข่ไก่ ควรเก็บให้บ ่อยค รั้ง กรณีที่เลี้ยงแ บบป ล่อยพ ื้น ควรเก็บไข่อย่างน้อยวันล ะ 4 ครั้ง กรณีเลี้ยง
แบบกรงตับ ควรเก็บไข่อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไข่เสียหายจากการแตก การเก็บไข่บ่อยๆ จะทำให้
มีไข่เสียหายน้อยลง และได้ไข่ที่สะอาด ไข่ที่เก็บมาแล้ว ถ้าไม่ขายทันที ควรเก็บไข่ไว้ในห้องเก็บไข่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
ประมาณ 10-13 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาคุณภาพไข่ให้สด แต่ถ้าต้องการเก็บไข่ไว้เป็นเวลานานก่อนนำออกขาย
ควรเก็บท ี่อ ุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส
ไข่ไก่ที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคม ีห ลายข นาด ก่อนนำออกขายสู่ต ลาด ผู้เลี้ยงห รือผ ู้ร วบรวมไข่ไก่จะมีก ารคัด
ขนาดไข่ตามน้ำห นักไข่ โดยค ัดไข่อ อกเป็นขนาดต่างๆ 6 ขนาด หรือ 6 เบอร์ คือ เบอร์ 0-5 โดยไข่เบอร์ 0 มีน ้ำหนักไข่
มากที่สุดคือ มีน ้ำห นักเท่ากับห รือม ากกว่า 70 กรัมต่อฟอง และไข่เบอร์ 5 มีน้ำห นักไข่น ้อยที่สุดค ือ มีน้ำหนักเท่ากับ
หรือน้อยกว่า 45 กรัมต่อฟอง แต่ผู้เลี้ยงไก่ไข่บางฟาร์มอาจมีการขายไข่คละเกรด โดยการขายแบบชั่งน้ำหนักรวม
ทั้งหมด
3.5 การคัดไก่ท่ีไม่ไข่ออก ในช่วงที่ไก่กำลังไข่ ควรมีการดูแลสุขภาพไก่อย่างสม่ำเสมอ และต้องคัดไก่
ที่ไม่ไข่ออกจากฝูง เพื่อให้ไม่สิ้นเปลืองอาหาร และให้มีผลผลิตของฝูงสูงขึ้น โดยพิจารณาจากบันทึกการไข่ของไก่
เป็นรายตัวในกรณีที่มีการจดบันทึก หรือดูจากลักษณะของไก่ไข่ เช่น ดูจากทวารของไก่ไข่ ในไก่ที่ให้ไข่ ทวารจะ
ขยายใหญ่ ชุ่มช ื้น มีส ีช มพูเรื่อๆ หรือคล้ำ สำหรับไก่ที่ไม่ไข่ ทวารจะหดเล็กและแห้ง มีส ีเหลือง เป็นต้น
3.6 การจ ัดการ อ่ืนๆ
3.6.1 การทำวัคซีน ต้องทำวัคซีนไก่ไข่ที่จำเป็นตามโปรแกรมอย่างเคร่งครัด โดยให้เหมาะสมกับ
การร ะบาดของโรคในท ้องถ ิ่นนั้นๆ
3.6.2 การควบคุมพยาธิ ต้องมีการตรวจสอบและมีโปรแกรมควบคุมพยาธิทั้งพยาธิภายใน และ
พยาธิภายนอกอ ย่างส ม่ำเสมอ
3.6.3 การจดบนั ทกึ ควรมีก ารจดบ ันทึกก ารเลี้ยงอ ย่างละเอียด เช่น การให้อาหาร จำนวนไข่ จำนวน
ไก่ตาย การให้ยาและวัคซีน เป็นต้น บันทึกต่างๆ นี้นอกจากจะใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาต่างๆ ในฟาร์มแล้ว
ยังสามารถใช้เป็นข ้อมูลในการคิดต ้นทุนก ารผลิต และเป็นแนวทางในการด ำเนินง านในอนาคตได้อีกด้วย
3.7 การพิจารณาปลดไก่ไข่ โดยทั่วไปการปลดไก่จะทำเมื่อไก่ไข่มีอายุประมาณ 80 สัปดาห์ หรือเมื่อมี
อัตราการไข่ต ่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ แต่ในท างป ฏิบัติจะไม่มีหลักเกณฑ์ท ี่แน่นอน ส่วนใหญ่จะข ึ้นอยู่กับการให้ผลผลิต
ของไก่ไข่ฝูงนั้นว่าให้ผลผลิตดีเพียงใด นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับภาวะตลาดอีกด้วยคือ ถ้าในช่วงที่ต้องการจะปลด
ไก่ ราคาไข่ไก่ในท้องตลาดมีราคาสูง เกษตรกรก็จะเลื่อนการปลดไก่ออกไป แต่ถ้าภาวะตลาดไม่ดีคือ ไข่มีราคาต่ำ
เกษตรกรก็จ ะปลดไก่อ อกเร็วกว่ากำหนด เป็นต้น
ลขิ สิทธิข์ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช