Page 117 - การผลิตสัตว์
P. 117
การผลิตสัตว์ปีก 10-25
เร่อื งที่ 10.3.1
การเลี้ยงไ กไ่ ข่
การเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทย ในไก่ไข่ระยะแรกเกิดจนถึงไก่ไข่ระยะรุ่นมีทั้งการเลี้ยงแบบปล่อยพื้นและ
การเลี้ยงในกรงรวม สำหรับการเลี้ยงไก่ไข่ระยะไข่เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยพื้นและเลี้ยงในกรงตับ โดยมีการจัดการ
การเลี้ยงไก่ไข่ในร ะยะต ่างๆ ดังนี้
1. การเล้ียงลูกไก่ไขร่ ะยะกก
ก่อนนำลูกไก่ไข่เข้ามาเลี้ยงในฟาร์มแต่ละรุ่น ผู้เลี้ยงจะต้องมีการจัดเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ต่างๆ ไว้
ให้พร้อม ตั้งแต่การทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ จำนวนอุปกรณ์ต้องมีปริมาณเพียงพอกับปริมาณลูกไก่-
ไข่ที่นำมาเลี้ยง มีการติดตั้งอุกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นให้เรียบร้อยก่อนนำลูกไก่เข้าฟาร์ม ขั้นตอนในการทำความสะอาด
โรงเรือนและอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงไก่ไข่มีขั้นตอนต่างๆ เช่นเดียวกับไก่เนื้อ สำหรับการจัดการการเลี้ยงลูกไก่ไข่
ระยะกก มีร ายละเอียด ดังนี้
1.1 การจ ดั การเมอื่ ล กู ไกไ่ ข่ม าถ งึ ฟาร์ม ก่อนลูกไก่มาถึงฟ าร์ม ควรเปิดเครื่องกกไว้ก่อนลูกไก่ไข่ม าถึงอ ย่าง
น้อย 3 ชั่วโมง โดยให้มีอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส (95 องศาฟาเรนไฮต์) เพื่อปรับอุณหภูมิในวงกกให้ลูกไก่อยู่
อย่างสบาย เตรียมน้ำโดยผสมน้ำตาลทราย วิตามิน อิเล็กโตรไลต์ หรือยาปฏิชีวนะวางในวงกกเพื่อปรับอุณหภูมิ
ของน้ำให้ใกล้เคียงก ับอ ุณหภูมิก ก เมื่อล ูกไก่ไข่มาถ ึงฟาร์ม ควรปล่อยลูกไก่ลงก กให้เร็วที่สุด เพื่อให้ลูกไก่ได้กินน้ำ
1.2 การให้อาหารและน้ำ การให้อาหารในช่วง 3 วันแรก ใช้อาหารสำหรับลูกไก่ไข่ โดยโปรยอาหารลงบน
ถาดอาหาร ควรให้อาหารทีละน้อยแต่ให้บ่อยๆ ครั้ง ในช่วง 1–3 วันแรก ควรให้อาหารทุกๆ 4 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกไก่
ได้รับอาหารที่ใหม่ตลอดเวลา เพื่อกระตุ้นให้ลูกไก่กินอาหารได้มากขึ้น ลูกไก่ควรได้รับน้ำที่สะอาดตลอดเวลา และ
ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ให้น้ำทุกว ัน
1.3 อุณหภูมิในวงกก อุณหภูมิต้องเหมาะสม โดยในช่วงสัปดาห์แรก อุณหภูมิในการกกลูกไก่ควรมี
อุณหภูมิประมาณ 35 องศาเซลเซียส (95 องศาฟ าเรนไฮต์) และลดอ ุณหภูมิลงส ัปดาห์ล ะ 3 องศาเซลเซียส (5 องศา
ฟาเรนไฮต์) ระยะเวลาในการกกล ูกไก่น านประมาณ 2-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นกับอ ุณหภูมิของสภาพแวดล้อม
1.4 การจดั ก ารอนื่ ๆ
1.4.1 การให้วัคซีน ควรให้วัคซีนลูกไก่ในระยะกกตามโปรแกรมการให้วัคซีนอย่างเคร่งครัด ซึ่ง
ชนิดของวัคซีนและอายุลูกไก่ที่จะให้วัคซีนจะแตกต่างกันไปในสภาพการเลี้ยงไก่แต่ละท้องที่ ทั้งนี้ขึ้นกับความชุก
ของการเกิดโรคระบาดชนิดนั้นๆ
1.4.2 การตัดปากลูกไก่ ควรทำการตัดปากลูกไก่เพื่อให้ลูกไก่จิกกินอาหารได้สะดวก ป้องกันการ
เลือกกินอ าหาร และป ้องกันอ ันตรายจ ากก ารจิกก ันเอง
1.4.3 การจดบันทึกข้อมูล ในระยะกกลูกไก่ ควรมีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วันที่
เข้าไก่ จำนวนไก่ที่เริ่มเลี้ยง อัตราการตายและคัดทิ้งในแต่ละวัน ชนิดของอาหารและปริมาณที่กิน อุณหภูมิใน
แต่ละวัน ประวัติการให้ยาและการเกิดโรค ประวัติการทำวัคซีน น้ำหนักตัวไก่ ต้นทุนค่าอาหาร พันธุ์ ยาและวัคซีน
เป็นต้น
ลขิ สทิ ธข์ิ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช